ที่กองบัญชาการกองทัพบก วานนี้ (22 ม.ค.) พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม เข้าร่วมรับประทานอาหารเช้าและร่วมหารือกับสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ.และรักษาการประธานคมช. พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ ผบ.สส.พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. และสมาชิก คมช. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และเลขาธิการ คมช. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. ขาดเพียง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงที่ติดราชการในการเดินทางไปเยือนประเทศตะวันออกกลาง และพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้ช่วยเลขาธิการคมช.
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. แถลงว่า สมาชิก คมช.ต่างแสดงความ เห็นต่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมว่า เพราะช่วงนี้ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน สถานการณ์บ้านเมืองจึงมีความละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของทุกฝ่าย กองทัพเอง ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับเรื่องของทางการเมือง ขณะเดียวกันการเมืองก็ไม่ควรเข้ามา แทรกแซงกองทัพเช่นกัน
ดังนั้น คมช.จึงมีแนวคิดว่าผู้จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ควรเป็นคนกลางไม่สังกัดพรรคการเมืองใด และควรต้องเป็นทหาร เพราะจะเข้าใจทหารทั้งในเรื่องบุคลากรและกิจการภายในของกองทัพ นอกจากนี้ยังส่งผลให้บรรยากาศการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายดีขึ้น
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ยุติการนัดประชุมหารือ อย่างเป็นทางการในสถานะภาพของ คมช. แต่จะเปลี่ยนรูปแบบในการหารือระหว่าง ผบ.เหล่าทัพ เพื่อประสานความร่วมมือในการทำงานตามบทบาทภาระหน้าที่ของแต่ละกองทัพแทน โดยในขั้นต้นจะดำเนินการในลักษณะพูดคุยในระหว่างอาหารมื้อเช้า ที่กองบัญชาการกองทัพบก ทั้งนี้ที่ผ่านมา คมช.ได้พยายามประคับประคองสถานการณ์ บ้านเมือง และบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศชาติ ฉะนั้นจากวันนี้ทาง คมช.คงจะยุติการหารืออย่างเป็นทางการ
ส่วนแนวคิดที่จะให้ผู้มาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมเป็นทหารนั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่าเป็นมติของ คมช. แต่ในทางปฎิบัติ คมช.คงไม่สามารถ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งใน ครม.ชุดใหม่ได้ เพียงแต่ได้คุยกันว่าสิ่งที่อยากได้ เป็นอย่างนี้ ซึ่งถือเป็นมุมมองของ คมช. หากต้องการให้บรรยากาศการทำงาน ทุกฝ่ายดีก็อยากให้ทหารที่เป็นคนกลางไม่สังกัดพรรคการเมืองมาเป็น รมว.กลาโหม
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหมือน คมช.ต้องการล็อคสเปค รมว.กลาโหม พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ล็อคสเปคหมายความว่าสั่งได้ แต่ความจริงเราสั่งไม่ได้ เพียงแต่เป็นความเห็น ของ คมช.เท่านั้น เมื่อถามว่าหากตำแหน่ง รมว.กลาโหม ไม่เป็นตามที่ คมช. เสนอจะเกิดปัญหาหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ คมช. แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลใหม่ ว่าจะทำอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างไร รวมถึงต้องการสร้างความสามัคคี สมานฉันท์หรือไม่
ส่วนที่ คมช.มีมตินี้เพราะไม่สบายใจที่นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะควบตำแหน่งรมว.กลาโหมใช่หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดนั้น เพราะในข้อเท็จจริงยังไม่มีใครทราบ เมื่อถามว่า กองทัพรับได้หรือไม่ หากนายสมัคร เป็น รมว.กลาโหม พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่อยากจะชี้แจงเฉพาะบุคคล และไม่อยากจะไปวิพากษ์ แต่ท่านใดก็แล้วแต่หากจะมาบริหารในวันข้างหน้า มั่นใจว่าทุกคนต้องพยายามปรับเพื่อตอบรับสังคมโดยรวม
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน จะเป็นรมว.กลาโหม เหมาะสม หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ ย้อนถามว่า ท่านเป็นคนกลางหรือไม่ หากท่านเป็นคนกลาง ก็อยู่ในสิ่งที่เราปรารถนา แต่เชื่อมั่นว่ามุมมองของหลายๆ ท่านก็ยังมีความรู้สึกว่า ท่านเป็นผู้เริ่มต้น คมช. ท่านอยู่ในภาพลักษณ์ของ คมช.ซึ่งในมุมมองของคนทั่วไปอาจจะมองว่าไม่เป็นกลางเท่าไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่ากองทัพมีหลักประกันหรือไม่ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองอีก พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพมีจุดยืนมาโดยตลอดว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่หากการเมืองเข้ามาแทรกแซงในกิจการทหารก็จะก่อให้เกิดความ วุ่นวายสับสน ดังนั้นแต่ละฝ่ายควรจะอยู่ในจุดที่ตนเอง ส่วนเรื่องการปฏิวัตินั้น สมาชิก คมช.ทุกท่านยืนยันแล้วว่าจะไม่ปฏิวัติรวมถึง ผบ.ทบ.ด้วย
เมื่อถามว่า หลังจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพกับพรรคพลังประชาชน จะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า หากทุกฝ่ายมุ่งดีต่อกันตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสไว้ก็เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะไปด้วยดี และเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มพรรคการเมืองเข้าใจว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลเก่าหรือฝ่ายที่ไม่ยอมรับท่าน ทุกฝ่ายต่างก็รู้สึกบอบช้ำ
หากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศ คิดว่าดีไม่ต้องบวชกลับมาสามารถกับมาได้เลย จะได้มาแก้ต่าง ในคดีต่างๆ บางทีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสามัคคี สมานฉันท์ก็ได้ แต่ท่านจะกลับมาหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวท่าน หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรคลี่คลายลงหรือไม่ เราก็มองว่าด้วยวุฒิ ความเป็นผู้นำของท่านที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าท่านเข้าใจว่าคนที่เชียร์และคนที่ไม่ชอบท่าน ต่างฝ่ายต่างบอบช้ำกันหากท่านเข้ามาถือเป็นสิทธิของท่านสามารถเข้ามาได้
แหล่งข่าวจากแกนนำ เตรียมทหารรุ่น 10 (ตท.10) เปิดเผยว่า ตำแหน่ง รมว.กลาโหม อยู่ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังตัดสินใจเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกดดันทั้งจากฝ่ายกองทัพและทางพรรคอย่างมาก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการเสนอคนในพรรค เนื่องจากกังวลในตำแหน่งดังกล่าว จึงได้นำเรื่องปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ที่ยังรับราชการอยู่ในกองทัพ
พ.ต.ท.ทักษิณ มีท่าทีว่าจะนำคนกลางที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพมานั่งเก้าอี้ดังกล่าว เพราะหากนำคนที่กองทัพเสนอเข้ามาก็จะทำให้การเมือง อยู่ใต้อาณัติกองทัพมากเกินไป ทั้งที่อำนาจของรัฐบาลตกอยู่กับพรรคพลังประชาชน ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้อง จึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ฝ่ายกองทัพจะเข้ามาต่อรองอะไรได้อีก
แหล่งข่าวกล่าวว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ที่ได้รับการผลักดันจาก พล.อ. อนุพงษ์ ที่เคยเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีความสนิทสนมกัน และ พล.อ.ประวิตร ยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.6 ของ พล.อ.สนธิ พล.อ.วินัย พล.อ.บุญสร้าง พล.อ.อ.ชลิต และ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้เข้าพบคุณหญิงพจมาน เมื่อสัปดาห์ก่อน จากการประสานของแกนนำ ตท.6 คนหนึ่ง จึงมีข่าวลื่อว่า พล.อ.ประวิตร จะได้นั่ง รมว.กลาโหม อันเป็นการสกัดกั้นไม่ให้ นายสมัคร มานั่งควบนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม
ขณะเดียวกันพรรคพลังประชาชนก็ปล่อยข่าวในลักษณะโยนหินถามทางมีทั้งชื่อ พล.อ. เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พล.อ.อ. คงศักดิ์ วันทนา ที่จะเข้ามาเป็น รมว.กลาโหม ปรากฎว่าฝ่ายกองทัพมีปฎิกริยาในลักษณะรับไม่ได้ ทำให้ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พิจารณา พล.อ.สมทัศน์ อัตตะนันทน์ อดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. ซึ่งเห็นว่าจะประสานกับกองทัพและฝ่ายการเมืองได้ เพราะอย่างน้อย พล.อ.อนุพงษ์ ก็เคยเป็นลูกน้องเก่า ไม่น่ามีปฎิกริยาอะไร อย่างไรก็ตาม คนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้เสนอทางเลือกอีกทางคือ พล.อ.สำเภา ชชูศรี อดีต ผบ.สส.
อย่างไรก็ตาม พล.อ.สมทัศน์ มีความสนินสนมกับ พล.ท. จิรสิทธิ์ เกษะโกมล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพน้อยที่ 1 และพล.ต. พฤณท์ สุวรรณทัต ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดฯกลาโหม อดีต ผบ.พล.1 รอ. ในสมัยที่ถูกปฎิวััติ 19 กันยายน 2549 แกนนำ ตท.10 ซึ่งมีความใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ และโดนปรับย้ายพ้นตำแหน่งคุมกำลังหลักหลังปฏิวัติครั้งที่ผ่านมาเหมือนกัน
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. แถลงว่า สมาชิก คมช.ต่างแสดงความ เห็นต่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมว่า เพราะช่วงนี้ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน สถานการณ์บ้านเมืองจึงมีความละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของทุกฝ่าย กองทัพเอง ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับเรื่องของทางการเมือง ขณะเดียวกันการเมืองก็ไม่ควรเข้ามา แทรกแซงกองทัพเช่นกัน
ดังนั้น คมช.จึงมีแนวคิดว่าผู้จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ควรเป็นคนกลางไม่สังกัดพรรคการเมืองใด และควรต้องเป็นทหาร เพราะจะเข้าใจทหารทั้งในเรื่องบุคลากรและกิจการภายในของกองทัพ นอกจากนี้ยังส่งผลให้บรรยากาศการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายดีขึ้น
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ยุติการนัดประชุมหารือ อย่างเป็นทางการในสถานะภาพของ คมช. แต่จะเปลี่ยนรูปแบบในการหารือระหว่าง ผบ.เหล่าทัพ เพื่อประสานความร่วมมือในการทำงานตามบทบาทภาระหน้าที่ของแต่ละกองทัพแทน โดยในขั้นต้นจะดำเนินการในลักษณะพูดคุยในระหว่างอาหารมื้อเช้า ที่กองบัญชาการกองทัพบก ทั้งนี้ที่ผ่านมา คมช.ได้พยายามประคับประคองสถานการณ์ บ้านเมือง และบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศชาติ ฉะนั้นจากวันนี้ทาง คมช.คงจะยุติการหารืออย่างเป็นทางการ
ส่วนแนวคิดที่จะให้ผู้มาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมเป็นทหารนั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่าเป็นมติของ คมช. แต่ในทางปฎิบัติ คมช.คงไม่สามารถ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งใน ครม.ชุดใหม่ได้ เพียงแต่ได้คุยกันว่าสิ่งที่อยากได้ เป็นอย่างนี้ ซึ่งถือเป็นมุมมองของ คมช. หากต้องการให้บรรยากาศการทำงาน ทุกฝ่ายดีก็อยากให้ทหารที่เป็นคนกลางไม่สังกัดพรรคการเมืองมาเป็น รมว.กลาโหม
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหมือน คมช.ต้องการล็อคสเปค รมว.กลาโหม พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ล็อคสเปคหมายความว่าสั่งได้ แต่ความจริงเราสั่งไม่ได้ เพียงแต่เป็นความเห็น ของ คมช.เท่านั้น เมื่อถามว่าหากตำแหน่ง รมว.กลาโหม ไม่เป็นตามที่ คมช. เสนอจะเกิดปัญหาหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ คมช. แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลใหม่ ว่าจะทำอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างไร รวมถึงต้องการสร้างความสามัคคี สมานฉันท์หรือไม่
ส่วนที่ คมช.มีมตินี้เพราะไม่สบายใจที่นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะควบตำแหน่งรมว.กลาโหมใช่หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดนั้น เพราะในข้อเท็จจริงยังไม่มีใครทราบ เมื่อถามว่า กองทัพรับได้หรือไม่ หากนายสมัคร เป็น รมว.กลาโหม พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่อยากจะชี้แจงเฉพาะบุคคล และไม่อยากจะไปวิพากษ์ แต่ท่านใดก็แล้วแต่หากจะมาบริหารในวันข้างหน้า มั่นใจว่าทุกคนต้องพยายามปรับเพื่อตอบรับสังคมโดยรวม
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน จะเป็นรมว.กลาโหม เหมาะสม หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ ย้อนถามว่า ท่านเป็นคนกลางหรือไม่ หากท่านเป็นคนกลาง ก็อยู่ในสิ่งที่เราปรารถนา แต่เชื่อมั่นว่ามุมมองของหลายๆ ท่านก็ยังมีความรู้สึกว่า ท่านเป็นผู้เริ่มต้น คมช. ท่านอยู่ในภาพลักษณ์ของ คมช.ซึ่งในมุมมองของคนทั่วไปอาจจะมองว่าไม่เป็นกลางเท่าไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่ากองทัพมีหลักประกันหรือไม่ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองอีก พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพมีจุดยืนมาโดยตลอดว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่หากการเมืองเข้ามาแทรกแซงในกิจการทหารก็จะก่อให้เกิดความ วุ่นวายสับสน ดังนั้นแต่ละฝ่ายควรจะอยู่ในจุดที่ตนเอง ส่วนเรื่องการปฏิวัตินั้น สมาชิก คมช.ทุกท่านยืนยันแล้วว่าจะไม่ปฏิวัติรวมถึง ผบ.ทบ.ด้วย
เมื่อถามว่า หลังจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพกับพรรคพลังประชาชน จะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า หากทุกฝ่ายมุ่งดีต่อกันตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสไว้ก็เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะไปด้วยดี และเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มพรรคการเมืองเข้าใจว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลเก่าหรือฝ่ายที่ไม่ยอมรับท่าน ทุกฝ่ายต่างก็รู้สึกบอบช้ำ
หากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศ คิดว่าดีไม่ต้องบวชกลับมาสามารถกับมาได้เลย จะได้มาแก้ต่าง ในคดีต่างๆ บางทีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสามัคคี สมานฉันท์ก็ได้ แต่ท่านจะกลับมาหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวท่าน หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรคลี่คลายลงหรือไม่ เราก็มองว่าด้วยวุฒิ ความเป็นผู้นำของท่านที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าท่านเข้าใจว่าคนที่เชียร์และคนที่ไม่ชอบท่าน ต่างฝ่ายต่างบอบช้ำกันหากท่านเข้ามาถือเป็นสิทธิของท่านสามารถเข้ามาได้
แหล่งข่าวจากแกนนำ เตรียมทหารรุ่น 10 (ตท.10) เปิดเผยว่า ตำแหน่ง รมว.กลาโหม อยู่ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังตัดสินใจเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกดดันทั้งจากฝ่ายกองทัพและทางพรรคอย่างมาก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการเสนอคนในพรรค เนื่องจากกังวลในตำแหน่งดังกล่าว จึงได้นำเรื่องปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ที่ยังรับราชการอยู่ในกองทัพ
พ.ต.ท.ทักษิณ มีท่าทีว่าจะนำคนกลางที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพมานั่งเก้าอี้ดังกล่าว เพราะหากนำคนที่กองทัพเสนอเข้ามาก็จะทำให้การเมือง อยู่ใต้อาณัติกองทัพมากเกินไป ทั้งที่อำนาจของรัฐบาลตกอยู่กับพรรคพลังประชาชน ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้อง จึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ฝ่ายกองทัพจะเข้ามาต่อรองอะไรได้อีก
แหล่งข่าวกล่าวว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ที่ได้รับการผลักดันจาก พล.อ. อนุพงษ์ ที่เคยเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีความสนิทสนมกัน และ พล.อ.ประวิตร ยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.6 ของ พล.อ.สนธิ พล.อ.วินัย พล.อ.บุญสร้าง พล.อ.อ.ชลิต และ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้เข้าพบคุณหญิงพจมาน เมื่อสัปดาห์ก่อน จากการประสานของแกนนำ ตท.6 คนหนึ่ง จึงมีข่าวลื่อว่า พล.อ.ประวิตร จะได้นั่ง รมว.กลาโหม อันเป็นการสกัดกั้นไม่ให้ นายสมัคร มานั่งควบนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม
ขณะเดียวกันพรรคพลังประชาชนก็ปล่อยข่าวในลักษณะโยนหินถามทางมีทั้งชื่อ พล.อ. เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พล.อ.อ. คงศักดิ์ วันทนา ที่จะเข้ามาเป็น รมว.กลาโหม ปรากฎว่าฝ่ายกองทัพมีปฎิกริยาในลักษณะรับไม่ได้ ทำให้ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พิจารณา พล.อ.สมทัศน์ อัตตะนันทน์ อดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. ซึ่งเห็นว่าจะประสานกับกองทัพและฝ่ายการเมืองได้ เพราะอย่างน้อย พล.อ.อนุพงษ์ ก็เคยเป็นลูกน้องเก่า ไม่น่ามีปฎิกริยาอะไร อย่างไรก็ตาม คนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้เสนอทางเลือกอีกทางคือ พล.อ.สำเภา ชชูศรี อดีต ผบ.สส.
อย่างไรก็ตาม พล.อ.สมทัศน์ มีความสนินสนมกับ พล.ท. จิรสิทธิ์ เกษะโกมล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพน้อยที่ 1 และพล.ต. พฤณท์ สุวรรณทัต ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดฯกลาโหม อดีต ผบ.พล.1 รอ. ในสมัยที่ถูกปฎิวััติ 19 กันยายน 2549 แกนนำ ตท.10 ซึ่งมีความใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ และโดนปรับย้ายพ้นตำแหน่งคุมกำลังหลักหลังปฏิวัติครั้งที่ผ่านมาเหมือนกัน