ผู้จัดการรายวัน- นักวิชาการแนะรัฐบาลแก้ไขปาล์มดิบไทยแพงกว่ามาเลเซียด้วยการนำเข้าหรือปรับสูตรราคาด้วยการบวกพรีเพิ่มให้มากกว่า 1 บาทต่อกก.เป็นการชั่วคราว ย้ำราคาสูงผิดปกติเกิดจากดีมานด์และซัพพลายสูตรราคาเหมาะสมแล้ว ปตท.โบ้ยเตือนพาณิชย์ไปแล้วตั้งแต่กลางปี ย้ำราคาน้ำมันรอตัดสินใจวันนี้ลดราคาหรือไม่ ชี้พาณิชย์หลงประเด็นแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม หวั่นตลาดปั่นป่วนตั้งแต่ผู้ผลิตยันผู้บริโภค
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงานและอดีตผู้บริหารบมจ.บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ปํญหาน้ำมันปาล์มดิบของไทยที่แพงกว่ามาเลเซียที่เป็นราคาอ้างอิงตลาดโลก 2-3 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) นั้นไม่ได้เกิดจากสูตรราคาที่รัฐกำหนดแต่เกิดจากความต้องการที่สูงกว่าปริมาณการผลิต ดังนั้นนั้นวิธีที่ภาครัฐสามารถบริหารจัดการเพื่อให้ราคาปาล์มดิบของไทยมีเสถียรภาพหรือใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกโดยเฉพาะมาเลเซียคือ การนำเข้าหรือการปรับสูตรราคาขายด้วยการบวกพรีเพี่ยมเพิ่มให้ชั่วคราว
“ จริงๆรัฐควรไปดูทั้งระบบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ผ่านมาการผลิตมีเพียงพอเพราะไม่เช่นนั้นคงไม่เหลือส่งออกแต่พอตลาดโลกต้องการมากเป็นไปได้ว่าจะส่งออกค่อนข้างมาก ประกอบกับเดิมบางจากและปตท.จะซื้อบี 100 มาจำหน่ายไบโอดีเซลแต่พอรัฐบังคับขายบี 2 วันที่ 1 ก.พ.นี้ก็ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่งจึงดันราคาให้สูงอีกเล็กน้อย ขณะที่ปาล์มสดช่วงนี้ยังมีต่ำจึงทำให้ราคาปาล์มสดถูกแย่งซื้อจึงดันให้สูงตามไปด้วย อีกส่วนก็เป็นไปได้ที่จะมีการกักตุนทำกำไรระยะสั้นบ้างแต่คงไม่มากเมื่อรวมกันแล้วจึงทำให้ตึงตัว”นายมนูญกล่าว
สำหรับการนำเข้าควรกำหนดเป็นโควตาชั่วคราวและเป็นปริมาณที่เหมาะสมซึ่งราคาน้ำเข้าบวกค่าขนส่งแล้วยังทำให้ราคาต่ำกว่าไทยประมาณ 50 สตางค์-1บาทต่อกก.และต้องให้โรงงานสกัดบี 100 เป็นผู้นำเข้ามาผลิตบี 100 เท่านั้นเพราะได้อ้างว่าปาล์มสดแพง วิธีนี้เหมือนกรณีการนำเข้าเอทานอลแล้วเมื่อราคาในประเทศมีเสถียรภาพก็ยกเลิกโดยหากเลือกนำเข้าก็ไม่จำเป็นต้องปรับสูตรราคาบี 100 แต่หากไม่เลือกนำเข้าก็สามารถปรับสูตรราคาบี 100 ที่ปัจจุบันอ้างอิงราคามาเลเซียบวกด้วยพรีเมี่ยมไม่เกิน 1 บาทต่อกก.ซึ่งถือว่าเหมาะสมแล้วแต่หากต้องการแก้ปัญหาก็สามารถเพิ่มค่าพรีเมี่ยมให้อีกเพื่อให้ลดการส่งออกเป็นการชั่วคราวจนราคาในประเทศมีเสถียรภาพ
ชี้ปาล์มสดไทยแพงกว่ามาเลย์
นายชาญชิต นาวงศ์ศรี ผู้จัดการโรงงานเอเชี่ยนน้ำมันปาล์ม จำกัด กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีการสต็อกปาล์มดิบแต่อย่างใดแต่ปัญหาที่ราคาแพงเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นขณะที่การผลิตตึงตัวเพราะขณะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มสดของไทยจะออกมาน้อยตามฤดูกาลซึ่งอีก 2-3 เดือนจึงจะออกมาเต็มที่ดังนั้นจึงดันให้ราคาปาล์มสดไทยแพงกว่ามาเลเซียแล้วประมาณ 1-2 บาทต่อกก.จากเดิมราคาประมาณ 4-5 บาทต่อกก.ขณะนี้เป็น 6 บาทต่อกก.และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกระยะสั้นนี้ส่งผลให้ปาล์มดิบไทยแพงกว่ามาเลเซีย 2-3 บาทต่อกก.
“ การนำเข้าปาล์มดิบมาคงแล้วแต่นโยบายรัฐซึ่งก็อาจจะมีทั้งผลดีที่จะทำให้ราคาในประเทศมีเสถียรภาพขึ้นแต่ผลเสียอาจทำให้ราคาปาล์มสดเกษตรกรตกต่ำหรือไม่ดังนั้นต้องดูปริมาณนำเข้าที่เหมาะสมด้วย ส่วนการที่รัฐบังคับขายบี 2 ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ดันให้ราคาปาล์มดิบสูง”นายชาญชิตกล่าว
หวั่นผู้ผลิต-ผู้ผลิตสับสน
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงนโยบายนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขึ้นราคาว่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่ากรมการค้าภายใน ไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหาและกลไกลของตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศไทย เพราะความจริงแล้ว ประเทศไทยไม่มีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม แต่สาเหตุที่เกิดปัญหาราคาน้ำมันพืชขึ้นราคาเนื่องจากอธิบดีกรมการค้าภายในให้สัมภาษณ์กับสื่อถึง 2 ครั้งด้วยกัน ว่าจะมีการอนุมัติให้ขึ้นราคาน้ำมันพืชในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้พ่อค้าคนกลางรีบกักตุนน้ำมันพืชเพื่อเก็งกำไร ขณะเดียวกันผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็เกิดอาการตื่นตระหนกว่าน้ำมันพืชจะขาดตลาด จึงเร่งซื้อมากกว่าปกติ ทำให้ยอดจำหน่ายน้ำมันพืชในตลาดสูงกว่าปกติกว่า 5 เท่าตัว
“ปัญหาที่แท้จริงมาจากการให้ข่าวเองว่าจะอนุมัติให้ปรับราคาน้ำมันพืชขึ้นรวดเดียวถึง 5.50 บาท ทำให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในตลาด ทั้งในส่วนของพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกักตุนเพื่อเก็งกำไร และผู้บริโภคที่กลัวว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนเหมือนเมื่อปี 40 “ แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นนั้น มีสัญญาณมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แต่แทนที่กรมการค้าภายในจะพยายามศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องและพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ กลับไปโทษว่าปัญหาเกิดจากผู้ทำธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ พยายามบังคับให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีทำข้อตกลงร่วมกับกรมการค้าภายในและกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันพืช
อย่างไรก็ตามตอนนี้มีความชัดเจนแล้วว่าที่ผ่านเป็นการหลงประเด็น แต่แทนที่จะหันกลับมาทบทวนความผิดพลาดในเรื่องของการดำเนินนโยบายและการให้ข่าว แต่กลับไปประกาศนโยบายเพิ่มเติมให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาแทน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์สนใจที่จะกลบเกลี่อนความผิดพลาดมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เพราะที่จริงแล้วการผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศมีอย่างเพียงพอ แถมยังมีเหลือที่จะส่งออกอีกด้วย ประเทศไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำมันปาล์มแต่อย่างใด เพียงแต่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ดังนั้น การจะนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากจะทำให้ต้องนำเข้าในราคาแพงแล้ว ยังจะทำให้ไทยมีปริมาณน้ำมันปาล์มมากเกินความจำเป็นอีกด้วย ทำให้กลไกตลาดยิ่งรวนกันไปทั้งระบบ นโยบายประหลาดนี้ จะยิ่งเป็นภาระให้กับผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ และผู้ผลิตน้ำมันพืชในประเทศ
ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้เคยประกาศไปแล้วว่าจะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม จนทำให้เกิดการกักตุนเกิดขึ้น และกรมการค้าภายในก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสต๊อกสินค้าของผู้ผลิต และกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่ แต่ไม่ได้ไปตรวจสต๊อกของกลุ่มพ่อค้าคนกลาง หรือยี่ปั๊ว ซาปั๊วแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่น่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกตรวจ เป็นการทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกในแบบอย่างของหน่วยงานราชการ
“การทำงานในลักษณะนี้ของกรมการค้าภายใน ทำกันมานานแล้ว จะว่าบุคคลากรขาดประสิทธิภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ที่สำคัญคือบุคคลากรระดับสูงก็เป็นไปด้วย ในปีที่ผ่านมากรมฯ ขาดการดูแลผู้บริโภคแต่กลับพยายามผลักดันกฏหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายต่างด้าว ค้าปลีกฯ และในที่สุดก็ไม่มีฝ่ายใดให้การสนับสนุน เพราะกฏหมายแต่ละฉบับขาดความรอบคอบ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง” แหล่งข่าวกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงานและอดีตผู้บริหารบมจ.บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ปํญหาน้ำมันปาล์มดิบของไทยที่แพงกว่ามาเลเซียที่เป็นราคาอ้างอิงตลาดโลก 2-3 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) นั้นไม่ได้เกิดจากสูตรราคาที่รัฐกำหนดแต่เกิดจากความต้องการที่สูงกว่าปริมาณการผลิต ดังนั้นนั้นวิธีที่ภาครัฐสามารถบริหารจัดการเพื่อให้ราคาปาล์มดิบของไทยมีเสถียรภาพหรือใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกโดยเฉพาะมาเลเซียคือ การนำเข้าหรือการปรับสูตรราคาขายด้วยการบวกพรีเพี่ยมเพิ่มให้ชั่วคราว
“ จริงๆรัฐควรไปดูทั้งระบบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ผ่านมาการผลิตมีเพียงพอเพราะไม่เช่นนั้นคงไม่เหลือส่งออกแต่พอตลาดโลกต้องการมากเป็นไปได้ว่าจะส่งออกค่อนข้างมาก ประกอบกับเดิมบางจากและปตท.จะซื้อบี 100 มาจำหน่ายไบโอดีเซลแต่พอรัฐบังคับขายบี 2 วันที่ 1 ก.พ.นี้ก็ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่งจึงดันราคาให้สูงอีกเล็กน้อย ขณะที่ปาล์มสดช่วงนี้ยังมีต่ำจึงทำให้ราคาปาล์มสดถูกแย่งซื้อจึงดันให้สูงตามไปด้วย อีกส่วนก็เป็นไปได้ที่จะมีการกักตุนทำกำไรระยะสั้นบ้างแต่คงไม่มากเมื่อรวมกันแล้วจึงทำให้ตึงตัว”นายมนูญกล่าว
สำหรับการนำเข้าควรกำหนดเป็นโควตาชั่วคราวและเป็นปริมาณที่เหมาะสมซึ่งราคาน้ำเข้าบวกค่าขนส่งแล้วยังทำให้ราคาต่ำกว่าไทยประมาณ 50 สตางค์-1บาทต่อกก.และต้องให้โรงงานสกัดบี 100 เป็นผู้นำเข้ามาผลิตบี 100 เท่านั้นเพราะได้อ้างว่าปาล์มสดแพง วิธีนี้เหมือนกรณีการนำเข้าเอทานอลแล้วเมื่อราคาในประเทศมีเสถียรภาพก็ยกเลิกโดยหากเลือกนำเข้าก็ไม่จำเป็นต้องปรับสูตรราคาบี 100 แต่หากไม่เลือกนำเข้าก็สามารถปรับสูตรราคาบี 100 ที่ปัจจุบันอ้างอิงราคามาเลเซียบวกด้วยพรีเมี่ยมไม่เกิน 1 บาทต่อกก.ซึ่งถือว่าเหมาะสมแล้วแต่หากต้องการแก้ปัญหาก็สามารถเพิ่มค่าพรีเมี่ยมให้อีกเพื่อให้ลดการส่งออกเป็นการชั่วคราวจนราคาในประเทศมีเสถียรภาพ
ชี้ปาล์มสดไทยแพงกว่ามาเลย์
นายชาญชิต นาวงศ์ศรี ผู้จัดการโรงงานเอเชี่ยนน้ำมันปาล์ม จำกัด กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีการสต็อกปาล์มดิบแต่อย่างใดแต่ปัญหาที่ราคาแพงเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นขณะที่การผลิตตึงตัวเพราะขณะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มสดของไทยจะออกมาน้อยตามฤดูกาลซึ่งอีก 2-3 เดือนจึงจะออกมาเต็มที่ดังนั้นจึงดันให้ราคาปาล์มสดไทยแพงกว่ามาเลเซียแล้วประมาณ 1-2 บาทต่อกก.จากเดิมราคาประมาณ 4-5 บาทต่อกก.ขณะนี้เป็น 6 บาทต่อกก.และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกระยะสั้นนี้ส่งผลให้ปาล์มดิบไทยแพงกว่ามาเลเซีย 2-3 บาทต่อกก.
“ การนำเข้าปาล์มดิบมาคงแล้วแต่นโยบายรัฐซึ่งก็อาจจะมีทั้งผลดีที่จะทำให้ราคาในประเทศมีเสถียรภาพขึ้นแต่ผลเสียอาจทำให้ราคาปาล์มสดเกษตรกรตกต่ำหรือไม่ดังนั้นต้องดูปริมาณนำเข้าที่เหมาะสมด้วย ส่วนการที่รัฐบังคับขายบี 2 ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ดันให้ราคาปาล์มดิบสูง”นายชาญชิตกล่าว
หวั่นผู้ผลิต-ผู้ผลิตสับสน
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงนโยบายนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขึ้นราคาว่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่ากรมการค้าภายใน ไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหาและกลไกลของตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศไทย เพราะความจริงแล้ว ประเทศไทยไม่มีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม แต่สาเหตุที่เกิดปัญหาราคาน้ำมันพืชขึ้นราคาเนื่องจากอธิบดีกรมการค้าภายในให้สัมภาษณ์กับสื่อถึง 2 ครั้งด้วยกัน ว่าจะมีการอนุมัติให้ขึ้นราคาน้ำมันพืชในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้พ่อค้าคนกลางรีบกักตุนน้ำมันพืชเพื่อเก็งกำไร ขณะเดียวกันผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็เกิดอาการตื่นตระหนกว่าน้ำมันพืชจะขาดตลาด จึงเร่งซื้อมากกว่าปกติ ทำให้ยอดจำหน่ายน้ำมันพืชในตลาดสูงกว่าปกติกว่า 5 เท่าตัว
“ปัญหาที่แท้จริงมาจากการให้ข่าวเองว่าจะอนุมัติให้ปรับราคาน้ำมันพืชขึ้นรวดเดียวถึง 5.50 บาท ทำให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในตลาด ทั้งในส่วนของพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกักตุนเพื่อเก็งกำไร และผู้บริโภคที่กลัวว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนเหมือนเมื่อปี 40 “ แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นนั้น มีสัญญาณมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แต่แทนที่กรมการค้าภายในจะพยายามศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องและพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ กลับไปโทษว่าปัญหาเกิดจากผู้ทำธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ พยายามบังคับให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีทำข้อตกลงร่วมกับกรมการค้าภายในและกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันพืช
อย่างไรก็ตามตอนนี้มีความชัดเจนแล้วว่าที่ผ่านเป็นการหลงประเด็น แต่แทนที่จะหันกลับมาทบทวนความผิดพลาดในเรื่องของการดำเนินนโยบายและการให้ข่าว แต่กลับไปประกาศนโยบายเพิ่มเติมให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาแทน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์สนใจที่จะกลบเกลี่อนความผิดพลาดมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เพราะที่จริงแล้วการผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศมีอย่างเพียงพอ แถมยังมีเหลือที่จะส่งออกอีกด้วย ประเทศไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำมันปาล์มแต่อย่างใด เพียงแต่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ดังนั้น การจะนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากจะทำให้ต้องนำเข้าในราคาแพงแล้ว ยังจะทำให้ไทยมีปริมาณน้ำมันปาล์มมากเกินความจำเป็นอีกด้วย ทำให้กลไกตลาดยิ่งรวนกันไปทั้งระบบ นโยบายประหลาดนี้ จะยิ่งเป็นภาระให้กับผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ และผู้ผลิตน้ำมันพืชในประเทศ
ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้เคยประกาศไปแล้วว่าจะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม จนทำให้เกิดการกักตุนเกิดขึ้น และกรมการค้าภายในก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสต๊อกสินค้าของผู้ผลิต และกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่ แต่ไม่ได้ไปตรวจสต๊อกของกลุ่มพ่อค้าคนกลาง หรือยี่ปั๊ว ซาปั๊วแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่น่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกตรวจ เป็นการทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกในแบบอย่างของหน่วยงานราชการ
“การทำงานในลักษณะนี้ของกรมการค้าภายใน ทำกันมานานแล้ว จะว่าบุคคลากรขาดประสิทธิภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ที่สำคัญคือบุคคลากรระดับสูงก็เป็นไปด้วย ในปีที่ผ่านมากรมฯ ขาดการดูแลผู้บริโภคแต่กลับพยายามผลักดันกฏหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายต่างด้าว ค้าปลีกฯ และในที่สุดก็ไม่มีฝ่ายใดให้การสนับสนุน เพราะกฏหมายแต่ละฉบับขาดความรอบคอบ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง” แหล่งข่าวกล่าว