ท่านผู้อ่านที่เคารพ ผมเชื่อว่ามีท่านผู้อ่านไม่น้อยผิดหวัง เพราะหลงเชื่อเหตุผaลในการฟันธงของผม ว่าการเลือกตั้งจะต้องเป็นโมฆะ และพรรคการเมืองอย่างน้อย 3 พรรคจะต้องถูกยุบ
โปรดผิดหวังเถิดครับ แต่อย่าพึ่งสิ้นหวัง ถึงแม้เงื่อนเวลาที่ประชาธิปไตยจะต้องลงหลุมใกล้เข้ามาทุกที ที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงผลของการรบ เมื่อสงครามยังไม่จบ ถ้าเรายกธงขาวเท่านั้นแหละจึงจะแปลว่าเราแพ้แน่นอน
ผมได้รับคำขอร้องให้วิจารณ์คำพิพากษาของศาลที่ยกคำร้องเรื่องการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ และการตัดสินเรื่องนอมินีมิได้อยู่ในเขตอำนาจศาล ขอเรียนว่าผมยังไม่มีเวลาได้อ่านคำร้องและคำตัดสินของศาลเลยครับ คงจะยังวิจารณ์ไม่ได้
ผมบอกได้แต่เพียงว่า ใครที่ไม่ชอบใจคำตัดสินอย่าไปเดินขบวนประณามศาลเหมือนคณะ นปก.นะครับ ขอสถาบันศาลไว้สักอย่าง
เกือบห้าสิบปีมาแล้ว ผมกับเพื่อนเรียนหนังสืออยู่เมืองนอก เราถกกันอยู่เสมอว่า ถึงเมืองไทยจะระยำแค่ไหนพวกเราก็จะไม่ท้อใจ ขออย่างเดียวให้เราพึ่งศาลยุติธรรมได้ก็แล้วกัน
ผมไม่เห็นด้วยพฤติกรรมเยี่ยงคณะ นปก. แต่ผมอยากให้สังคมไทยช่วยกันวิเคราะห์พฤติกรรมและความบกพร่องของศาล เพื่อประโยชน์ของประชาธิปไตยและศานติสุขของสังคมไทย
ในขณะที่ท่านผู้อ่านคอยอ่านเรื่องที่ท่านขอร้อง ผมขอสนองศรัทธาไปก่อนด้วยข้อเขียนเก่าเก็บจากกรุของผม 2 เรื่อง เขียนห่างกัน 10 ปี คือในปี 2544 ผมเขียนเรื่อง “ถ้าตุลาการเลื่อม ศาลเสื่อม ประเทศก็เสื่อม” ในปี 2534 ผมเขียนเรื่อง “ตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยอิสระหรือ” ทั้งคู่นี้มิใช่บทความทางวิชาการตามรูปแบบ แต่เป็นการวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นสดๆ ในตอนที่เขียน ท่านผู้อ่านและแม้แต่ผมเองคงจะต้องไปทบทวนความจำว่าในตอนนั้นๆ มีเหตุการณ์อะไรบ้างเกิดขึ้น ส่วนเหตุผลและวิชาการที่นำมาวิเคราะห์นั้นเชื่อว่ายังถูกต้องและนำมาประยุกต์ในสมัยปัจจุบันได้
เรื่องที่ 1 ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2534 เรื่อง “ตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยอิสระหรือ” ดังนี้
ความเรียงสั้นที่สุดนี้ ไม่มีใครพูดหรือถามถึงในการอภิปรายเรื่อง“รัฐธรรมนูญและทิศทางการเมืองไทย” แม้แต่ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ก็มักจะพากันมองข้ามไป ราวกับว่าอำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยโดยเอกเทศ เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับอำนาจอธิปไตยใดๆโดยสิ้นเชิง
แต่เมื่อมีปัญหาอื้อฉาวเกี่ยวกับ กกต.และ การตั้งประธานศาลฎีกาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หนังสือพิมพ์ นักร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนมากก็จับประเด็นกันแต่ว่าใครถูกใครผิด บ้างก็เอาความเป็นพรรคพวกเข้ามาตัดสิน บ้างก็เอาข่าวและความรู้เกี่ยวกับความประพฤติหรือความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือตัดสิน บ้างก็เอาเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาของกฎหมายมาต่อสู้ถกเถียงกัน ต่างก็ว่าฝ่ายอื่นทำผิดกติกา ในที่สุดนายกรัฐมนตรีก็ใช้การเมืองเป็นเครื่องตัดสิน แต่ก็ช้าไปมาก หลังจากขอให้กฤษฎีกาประชุมวินิจฉัยกันเสียพอแรง
ไม่มีใครคิดกันให้จริงจังเลยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความหมักหมม และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะสถาบันตุลาการโดดเดี่ยวเสมือนกับเป็นอำนาจอิสระมานานเท่าๆ ที่เรามีรัฐธรรมนูญมาคือ 59 ปี
เราเอาความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของประชาธิปไตยไปปะปนเป็นอันเดียวกับอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยแต่ละอำนาจเป็นอิสระอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ จะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
นักปราชญ์ทางทฤษฎีการเมืองกล่าวว่า เมื่อใดอำนาจอธิปไตยอันหนึ่งเป็นอิสระหรือมีอำนาจมากเกินไป เมื่อนั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะเป็นอันตราย และประชาธิปไตยจะอับปาง
อำนาจตุลาการของไทยดูเหมือนจะอยู่ในกำมือของคนประมาณพันสองพันคน ซึ่งตั้งกันเอง ลงโทษบำเหน็จรางวัลกันเอง ตั้งกฎเกณฑ์กันเอง โดยคนอื่นไม่กล้าไปยุ่งหรือไม่อยากไปเกี่ยวข้อง การมีรัฐมนตรีไปเป็นเจ้ากระทรวงนั้น ไม่ว่าจะเลือกตั้งหรือลากตั้งก็ไม่ต่างอะไรกับการมีหัวหน้าภารโรงหรือพ่อครัวใหญ่นัก
ตราบใดที่คนในวงการตุลาการรักใคร่กลมเกลียวกันดี ก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อใดมีการแย่งชิงกันเป็นประธานศาลฎีกา หรือมีการวางหมากกันเรื่องลำดับอาวุโส ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อสู้ชิงกันในกองทัพเหมือนกัน นี่ดีแต่ไม่มีอาวุธ จึงมีแต่การตบเท้าเท่านั้น
ประชาชนจึงต้องขาดหลักประกันในสถาบันตุลาการไม่ต่างกับสถาบันราชการอื่นๆ มากนัก เดี๋ยวนี้มีใครบ้างที่ไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยคิดถึงคำว่าวิ่งศาล
เรื่องอำนาจตุลาการนี้เป็นปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตย และเป็นปัญหารัฐธรรมนูญ โครงสร้าง องค์ประกอบและพฤติกรรมในวงการตุลาการของเราก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับประเทศของเรา
ในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนานั้น เขามีตรวจสอบและถ่วงอำนาจตุลาการด้วยวิธีการต่างๆ นานา
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมีผู้แทนของฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติใน กกต.หรือจะมีราษฎรในขบวนการยุติธรรมเสียที โดยไม่ต้องไปกระทบกระเทือนความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเลย
ยกเว้นเราจะไม่อยากเป็นประชาธิปไตยกัน!
เรื่องที่ 2 ตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม 2544 เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณหลุดพ้นคดีซุกหุ้นมาหยกๆ คือเรื่อง “หากตุลาการเสื่อม ศาลเสื่อม ประเทศก็เสื่อม : มาตรฐานศาลรัฐธรรมนูญ” ดังนี้
“ตอนที่ บุช-น้อย ชนะเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่คะแนนจากประชาชนเป็นรอง กอร์ แน่แล้ว รอคอยการนับคะแนนใหม่ในรัฐฟลอริด้า ใครชนะก็จะได้คะแนนคณะผู้เลือกหรือ electoral college ไปหมด นำไปรวมกับของรัฐอื่นเป็นคะแนนชี้ขาด ปรากฏว่า สุปรีมคอร์ตหรือศาลสูง สนองคำร้องของ บุช-น้อย ให้เลิกนับคะแนน ยกรัฐฟลอริด้า ให้บุช-น้อยไปตามคะแนนเก่าที่คลุมเครือ นับว่าเป็นประวัติการณ์ครั้งแรกที่ศาลสูงเข้าแทรกแซงการเลือกตั้ง
ไล่ๆ กัน พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งท่วมท้น เป็นประวัติการณ์ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นนายกฯ ได้หรือไม่ หรือเป็นได้นานเท่าไร กลับขึ้นอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ผมเขียนกลอนชิ้นหนึ่ง ชื่อ เลือกฝรั่ง-เลือกไทย ใครเลือกทุด! เป็นบันทึกเก็บไว้เอง มิได้ส่งไปที่ไหน ดังนี้
คุณทักษิณ ยินดี กับคุณบุชเป็นบุตร หวังเหมือน เพื่อนผู้พ่อ
ไทยรักไทย วิสัยทัศน์ จัดล้นจอ ทั้งลูกเล่น ลูกล่อ เกินพอดี
ส่วนบุชน้อย คอยยินดี กับทักษิณ ยังเกี่ยงยิน ทางการ ให้ขานที่
ประวัติศาสตร์ ชาติไทย ที่ไหนมี ชนะขาด อย่างนี้ กลัวอะไร
ใครว่ากลัว มั่วมา แล้วหลายศาล สุปรีมคอร์ต* บงการ ชนะใส
นับคะแนน ผิดมั่ง ช่างปะไร ฤาศาลไทย อาจฉล หากบนบาน
โอ้ละหนอ ทำไฉน จะไปรอด ไอ้ย่องตอด ชนะน้อย คอยพึ่งศาล
แต่พี่ไทย ชนะชัด ยัดทะนาน หว่างคอยการ ตัดสิน ปิ่มสิ้นใจ
แพ้ชนะ กันที่ศาล หรือการเมือง ไหนคุยเฟื่อง ประชาชน เป็นพ้นใหญ่
ใครจะแท้ แน่กว่ากัน มะกันไทย เหมือนหรือต่าง อย่างใด ช่วยไขที
ผมนำมาลงพิมพ์ เพื่อประกาศจุดยืนว่า การเลือกตั้งต้องตัดสินกันด้วยคะแนนของประชาชน มิใช่ด้วยศาล หรือองค์กรอื่นใด!
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดคดีซุกหุ้น ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของศาลแพร่กระจายไปทั่วโลก
การณ์ครั้งนี้ หากฟังได้ว่า ตุลาการไร้มาตรฐาน ศาลก็จะไร้มาตรฐานด้วย หากตุลาการเสื่อม ศาลเสื่อม ประเทศชาติก็เสื่อม
โปรดผิดหวังเถิดครับ แต่อย่าพึ่งสิ้นหวัง ถึงแม้เงื่อนเวลาที่ประชาธิปไตยจะต้องลงหลุมใกล้เข้ามาทุกที ที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงผลของการรบ เมื่อสงครามยังไม่จบ ถ้าเรายกธงขาวเท่านั้นแหละจึงจะแปลว่าเราแพ้แน่นอน
ผมได้รับคำขอร้องให้วิจารณ์คำพิพากษาของศาลที่ยกคำร้องเรื่องการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ และการตัดสินเรื่องนอมินีมิได้อยู่ในเขตอำนาจศาล ขอเรียนว่าผมยังไม่มีเวลาได้อ่านคำร้องและคำตัดสินของศาลเลยครับ คงจะยังวิจารณ์ไม่ได้
ผมบอกได้แต่เพียงว่า ใครที่ไม่ชอบใจคำตัดสินอย่าไปเดินขบวนประณามศาลเหมือนคณะ นปก.นะครับ ขอสถาบันศาลไว้สักอย่าง
เกือบห้าสิบปีมาแล้ว ผมกับเพื่อนเรียนหนังสืออยู่เมืองนอก เราถกกันอยู่เสมอว่า ถึงเมืองไทยจะระยำแค่ไหนพวกเราก็จะไม่ท้อใจ ขออย่างเดียวให้เราพึ่งศาลยุติธรรมได้ก็แล้วกัน
ผมไม่เห็นด้วยพฤติกรรมเยี่ยงคณะ นปก. แต่ผมอยากให้สังคมไทยช่วยกันวิเคราะห์พฤติกรรมและความบกพร่องของศาล เพื่อประโยชน์ของประชาธิปไตยและศานติสุขของสังคมไทย
ในขณะที่ท่านผู้อ่านคอยอ่านเรื่องที่ท่านขอร้อง ผมขอสนองศรัทธาไปก่อนด้วยข้อเขียนเก่าเก็บจากกรุของผม 2 เรื่อง เขียนห่างกัน 10 ปี คือในปี 2544 ผมเขียนเรื่อง “ถ้าตุลาการเลื่อม ศาลเสื่อม ประเทศก็เสื่อม” ในปี 2534 ผมเขียนเรื่อง “ตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยอิสระหรือ” ทั้งคู่นี้มิใช่บทความทางวิชาการตามรูปแบบ แต่เป็นการวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นสดๆ ในตอนที่เขียน ท่านผู้อ่านและแม้แต่ผมเองคงจะต้องไปทบทวนความจำว่าในตอนนั้นๆ มีเหตุการณ์อะไรบ้างเกิดขึ้น ส่วนเหตุผลและวิชาการที่นำมาวิเคราะห์นั้นเชื่อว่ายังถูกต้องและนำมาประยุกต์ในสมัยปัจจุบันได้
เรื่องที่ 1 ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2534 เรื่อง “ตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยอิสระหรือ” ดังนี้
ความเรียงสั้นที่สุดนี้ ไม่มีใครพูดหรือถามถึงในการอภิปรายเรื่อง“รัฐธรรมนูญและทิศทางการเมืองไทย” แม้แต่ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ก็มักจะพากันมองข้ามไป ราวกับว่าอำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยโดยเอกเทศ เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับอำนาจอธิปไตยใดๆโดยสิ้นเชิง
แต่เมื่อมีปัญหาอื้อฉาวเกี่ยวกับ กกต.และ การตั้งประธานศาลฎีกาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หนังสือพิมพ์ นักร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนมากก็จับประเด็นกันแต่ว่าใครถูกใครผิด บ้างก็เอาความเป็นพรรคพวกเข้ามาตัดสิน บ้างก็เอาข่าวและความรู้เกี่ยวกับความประพฤติหรือความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือตัดสิน บ้างก็เอาเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาของกฎหมายมาต่อสู้ถกเถียงกัน ต่างก็ว่าฝ่ายอื่นทำผิดกติกา ในที่สุดนายกรัฐมนตรีก็ใช้การเมืองเป็นเครื่องตัดสิน แต่ก็ช้าไปมาก หลังจากขอให้กฤษฎีกาประชุมวินิจฉัยกันเสียพอแรง
ไม่มีใครคิดกันให้จริงจังเลยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความหมักหมม และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะสถาบันตุลาการโดดเดี่ยวเสมือนกับเป็นอำนาจอิสระมานานเท่าๆ ที่เรามีรัฐธรรมนูญมาคือ 59 ปี
เราเอาความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของประชาธิปไตยไปปะปนเป็นอันเดียวกับอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยแต่ละอำนาจเป็นอิสระอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ จะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
นักปราชญ์ทางทฤษฎีการเมืองกล่าวว่า เมื่อใดอำนาจอธิปไตยอันหนึ่งเป็นอิสระหรือมีอำนาจมากเกินไป เมื่อนั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะเป็นอันตราย และประชาธิปไตยจะอับปาง
อำนาจตุลาการของไทยดูเหมือนจะอยู่ในกำมือของคนประมาณพันสองพันคน ซึ่งตั้งกันเอง ลงโทษบำเหน็จรางวัลกันเอง ตั้งกฎเกณฑ์กันเอง โดยคนอื่นไม่กล้าไปยุ่งหรือไม่อยากไปเกี่ยวข้อง การมีรัฐมนตรีไปเป็นเจ้ากระทรวงนั้น ไม่ว่าจะเลือกตั้งหรือลากตั้งก็ไม่ต่างอะไรกับการมีหัวหน้าภารโรงหรือพ่อครัวใหญ่นัก
ตราบใดที่คนในวงการตุลาการรักใคร่กลมเกลียวกันดี ก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อใดมีการแย่งชิงกันเป็นประธานศาลฎีกา หรือมีการวางหมากกันเรื่องลำดับอาวุโส ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อสู้ชิงกันในกองทัพเหมือนกัน นี่ดีแต่ไม่มีอาวุธ จึงมีแต่การตบเท้าเท่านั้น
ประชาชนจึงต้องขาดหลักประกันในสถาบันตุลาการไม่ต่างกับสถาบันราชการอื่นๆ มากนัก เดี๋ยวนี้มีใครบ้างที่ไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยคิดถึงคำว่าวิ่งศาล
เรื่องอำนาจตุลาการนี้เป็นปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตย และเป็นปัญหารัฐธรรมนูญ โครงสร้าง องค์ประกอบและพฤติกรรมในวงการตุลาการของเราก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับประเทศของเรา
ในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนานั้น เขามีตรวจสอบและถ่วงอำนาจตุลาการด้วยวิธีการต่างๆ นานา
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมีผู้แทนของฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติใน กกต.หรือจะมีราษฎรในขบวนการยุติธรรมเสียที โดยไม่ต้องไปกระทบกระเทือนความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเลย
ยกเว้นเราจะไม่อยากเป็นประชาธิปไตยกัน!
เรื่องที่ 2 ตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม 2544 เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณหลุดพ้นคดีซุกหุ้นมาหยกๆ คือเรื่อง “หากตุลาการเสื่อม ศาลเสื่อม ประเทศก็เสื่อม : มาตรฐานศาลรัฐธรรมนูญ” ดังนี้
“ตอนที่ บุช-น้อย ชนะเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่คะแนนจากประชาชนเป็นรอง กอร์ แน่แล้ว รอคอยการนับคะแนนใหม่ในรัฐฟลอริด้า ใครชนะก็จะได้คะแนนคณะผู้เลือกหรือ electoral college ไปหมด นำไปรวมกับของรัฐอื่นเป็นคะแนนชี้ขาด ปรากฏว่า สุปรีมคอร์ตหรือศาลสูง สนองคำร้องของ บุช-น้อย ให้เลิกนับคะแนน ยกรัฐฟลอริด้า ให้บุช-น้อยไปตามคะแนนเก่าที่คลุมเครือ นับว่าเป็นประวัติการณ์ครั้งแรกที่ศาลสูงเข้าแทรกแซงการเลือกตั้ง
ไล่ๆ กัน พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งท่วมท้น เป็นประวัติการณ์ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นนายกฯ ได้หรือไม่ หรือเป็นได้นานเท่าไร กลับขึ้นอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ผมเขียนกลอนชิ้นหนึ่ง ชื่อ เลือกฝรั่ง-เลือกไทย ใครเลือกทุด! เป็นบันทึกเก็บไว้เอง มิได้ส่งไปที่ไหน ดังนี้
คุณทักษิณ ยินดี กับคุณบุชเป็นบุตร หวังเหมือน เพื่อนผู้พ่อ
ไทยรักไทย วิสัยทัศน์ จัดล้นจอ ทั้งลูกเล่น ลูกล่อ เกินพอดี
ส่วนบุชน้อย คอยยินดี กับทักษิณ ยังเกี่ยงยิน ทางการ ให้ขานที่
ประวัติศาสตร์ ชาติไทย ที่ไหนมี ชนะขาด อย่างนี้ กลัวอะไร
ใครว่ากลัว มั่วมา แล้วหลายศาล สุปรีมคอร์ต* บงการ ชนะใส
นับคะแนน ผิดมั่ง ช่างปะไร ฤาศาลไทย อาจฉล หากบนบาน
โอ้ละหนอ ทำไฉน จะไปรอด ไอ้ย่องตอด ชนะน้อย คอยพึ่งศาล
แต่พี่ไทย ชนะชัด ยัดทะนาน หว่างคอยการ ตัดสิน ปิ่มสิ้นใจ
แพ้ชนะ กันที่ศาล หรือการเมือง ไหนคุยเฟื่อง ประชาชน เป็นพ้นใหญ่
ใครจะแท้ แน่กว่ากัน มะกันไทย เหมือนหรือต่าง อย่างใด ช่วยไขที
ผมนำมาลงพิมพ์ เพื่อประกาศจุดยืนว่า การเลือกตั้งต้องตัดสินกันด้วยคะแนนของประชาชน มิใช่ด้วยศาล หรือองค์กรอื่นใด!
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดคดีซุกหุ้น ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของศาลแพร่กระจายไปทั่วโลก
การณ์ครั้งนี้ หากฟังได้ว่า ตุลาการไร้มาตรฐาน ศาลก็จะไร้มาตรฐานด้วย หากตุลาการเสื่อม ศาลเสื่อม ประเทศชาติก็เสื่อม