คตส.ตั้งคณะทำงาน 5 คน ร่วมถกทางออกหวยบนดินโดยมี"อุดม"นำทีม นัดประชุมร่วม อสส. นัดแรก 25 ม.ค.นี้ ตีกรอบ 14 วัน ข้องใจ อสส.ตีกลับ ทั้งที่เป็นสำนวนเดียวกับที่เคยสั่งฟ้องที่ดินรัชดา-ภาษีชินคอร์ป หากไม่ฟ้อง คตส.ตั้งทนายสั่งฟ้องเอง ด้านโฆษก คตส.ยันคดีอุทธรณ์ภาษี"บรรณพจน์"ไม่เกี่ยวคดีอาญา ยันเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้รับการยกเว้น โยน"วิโรจน์" ตามบี้
วานนี้ (21 ม.ค.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานร่วมกับอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาหาทางออกกรณีที่สำนักงานอัยการสูงสุด ส่งหนังสือขอให้ คตส.หาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม 5 ประเด็น ในคดีการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ตนเอง นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีดังกล่าว นายอำนวย ธันธรา นายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการ คตส. และนายชูวิทย์ สุขถาวร ผอ.สำนักงานกฎหมาย ของ สตง. ซึ่งจะมีการประชุมคณะทำงานร่วมในนัดแรกวันที่ 25 ม.ค. เวลา 14.00 น. ที่ สตง.
นายสัก กล่าวว่า คณะทำงานมีกรอบเวลาทำงาน 14 วัน โดยในนัดแรก คตส.จะสอบถามเกี่ยวเหตุผลที่อัยการสูงสุดให้สอบเพิ่มทั้ง 5 ประเด็น เพราะสำนวนในลักษณะเช่นนี้ เช่น คดีการซื้อที่ดินรัชดา คดีการหลีกเลี่ยงภาษีของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซึ่ง คตส.ได้เคยส่งให้อัยการสูงสุดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่เคยมีข้อโต้แย้ง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานจะหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 11 ที่ให้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ถ้าเห็นไม่ตรงกัน คตส.สามารถตั้งทนายความฟ้องคดีเองได้
นายสัก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการ คตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีของนายบรรณพจน์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลในคดีอาญา และอยู่ระหว่างที่นายบรรณพจน์ ยื่นอุทธรณ์ภาษีต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ได้รายงานความเห็นของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมสรรพากร ผู้แทนจากอัยการสูงสุด และผู้แทนจากกรมการปกครอง ในประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1. ทั้งสามหน่วยงานเห็นตรงกันว่า การเรียกเก็บภาษีจากนายบรรณพจน์ เป็นเงินได้พึงประเมิน
2.ที่ประชุมของคณะกรรมการมีความเห็นต่างกันในเรื่องภาระการเสียภาษี โดยผู้แทนกรมสรรพากร เห็นว่า เป็นภาระภาษีตาม มาตรา 40(2) ขณะที่อัยการสูงสุดกับกรมการปกคาอง เห็นว่า เป็นภาระภาษีตามมาตรา 40(8) และ 3. ทั้งสามหน่วยงานเห็นตรงกันว่า ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตาม มาตรา 42(10) ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้พิจารณา และมีมติอะไร แต่มอบให้นายวิโรจน์ ไปพิจารณาในรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ทางกรมสรรพากรได้สั่งให้หาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และยังไม่มีข้อยุติอะไร
“ความเห็นต่างกันของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ในประเด็นภาระภาษี จะไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล เพราะถือเป็นเทคนิควิธีการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละมาตราเท่านั้น แต่ที่เห็นตรงกัน คือ ภาษีของนายบรรณพจน์ เป็นเงินได้ไม่ได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม การจะเก็บภาษีของนายบรรณพจน์ได้หรือไม่นั้น เป็นอำนาจและดุลยพินิจของกรมสรรพากร ซึ่ง คตส.ได้มีความเห็นไปแล้วว่าเป็นภาระภาษีที่ต้องประเมินเงินได้ตามมาตรา 40(2)”นายสัก กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองท่าทีของอัยการสูงสุด เกี่ยวกับการพิจารณาคดีหวยบนดิน และภาษีดังกล่าวอย่างไร นายสัก กล่าวว่า หน่วยงานไหนทำอย่างไรก็ต้องชี้แจงให้เหตุผลต่อประชาชนและสื่อมวลชนเอง เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม ซึ่ง คตส.ยืนยันว่าได้ทำตามหน้าที่และกฎหมาย ไม่เปลี่ยนแปลงตามการเมือง ไม่สนใจว่าจะเป็นรัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลใหม่ หรือใครจะมาเป็นนายกฯ เราไม่หวั่นไหว ไม่ถอดใจ เพราะ คตส.ไม่ใช่ทศกัณฑ์ และจะทำหน้าที่เป็นใบตองแห้งเหมือนเดิม ซึ่งเมื่อคดีพ้นจาก คตส.ไปแล้ว คตส. ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปก้าวล่วง งานเสร็จก็เสร็จ ผลสุดทายเป็นอย่างไรอยู่ที่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะพิสูจน์ว่าเป็นไปตามกฎหมาย หรือมีเรื่องค้างคาใจหรือไม่
คมช.-คตส.ผวาถูกตามเช็กบิล
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก คตส. ว่า มีความเคลื่อนไหวของ คตส. ภายหลังจากที่แน่ชัดว่า รัฐบาลพลังประชาชนกำลังจะเข้ามาบริหารประเทศ โดยในช่วงค่ำวานนี้ (21 ม.ค.) กรรมการ คตส.ทั้ง 10 คน นำโดยนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ได้เดินทางด้วยรถตู้ ไปยังกองบัญชาการกองทัพอากาศ เพื่อร่วมรับประทานอาหาร และร่วมหารือการทำงานกับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. และรักษาการประธานคมช. โดยมีรายงานว่า ได้มีนายทหารระดับสูงของ คมช.เข้าหารือด้วยหลายคนอาทิ พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. เป็นต้น
การรับประทานอาหารร่วมครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่า จะมีการหารือเตรียมรับมือ กับพรรคพลังประชาชน หลังจากเข้ามาบริหารประเทศ รวมถึงคดีต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดของ คตส. ซึ่งหน่วยงานรัฐได้ส่งสัญญาณไม่ปฏิบัติตามมติของ คตส. เช่น กรณีอัยการสูงสูด และกรมสรรพากร ทั้งๆ ที่ คตส.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมถึงก่อนหน้านี้
ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชาชน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า หลังการตั้งรัฐบาลพลังประชาชนเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการดำเนินการเช็คบิลทันทีกับฝ่ายตรงข้ามที่ร่วมมือกับ คมช. ทำแผนบันไดสี่ขั้น ในการล้มรัฐบาลไทยรักไทย ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร มาตรวจสอบการทำงานขององค์กรที่ คมช.ตั้งขึ้นมา
วานนี้ (21 ม.ค.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานร่วมกับอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาหาทางออกกรณีที่สำนักงานอัยการสูงสุด ส่งหนังสือขอให้ คตส.หาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม 5 ประเด็น ในคดีการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ตนเอง นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีดังกล่าว นายอำนวย ธันธรา นายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการ คตส. และนายชูวิทย์ สุขถาวร ผอ.สำนักงานกฎหมาย ของ สตง. ซึ่งจะมีการประชุมคณะทำงานร่วมในนัดแรกวันที่ 25 ม.ค. เวลา 14.00 น. ที่ สตง.
นายสัก กล่าวว่า คณะทำงานมีกรอบเวลาทำงาน 14 วัน โดยในนัดแรก คตส.จะสอบถามเกี่ยวเหตุผลที่อัยการสูงสุดให้สอบเพิ่มทั้ง 5 ประเด็น เพราะสำนวนในลักษณะเช่นนี้ เช่น คดีการซื้อที่ดินรัชดา คดีการหลีกเลี่ยงภาษีของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซึ่ง คตส.ได้เคยส่งให้อัยการสูงสุดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่เคยมีข้อโต้แย้ง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานจะหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 11 ที่ให้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ถ้าเห็นไม่ตรงกัน คตส.สามารถตั้งทนายความฟ้องคดีเองได้
นายสัก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการ คตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีของนายบรรณพจน์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลในคดีอาญา และอยู่ระหว่างที่นายบรรณพจน์ ยื่นอุทธรณ์ภาษีต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ได้รายงานความเห็นของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมสรรพากร ผู้แทนจากอัยการสูงสุด และผู้แทนจากกรมการปกครอง ในประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1. ทั้งสามหน่วยงานเห็นตรงกันว่า การเรียกเก็บภาษีจากนายบรรณพจน์ เป็นเงินได้พึงประเมิน
2.ที่ประชุมของคณะกรรมการมีความเห็นต่างกันในเรื่องภาระการเสียภาษี โดยผู้แทนกรมสรรพากร เห็นว่า เป็นภาระภาษีตาม มาตรา 40(2) ขณะที่อัยการสูงสุดกับกรมการปกคาอง เห็นว่า เป็นภาระภาษีตามมาตรา 40(8) และ 3. ทั้งสามหน่วยงานเห็นตรงกันว่า ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตาม มาตรา 42(10) ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้พิจารณา และมีมติอะไร แต่มอบให้นายวิโรจน์ ไปพิจารณาในรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ทางกรมสรรพากรได้สั่งให้หาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และยังไม่มีข้อยุติอะไร
“ความเห็นต่างกันของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ในประเด็นภาระภาษี จะไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล เพราะถือเป็นเทคนิควิธีการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละมาตราเท่านั้น แต่ที่เห็นตรงกัน คือ ภาษีของนายบรรณพจน์ เป็นเงินได้ไม่ได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม การจะเก็บภาษีของนายบรรณพจน์ได้หรือไม่นั้น เป็นอำนาจและดุลยพินิจของกรมสรรพากร ซึ่ง คตส.ได้มีความเห็นไปแล้วว่าเป็นภาระภาษีที่ต้องประเมินเงินได้ตามมาตรา 40(2)”นายสัก กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองท่าทีของอัยการสูงสุด เกี่ยวกับการพิจารณาคดีหวยบนดิน และภาษีดังกล่าวอย่างไร นายสัก กล่าวว่า หน่วยงานไหนทำอย่างไรก็ต้องชี้แจงให้เหตุผลต่อประชาชนและสื่อมวลชนเอง เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม ซึ่ง คตส.ยืนยันว่าได้ทำตามหน้าที่และกฎหมาย ไม่เปลี่ยนแปลงตามการเมือง ไม่สนใจว่าจะเป็นรัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลใหม่ หรือใครจะมาเป็นนายกฯ เราไม่หวั่นไหว ไม่ถอดใจ เพราะ คตส.ไม่ใช่ทศกัณฑ์ และจะทำหน้าที่เป็นใบตองแห้งเหมือนเดิม ซึ่งเมื่อคดีพ้นจาก คตส.ไปแล้ว คตส. ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปก้าวล่วง งานเสร็จก็เสร็จ ผลสุดทายเป็นอย่างไรอยู่ที่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะพิสูจน์ว่าเป็นไปตามกฎหมาย หรือมีเรื่องค้างคาใจหรือไม่
คมช.-คตส.ผวาถูกตามเช็กบิล
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก คตส. ว่า มีความเคลื่อนไหวของ คตส. ภายหลังจากที่แน่ชัดว่า รัฐบาลพลังประชาชนกำลังจะเข้ามาบริหารประเทศ โดยในช่วงค่ำวานนี้ (21 ม.ค.) กรรมการ คตส.ทั้ง 10 คน นำโดยนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ได้เดินทางด้วยรถตู้ ไปยังกองบัญชาการกองทัพอากาศ เพื่อร่วมรับประทานอาหาร และร่วมหารือการทำงานกับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. และรักษาการประธานคมช. โดยมีรายงานว่า ได้มีนายทหารระดับสูงของ คมช.เข้าหารือด้วยหลายคนอาทิ พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. เป็นต้น
การรับประทานอาหารร่วมครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่า จะมีการหารือเตรียมรับมือ กับพรรคพลังประชาชน หลังจากเข้ามาบริหารประเทศ รวมถึงคดีต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดของ คตส. ซึ่งหน่วยงานรัฐได้ส่งสัญญาณไม่ปฏิบัติตามมติของ คตส. เช่น กรณีอัยการสูงสูด และกรมสรรพากร ทั้งๆ ที่ คตส.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย รวมถึงก่อนหน้านี้
ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชาชน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า หลังการตั้งรัฐบาลพลังประชาชนเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการดำเนินการเช็คบิลทันทีกับฝ่ายตรงข้ามที่ร่วมมือกับ คมช. ทำแผนบันไดสี่ขั้น ในการล้มรัฐบาลไทยรักไทย ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร มาตรวจสอบการทำงานขององค์กรที่ คมช.ตั้งขึ้นมา