รอยเตอร์/เฮรัลด์ทริบูน - รัฐบาลทั่วเอเชียกำลังเร่งหาทางแก้ราคาอาหารพุ่งสูง เพราะพวกเขาเริ่มตระหนักแล้วว่า ราคาอาหารอาจจะไม่ลดลงในเร็ววันนี้
ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนนั้นประกอบด้วยรายการที่เกี่ยวกับอาหารคิดเป็น 1 ใน 3 ส่วนในประเทศอื่นๆยิ่งมีมากกว่านั้นอีก สถานการณ์อาหารแพงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหมือนระเบิดเวลาสำหรับเอเชีย ซึ่งการปรับเพิ่มราคาพลังงานอาจทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงได้
"ถ้าปัญหาเงินเฟ้อควบคุมไม่อยู่ มันอาจมีผลเกี่ยวเนื่องไม่เพียงกับเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังกระทบเสถียรภาพด้านการเมืองด้วย" หวงอีผิง นักเศรษฐศาสตร์จากซิตี้กรุ๊ปในฮ่องกง กล่าว
ในปากีสถาน รัฐบาลโทษผู้ลักลอบและกักตุนสินค้าว่าทำให้แป้งขาดตลาด ตอนนี้ กองกำลังกึ่งทหารเริ่มเข้าคุ้มกันรถบรรทุกข้าวสาลีเพื่อป้องกันโจรแล้ว
มีช่วงหนึ่งในเดือนนี้มาเลเซียออกมาตรการปันส่วนจำหน่ายน้ำมันปรุงอาหาร หลังจากนั้นรัฐบาลก็เพิ่มซัปพลายน้ำมันปรุงอาหารที่มีการอุดหนุนช่วยเหลือ ส่วนที่จีน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี รัฐบาลมีมาตรการจัดเก็บภาษีข้าวส่งออก เพื่อเพิ่มซัปพลายในประเทศ และใช้วิธีควบคุมราคา
อินเดียได้พิจารณาลดภาษีนำเข้าน้ำมันปรุงอาหาร ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้เงินอุดหนุนผู้กลั่นน้ำมันปรุงอาหาร และระงับการเก็บภาษีนำเข้าถั่วเหลือง 10%
แนวความคิดที่เหมือนๆกันของทุกประเทศก็คือ ความวิตกเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพลอยทำให้แป้งสาลี น้ำมันปาล์ม และถั่วเหลือง มีราคาสูงขึ้นทำสถิติใหม่
นักเศรษฐศาสตร์บางคนมั่นใจว่า สินค้าเกษตรจะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสัญญาณราคาที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมันก็จะเป็นไปตามกฎอุปสงค์อุปทาน แบบเดียวกับราคาน้ำมันที่พุ่งสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เมื่อเจอสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตลดลง ราคาก็ยืนอยู่เช่นนั้นไม่ไหว ต้องปรับตัวลดลงมา
นอกจากนี้ กฎแห่งการเฉลี่ยยังบอกว่า การขาดแคลนซัปพลายเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากที่จีนเกิดโรคระบาดในหมู จะไม่เกิดซ้ำอีกในปี 2008
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเห็นว่า ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องที่กำลังจะจบลงแต่อย่างใด เพราะทุกๆปี ชาวเอเชียหลายล้านคนย้ายถิ่นฐานไปทำงานโรงงานในเมืองที่ได้ค่าแรงสูงกว่า จึงมีกำลังซื้อเนื้อ นม และอาหารโปรตีนสูงอื่นๆมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นการทำให้ดีมานด์อาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้น
"เราเห็นมนุษย์อพยพย้ายถิ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทั้งในจีนและอินเดีย" พอล ชูลต์ นักยุทธศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์เอเชียแห่งลีห์แมนบราเธอร์ส กล่าว "นี่เป็นการเพิ่มแรงกดดันราคาอย่างใหญ่หลวงในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน"
ที่ดินเกษตรกรรมกำลังถูกเปลี่ยนไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ในขณะที่จีนสูญเสียที่ดินเพาะปลูก 6% ให้แก่การรุกล้ำของอุตสาหกรรมและการกลายเป็นทะเลทราย ตั้งแต่ปี 1996 และอย่าลืมเรื่องผลกระทบที่ไม่แน่นอนของภาวะโลกร้อน
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ รัฐบาลต่างๆต้องลงทุนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในชนบทให้มีความทันสมัย
ข้อมูลของสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดียระบุว่า ผักและผลไม้กว่า 30% จากที่อินเดียผลิตได้ปีละ 60 ล้านตัน ต้องเน่าเสียไปอย่างสูญเปล่าเพราะมีห้องเย็นไม่เพียงพอ
"เป็นสิ่งจำเป็นที่ผลิตภาพด้านที่ดินและแรงงานในการกสิกรรมต้องพัฒนาขึ้น" อิฟซัล อาลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)กล่าว
อาลีมองโลกในแง่ดีว่า เกษตรกรจะเพิ่มการผลิต แต่ก็คงมีจุดหนึ่งในระยะสั้นๆที่จะต้องนำเงินไปช่วยเหลือคนยากจนรับมือราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้รัฐบาลก็ตาม
นักเศรษฐศาสตร์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอื่นๆของรัฐบาล จะเห็นได้ว่า การให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตอาหารอาจเพิ่มซัปพลายขึ้นมาได้ แต่จะต้องแลกกับการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากร ขณะที่การอุดหนุนราคาขายปลีก ก็จะเป็นการทำให้คนมาลักลอบนำไปขายที่อื่น อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย ซึ่งมีการลักลอบนำน้ำมันปรุงอาหารไปขายในไทยและสิงคโปร์
นักเศรษฐศาสตร์ยิ่งวิจารณ์หนักในกรณีที่จีนพยายามควบคุมราคา ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และไม่ได้แก้สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ พวกนักเศรษฐศาสตร์จึงบอกว่า การควบคุมราคานั้นเป็นมาตรการที่ล้มเหลวมาตลอด
ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนนั้นประกอบด้วยรายการที่เกี่ยวกับอาหารคิดเป็น 1 ใน 3 ส่วนในประเทศอื่นๆยิ่งมีมากกว่านั้นอีก สถานการณ์อาหารแพงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหมือนระเบิดเวลาสำหรับเอเชีย ซึ่งการปรับเพิ่มราคาพลังงานอาจทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงได้
"ถ้าปัญหาเงินเฟ้อควบคุมไม่อยู่ มันอาจมีผลเกี่ยวเนื่องไม่เพียงกับเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังกระทบเสถียรภาพด้านการเมืองด้วย" หวงอีผิง นักเศรษฐศาสตร์จากซิตี้กรุ๊ปในฮ่องกง กล่าว
ในปากีสถาน รัฐบาลโทษผู้ลักลอบและกักตุนสินค้าว่าทำให้แป้งขาดตลาด ตอนนี้ กองกำลังกึ่งทหารเริ่มเข้าคุ้มกันรถบรรทุกข้าวสาลีเพื่อป้องกันโจรแล้ว
มีช่วงหนึ่งในเดือนนี้มาเลเซียออกมาตรการปันส่วนจำหน่ายน้ำมันปรุงอาหาร หลังจากนั้นรัฐบาลก็เพิ่มซัปพลายน้ำมันปรุงอาหารที่มีการอุดหนุนช่วยเหลือ ส่วนที่จีน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี รัฐบาลมีมาตรการจัดเก็บภาษีข้าวส่งออก เพื่อเพิ่มซัปพลายในประเทศ และใช้วิธีควบคุมราคา
อินเดียได้พิจารณาลดภาษีนำเข้าน้ำมันปรุงอาหาร ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้เงินอุดหนุนผู้กลั่นน้ำมันปรุงอาหาร และระงับการเก็บภาษีนำเข้าถั่วเหลือง 10%
แนวความคิดที่เหมือนๆกันของทุกประเทศก็คือ ความวิตกเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพลอยทำให้แป้งสาลี น้ำมันปาล์ม และถั่วเหลือง มีราคาสูงขึ้นทำสถิติใหม่
นักเศรษฐศาสตร์บางคนมั่นใจว่า สินค้าเกษตรจะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสัญญาณราคาที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมันก็จะเป็นไปตามกฎอุปสงค์อุปทาน แบบเดียวกับราคาน้ำมันที่พุ่งสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เมื่อเจอสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตลดลง ราคาก็ยืนอยู่เช่นนั้นไม่ไหว ต้องปรับตัวลดลงมา
นอกจากนี้ กฎแห่งการเฉลี่ยยังบอกว่า การขาดแคลนซัปพลายเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากที่จีนเกิดโรคระบาดในหมู จะไม่เกิดซ้ำอีกในปี 2008
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเห็นว่า ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องที่กำลังจะจบลงแต่อย่างใด เพราะทุกๆปี ชาวเอเชียหลายล้านคนย้ายถิ่นฐานไปทำงานโรงงานในเมืองที่ได้ค่าแรงสูงกว่า จึงมีกำลังซื้อเนื้อ นม และอาหารโปรตีนสูงอื่นๆมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นการทำให้ดีมานด์อาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้น
"เราเห็นมนุษย์อพยพย้ายถิ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทั้งในจีนและอินเดีย" พอล ชูลต์ นักยุทธศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์เอเชียแห่งลีห์แมนบราเธอร์ส กล่าว "นี่เป็นการเพิ่มแรงกดดันราคาอย่างใหญ่หลวงในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน"
ที่ดินเกษตรกรรมกำลังถูกเปลี่ยนไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ในขณะที่จีนสูญเสียที่ดินเพาะปลูก 6% ให้แก่การรุกล้ำของอุตสาหกรรมและการกลายเป็นทะเลทราย ตั้งแต่ปี 1996 และอย่าลืมเรื่องผลกระทบที่ไม่แน่นอนของภาวะโลกร้อน
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ รัฐบาลต่างๆต้องลงทุนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในชนบทให้มีความทันสมัย
ข้อมูลของสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดียระบุว่า ผักและผลไม้กว่า 30% จากที่อินเดียผลิตได้ปีละ 60 ล้านตัน ต้องเน่าเสียไปอย่างสูญเปล่าเพราะมีห้องเย็นไม่เพียงพอ
"เป็นสิ่งจำเป็นที่ผลิตภาพด้านที่ดินและแรงงานในการกสิกรรมต้องพัฒนาขึ้น" อิฟซัล อาลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)กล่าว
อาลีมองโลกในแง่ดีว่า เกษตรกรจะเพิ่มการผลิต แต่ก็คงมีจุดหนึ่งในระยะสั้นๆที่จะต้องนำเงินไปช่วยเหลือคนยากจนรับมือราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้รัฐบาลก็ตาม
นักเศรษฐศาสตร์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอื่นๆของรัฐบาล จะเห็นได้ว่า การให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตอาหารอาจเพิ่มซัปพลายขึ้นมาได้ แต่จะต้องแลกกับการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากร ขณะที่การอุดหนุนราคาขายปลีก ก็จะเป็นการทำให้คนมาลักลอบนำไปขายที่อื่น อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย ซึ่งมีการลักลอบนำน้ำมันปรุงอาหารไปขายในไทยและสิงคโปร์
นักเศรษฐศาสตร์ยิ่งวิจารณ์หนักในกรณีที่จีนพยายามควบคุมราคา ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และไม่ได้แก้สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ พวกนักเศรษฐศาสตร์จึงบอกว่า การควบคุมราคานั้นเป็นมาตรการที่ล้มเหลวมาตลอด