ผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ยอมรับการลอยตัวสินค้าคุมได้ยาก หันใช้วิธีตั้งกรรมการกำหนดราคาแนะนำในแต่ละเดือนตามต้นทุนที่แท้จริงแทน โดยน้ำมันปาล์มเป็นรายการต่อไป ตามหลังเหล็ก นม และยารักษาโรค ขณะที่เอกชน นักวิชาการ หนุนระยะยาวใช้ระบบลอยตัว สะท้อนความเป็นจริง
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังพิจารณาความเหมาะสมของสินค้าที่จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณากลไกราคาของสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับราคาตลาดโลก ซึ่งลักษณะเหมือนกับคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ที่จะมีการประกาศราคาแนะนำขึ้นหรือลงในแต่ละเดือนตามวัตถุดิบตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะพิจารณาสินค้าน้ำมันปาล์มเป็นลำดับแรก เนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบที่อิงกับราคาในตลาดโลก
“นโยบายที่ รมว.พาณิชย์ สั่งให้กรมฯไปศึกษาระบบการลอยตัวราคาสินค้า คงไม่ใช่การปล่อยลอยตัวราคาสินค้าทั้งระบบ เพื่อให้ราคาขึ้นลงตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะดูแลได้ยาก แต่จะใช้วิธีตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาประกาศราคาแนะนำ โดยพิจารณาข้อมูลจากวัตถุดิบของตลาดโลกว่าเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งราคาอาจจะขึ้น ลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน โดยขณะนี้ก็มีสินค้าที่มีคณะอนุกรรมการดูแลราคาให้เป็นไปตามกลไกอยู่ เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์นม และยารักษาโรค” นายยรรยง กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าได้ให้กรมการค้าภายในไปศึกษาระบบลอยตัวราคาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับตลาดโลก เพราะให้การเปลี่ยนแปลงราคาสามารถขึ้น-ลงได้ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป
นาวาโทหญิง วรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายของ รมว.พาณิชย์ ที่จะให้กลุ่มน้ำมันพืชเป็นระบบลอยตัวราคาสินค้า เพื่อให้การปรับขึ้นราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างที่หวั่นเกรงกัน เพราะตลาดน้ำมันพืชมีการแข่งขันสูง ซึ่งการปรับขึ้นราคาสินค้าแต่ละครั้ง หากไม่จำเป็นจริงผู้ประกอบการจะไม่ปรับขึ้นราคาเด็ดขาด เพราะอาจเสียตลาดให้กับคู่แข่ง แต่หากรัฐควบคุมราคาเพดานไว้ จะส่งผลเสียมากกว่า เพราะราคาที่ควบคุมไม่เป็นไปตามต้นทุนทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด จากการลดกำลังผลิตของผู้ประกอบการ และการกักตุนราคาสินค้าเพื่อเก็งกำไรในระหว่างที่รอการอนุมัติปรับขึ้นราคาแต่ละครั้ง
“น้ำมันพืชเป็นกลุ่มที่มีกลไกแข่งขันสมบูรณ์ เพราะมีผู้ประกอบการมากกว่า 10 ราย จึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการปรับขึ้นราคาเกินความเหมาะสมจนกระทบผู้บริโภค เพราะหากช่วงไหนราคาวัตถุดิบปรับลด ผู้ประกอบการก็พร้อมลดราคา โดยใช้วิธีส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) แต่หากราคาวัตถุดิบขึ้นสูงมาก ผู้ประกอบการต้องปรับขึ้นเพราะความจำเป็น” นาวาโทหญิงวรรณพร กล่าว
หวั่นพาณิชย์ไฟเขียวนำเข้าปาล์มน้ำมันดิบทำตลาดป่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณื กล่าวถึงนโยบายการนำเข้าปาล์มดิบดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกน้ำมันปาล์มของไทยมาก เพราะในเดือนหน้าผลผลิตปาล์มจะริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้ว และที่ผ่านมา ราคาปาล์มตกต่ำมาตลอด ซึ่งสวนทางกับราคายางพารา ทำให้ผู้ปลูกปาล์มได้รับผลกระทบมาหลายปี ทั้งขาดแคลนแรงงานในการเก็บผลปาล์ม และปาล์มราคาตก แต่เมื่อปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น กลับมาโดนนโยบายนำเข้าปาล์มอีก ซึ่งการอ้างว่าน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนนั้นไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะน้ำมันพืชนั้น จริง ๆ แล้วไม่ขาดแคลน แต่เพราะกรมการค้าภายในไปให้ข่าวว่าจะมีการอนุมัติให้ปรับราคาน้ำมันพืช ทำให้เกิดการกักตุนสินค้ากันอย่างอุตลุด และแทนที่กรมการค้าภายใน จะไปแก้ปัญหาในเรื่องการกักตุนสินค้า กลับมาใช้วิธีอนุมัตินำเข้า สร้างผลกระทบต่อผู้ปลูกปาล์มอีก
นายธวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่การดูแลราคาสินค้าจะเปลี่ยนจากการควบคุมมาเป็นระบบลอยตัว เพราะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของผู้ประกอบการ แต่ควรเป็นแผนระยะยาว เพราะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค โดยระยะสั้นรัฐบาลควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปในการลอยตัว โดยเลือกสินค้าที่ไม่มีผลต่อประชาชนมากนัก และสินค้าที่ปกติรัฐบาลไม่เคยควบคุม หรืออนุมัติให้ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการมาขอปรับขึ้น เพราะหากใช้วิธีควบคุมราคาจะทำให้เสียเวลาในการพิจารณามากเกินไป
“อนาคต ไทยควรใช้ระบบลอยตัวราคาสินค้า เพราะหากควบคุมทั้งหมด ก็ไม่สอดคล้องกับปัจจัยในโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีการลอยตัว เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน เชื่อว่ากลไกตลาดจะทำงาน โดยผู้ประกอบการไม่กล้าปรับขึ้นราคาสินค้ามาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อยอดขายได้ แต่หากมีการปรับขึ้นราคาเกินจริง ก็เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องหากลไกตรวจสอบและกำหนดราคาไม่ให้ขึ้นเกินจริง เป็นสิ่งที่ภาครัฐควรทำมากกว่าควบคุมราคาทั้งหมด” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังพิจารณาความเหมาะสมของสินค้าที่จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณากลไกราคาของสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับราคาตลาดโลก ซึ่งลักษณะเหมือนกับคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ที่จะมีการประกาศราคาแนะนำขึ้นหรือลงในแต่ละเดือนตามวัตถุดิบตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะพิจารณาสินค้าน้ำมันปาล์มเป็นลำดับแรก เนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบที่อิงกับราคาในตลาดโลก
“นโยบายที่ รมว.พาณิชย์ สั่งให้กรมฯไปศึกษาระบบการลอยตัวราคาสินค้า คงไม่ใช่การปล่อยลอยตัวราคาสินค้าทั้งระบบ เพื่อให้ราคาขึ้นลงตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะดูแลได้ยาก แต่จะใช้วิธีตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาประกาศราคาแนะนำ โดยพิจารณาข้อมูลจากวัตถุดิบของตลาดโลกว่าเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งราคาอาจจะขึ้น ลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน โดยขณะนี้ก็มีสินค้าที่มีคณะอนุกรรมการดูแลราคาให้เป็นไปตามกลไกอยู่ เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์นม และยารักษาโรค” นายยรรยง กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าได้ให้กรมการค้าภายในไปศึกษาระบบลอยตัวราคาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับตลาดโลก เพราะให้การเปลี่ยนแปลงราคาสามารถขึ้น-ลงได้ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป
นาวาโทหญิง วรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายของ รมว.พาณิชย์ ที่จะให้กลุ่มน้ำมันพืชเป็นระบบลอยตัวราคาสินค้า เพื่อให้การปรับขึ้นราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างที่หวั่นเกรงกัน เพราะตลาดน้ำมันพืชมีการแข่งขันสูง ซึ่งการปรับขึ้นราคาสินค้าแต่ละครั้ง หากไม่จำเป็นจริงผู้ประกอบการจะไม่ปรับขึ้นราคาเด็ดขาด เพราะอาจเสียตลาดให้กับคู่แข่ง แต่หากรัฐควบคุมราคาเพดานไว้ จะส่งผลเสียมากกว่า เพราะราคาที่ควบคุมไม่เป็นไปตามต้นทุนทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด จากการลดกำลังผลิตของผู้ประกอบการ และการกักตุนราคาสินค้าเพื่อเก็งกำไรในระหว่างที่รอการอนุมัติปรับขึ้นราคาแต่ละครั้ง
“น้ำมันพืชเป็นกลุ่มที่มีกลไกแข่งขันสมบูรณ์ เพราะมีผู้ประกอบการมากกว่า 10 ราย จึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการปรับขึ้นราคาเกินความเหมาะสมจนกระทบผู้บริโภค เพราะหากช่วงไหนราคาวัตถุดิบปรับลด ผู้ประกอบการก็พร้อมลดราคา โดยใช้วิธีส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) แต่หากราคาวัตถุดิบขึ้นสูงมาก ผู้ประกอบการต้องปรับขึ้นเพราะความจำเป็น” นาวาโทหญิงวรรณพร กล่าว
หวั่นพาณิชย์ไฟเขียวนำเข้าปาล์มน้ำมันดิบทำตลาดป่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณื กล่าวถึงนโยบายการนำเข้าปาล์มดิบดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกน้ำมันปาล์มของไทยมาก เพราะในเดือนหน้าผลผลิตปาล์มจะริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้ว และที่ผ่านมา ราคาปาล์มตกต่ำมาตลอด ซึ่งสวนทางกับราคายางพารา ทำให้ผู้ปลูกปาล์มได้รับผลกระทบมาหลายปี ทั้งขาดแคลนแรงงานในการเก็บผลปาล์ม และปาล์มราคาตก แต่เมื่อปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น กลับมาโดนนโยบายนำเข้าปาล์มอีก ซึ่งการอ้างว่าน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนนั้นไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะน้ำมันพืชนั้น จริง ๆ แล้วไม่ขาดแคลน แต่เพราะกรมการค้าภายในไปให้ข่าวว่าจะมีการอนุมัติให้ปรับราคาน้ำมันพืช ทำให้เกิดการกักตุนสินค้ากันอย่างอุตลุด และแทนที่กรมการค้าภายใน จะไปแก้ปัญหาในเรื่องการกักตุนสินค้า กลับมาใช้วิธีอนุมัตินำเข้า สร้างผลกระทบต่อผู้ปลูกปาล์มอีก
นายธวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่การดูแลราคาสินค้าจะเปลี่ยนจากการควบคุมมาเป็นระบบลอยตัว เพราะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของผู้ประกอบการ แต่ควรเป็นแผนระยะยาว เพราะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค โดยระยะสั้นรัฐบาลควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปในการลอยตัว โดยเลือกสินค้าที่ไม่มีผลต่อประชาชนมากนัก และสินค้าที่ปกติรัฐบาลไม่เคยควบคุม หรืออนุมัติให้ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการมาขอปรับขึ้น เพราะหากใช้วิธีควบคุมราคาจะทำให้เสียเวลาในการพิจารณามากเกินไป
“อนาคต ไทยควรใช้ระบบลอยตัวราคาสินค้า เพราะหากควบคุมทั้งหมด ก็ไม่สอดคล้องกับปัจจัยในโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีการลอยตัว เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน เชื่อว่ากลไกตลาดจะทำงาน โดยผู้ประกอบการไม่กล้าปรับขึ้นราคาสินค้ามาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อยอดขายได้ แต่หากมีการปรับขึ้นราคาเกินจริง ก็เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องหากลไกตรวจสอบและกำหนดราคาไม่ให้ขึ้นเกินจริง เป็นสิ่งที่ภาครัฐควรทำมากกว่าควบคุมราคาทั้งหมด” นายธนวรรธน์ กล่าว