ผู้จัดการรายวัน – ผอ.IRF ระบุปี 50 ธุรกิจแฟรนไชส์ทรุด เพราะภาพติดลบ ชี้ปีนี้ มีสิทธิ์กลับมาขยายตัว เพราะมนุษย์เงินเดือนอาจพบวิกฤตต้องหันมาทำธุรกิจส่วนตัว เตือนแฟรนไชส์ลงทุนต่ำยังอันตราย กระตุ้นภาครัฐเร่งวางมาตรฐาน
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) มหาวิทยาลัยศรีปทุม เผยว่า ภาครวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปีที่ผ่านมา (2550) มีอัตราขยายตัวลดลงประมาณ 8-10% เทียบระหว่างธุรกิจที่เลิกล้มกิจการไป กับธุรกิจเกิดขึ้นใหม่แล้ว รวมเหลือธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 408 ราย จากต้นปีที่จำนวน 456 ราย มูลค่าการลงทุนลดลงทุนเหลือ 72,000 ล้านบาท จาก 84,000 ล้านบาท ซึ่งเหตุผลสำคัญมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อธุรกิจแฟรนไชส์ต่ำลง
ส่วนในปี 2551 เชื่อว่า ธุรกิจแฟรนไชส์จะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 20% สวนกระแสกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่คาดว่าจะซบเชาต่อเนื่อง เพราะพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ช่วยเปิดโอกาสสร้างธุรกิจ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องออกจากงานประจำมาสร้างธุรกิจส่วนตัวโดยใช้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทาง รวมถึง ปัจจัยทางการเมืองที่มีแนวโน้นชัดเจนขึ้น อาจช่วยให้นักธุรกิจกล้าจะลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังมีอัตราการล้มตาย สูงถึง 26.2% เกือบทั้งหมดจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์แบบลงทุนต่ำ ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งขาดระบบบริหารแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ ด้าน โดยอาจทำให้เกิดองค์กร หรือการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ และหวังว่า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อลงทุนกับแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) มหาวิทยาลัยศรีปทุม เผยว่า ภาครวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปีที่ผ่านมา (2550) มีอัตราขยายตัวลดลงประมาณ 8-10% เทียบระหว่างธุรกิจที่เลิกล้มกิจการไป กับธุรกิจเกิดขึ้นใหม่แล้ว รวมเหลือธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 408 ราย จากต้นปีที่จำนวน 456 ราย มูลค่าการลงทุนลดลงทุนเหลือ 72,000 ล้านบาท จาก 84,000 ล้านบาท ซึ่งเหตุผลสำคัญมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อธุรกิจแฟรนไชส์ต่ำลง
ส่วนในปี 2551 เชื่อว่า ธุรกิจแฟรนไชส์จะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 20% สวนกระแสกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่คาดว่าจะซบเชาต่อเนื่อง เพราะพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ช่วยเปิดโอกาสสร้างธุรกิจ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องออกจากงานประจำมาสร้างธุรกิจส่วนตัวโดยใช้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทาง รวมถึง ปัจจัยทางการเมืองที่มีแนวโน้นชัดเจนขึ้น อาจช่วยให้นักธุรกิจกล้าจะลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังมีอัตราการล้มตาย สูงถึง 26.2% เกือบทั้งหมดจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์แบบลงทุนต่ำ ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งขาดระบบบริหารแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานแก่ธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ ด้าน โดยอาจทำให้เกิดองค์กร หรือการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ และหวังว่า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อลงทุนกับแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน