ศาลฎีกานัดพิพากษาคดี "ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์" ร้องเพิกถอนเลือกตั้งล่วงหน้า และพลังประชาชนเป็นนอมินีไทยรักไทย 18 ม.ค.นี้ โดยไม่มีการไต่สวนพยานบุคคลอีก ด้าน"พปช.–สมัคร" ยื่นคัดค้าน อ้างปชป. ต้องการขวางตั้งรัฐบาล ยกกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ให้อำนาจยื่นคำร้องศาลฎีกา ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อกฎหมายอีกครั้ง ขณะที่มือกฎหมาย ปชป.ชี้ หากศาลตัดสิน พปช.เป็นนอมินี จะทำให้ส.ส.ทั้งพรรคสิ้นสภาพทันที ด้านกฤษฎีกา ยืนยันใบแดง "สนุทร วิลาวัลย์" ส่วนจะลามไปถึงยุบพรรคหรือไม่ กกต.นัดถกวันนี้
วานนี้ (15 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ศาลนัดพิจารณาคดีเลือกตั้งหมายเลขดำ ที่ ลต.1/2551 ระหว่างนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ร้อง กับ คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งคณะ , พรรคพลังประชาชน , นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน , นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล และนายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้าน ที่นายไชยวัฒน์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่ง
1.ให้พรรคพลังประชาชน นอมินีพรรคไทยรักไทย ที่ไม่มีสิทธิส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชาชนทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต เป็นโมฆะ 2. ให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่เป็นตัวแทนของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ไม่มีสิทธิลงนามส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ การลงนามส่งผู้สมัครรับเลือดตั้งเป็นโมฆะหรือไม่
3.ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 15 -16 ธ.ค.50 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมทั้งการนำเอาบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไปนับรวมคะแนนเสียง โดยให้เพิกถอนการนับคะแนนเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ทั้งหมด แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และ 4. ขอมีคำพิพากษาว่า การแจกซีดีกับประชาชนเป็นการทำผิดกฎหมาย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และห้ามไม่ให้ กกต. ประกาศรับรองผลทั่วประเทศ หรือเพิกถอนการประกาศรับรองผล การเลือกตั้งของผู้สมัครพรรคพลังประชาชน
สู้ประเด็นข้อกฎหมาย
นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความฝ่ายนายสมัคร และพรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 ยื่นคำให้การคัดค้านคดีนี้ พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย อำนาจการฟ้องของนายไชยวัฒน์ และอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้น ศาลสามารถพิจารณาได้โดยไม่ต้องไต่สวนพยานบุคคลอีก แล้วจึงสอบถามฝ่ายนายไชยวัฒน์ ผู้ร้อง และฝ่าย กกต. ผู้ร้องคัดค้านที่ 1-5 ซึ่งมี นายณัฐศักดิ์ สุวรรณทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายคดีของ กกต. เป็นตัวแทนว่า มีเอกสารที่จะยื่นเพิ่มเติมหรือไม่
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทนายความผู้ร้อง จึงได้ ยื่นเอกสารเพิ่มเติม 53 อันดับ ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ ซีดี และเอกสารสรุปเรื่องที่เกี่ยวกับการฟ้องคดี ขณะที่ฝ่าย กกต. ไม่ยื่นเอกสารเพิ่มเติม โดยยืนยันตามคำให้การคัดค้านตามเอกสารที่ยื่นต่อศาลแล้ว โดยศาลรับเอกสารไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้ฝ่ายผู้ร้อง และผู้ร้องคัดค้าน 1-9 ยื่นคำแถลงประกอบคำร้อง และคำร้องคัดค้านภายในวันที่ 17 ม.ค.นี้ โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ม.ค. เวลา 16.00 น.
ภายหลังการพิจารณาของศาล นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย ถ้าพิจารณาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. คดีนี้ นายไชยวัฒน์ ผู้ร้องต้องการจะคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการประกาศรับรองผล ส.ส. จะต้องไปยื่นคำร้องต่อ กกต. แต่ถ้าหลังประกาศผลแล้ว เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา จึงเห็นว่า การฟ้องคดี ต้องเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยปัญญาข้อกฎหมายนี้ อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
ขณะที่นายณัฐศักดิ์ สุวรรณทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายคดี กกต. กล่าวว่า ในส่วนของ กกต.ได้ยื่นคำให้การคัดค้านต่อศาลไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งยื่นยันอำนาจจัดการเลือกตั้งของ กกต. เป็นไปโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. ส่วนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยในประเด็นนอมินี ที่ผ่านมา นายไชยวัฒน์ ไม่เคยได้ไปยื่นร้องคัดค้านกับกกต. มาก่อน
"ทนายไชยวัฒน์"มั่นใจหลักฐาน
ด้าน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทนายความ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กล่าวว่า มั่นใจในหลักฐานและพยานเอกสารที่ยื่นต่อศาลไปแล้ว ทั้งซีดีคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่นำเสนอข่าว นายสมัคร ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นนอมินีของไทยรักไทย ทั้งนี้ถ้าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไรก็พร้อมจะยอมรับ ส่วนที่ศาลไม่ไต่สวนพยานบุคคล ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เพราะศาลได้พิจารณาแล้วว่า พยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาได้ โดยตนยืนยันว่าทุกอย่างที่ทำไปทำดีที่สุดแล้ว
อ้าง ปชป.ขวางพปช. ตั้งรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำให้การคัดค้าน และคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายที่พรรคพลังประชาชนยื่นต่อศาล 30 หน้า นั้น สรุปว่า พรรคพลังประชาชน และนายสมัคร ผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 เห็นว่า คำร้องของนายไชยวัฒน์ อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้วินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น กกต. เท่านั้นที่มีอำนาจที่ยื่นต่อศาลฎีกาได้ ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มาตรา 111 ระบุว่า ในกรณีที่มีการประกาศผลรับรองการเลือกตั้งแล้ว ถ้า กกต. เห็นว่าสมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย
ดังนั้น คดีนี้ที่ผู้ร้องโต้แย้งคัดค้านว่า พรรคพลังประชาชนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 มีอำนาจที่จะดำเนินได้เฉพาะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มาตรา 39-40, 44 และ 114 เท่านั้น ที่จะยื่นคำร้องต่อ กกต. ในการคัดค้านคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงเลือกตั้ง รวมทั้งการคัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง แต่ผู้ร้องกลับไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในกฎหมาย โดยนำคำร้องมายื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ และเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ และอำนาจใด นำคำร้องยื่นต่อศาลฎีกา
รวมทั้งคำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2550 ข้อ 6 (2) ซึ่งกำหนดไว้ว่า คำร้องต้องระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้งและมาตราของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง ดังนั้นหากศาลฎีกาจะรับคำร้องไว้วินิจฉัย ผู้สมัครลงเลือกตั้ง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ ซึ่งบทบัญญัติเหล่านั้นจะกลายเป็นหมันสิ้นสภาพบังคับไปโดยปริยาย
ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า พรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้านที่ 6 เป็นนอมินี ของพรรคไทยรักไทย และนายสมัคร หัวหน้าพรรค ผู้ร้องคัดค้านที่ 7 เป็นนอมินี ของหัวหน้าพรรคไทยรักไทยนั้น ผู้ร้องไม่ได้กล่าวในคำร้องว่า นอมินี คืออะไร ผิดกฎหมายอย่างไร และการกระทำอย่างไรจึงเรียกว่า นอมินี ผู้ร้องคัดค้านจึงเห็นว่า เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม โดยผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 ยืนยันว่า พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน แยกต่างห่างจากกัน และต่างดำเนินกิจการทางการเมืองของตนเองมาโดยตลอด โดยโครงสร้างพรรคก็แตกต่างจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายสมัคร ผู้ร้องคัดค้านที่ 7 ไม่เคยเป็นสมาชิกหรือกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งพรรคไทยรักไทย สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมืองแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.50 ที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค
นอกจากนี้ ที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาก็ภายหลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. แล้ว ซึ่งทราบว่าผู้ร้องไม่ได้รับเลือกตั้งในเขต 3 บุรีรัมย์ โดยทราบว่า พรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เป็นจำนวนมากที่สูดถึง 233 คน และมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเหตุที่ผู้ร้องระบุในคำร้องนี้ ผู้ร้องสามารถยื่นคัดค้านต่อ กกต. ได้ก่อนวันเลือกตั้งทั่วไปได้อยู่แล้ว แต่กลับไม่ดำเนินการ กระทั่งเมื่อรู้ว่าแพ้เลือกตั้ง จึงหาเหตุมายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อล้มการเลือกตั้ง และต้องการขัดขวางไม่ให้พรรคพลังประชาชนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการขัดขวางต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และทำลายเจตจำนงของประชาชน ที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ชี้โทษนอมินีล้าง ส.ส. พปช.ทั้งพรรค
ด้าน นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค กล่าวว่า ตนได้ไปว่าความให้กับนายไชยวัฒน์ ที่ฟ้องร้องให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ ซึ่งตอนนี้ นายไชยวัฒน์ ไม่ได้ถอนฟ้องในประเด็นดังกล่าว ตามคำขอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่จะไม่มีการนำสืบในประเด็นนี้ ซึ่งจะเป็นการถอนฟ้องไปในตัว ส่วนกรณีความเป็นนอมินี และประเด็นอื่นๆ นั้น จะเดินหน้าถึงที่สุด
ซึ่งหากศาลพิพากษาว่า พรรคพลังประชาชน เป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย ที่ไม่มีสิทธิส่งผู้สมัคร ส.ส. ในนามพรรคพลังประชาชน ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต และนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งไม่มีสิทธิลงนามส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการลงนามส่งผู้สมัครรับเลือดตั้งเป็นโมฆะ จะทำให้ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต สิ้นสภาพการเป็นส.ส.ไปโดยปริยาย ไม่ว่า ส.ส. ผู้นั้นจะมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือไม่ก็ตาม
"เด็กประสงค์"ร้องศาลฎีกาล้มเลือกตั้ง
นายกฤษศักดา วัฒนพงษ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิกสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ตนได้ไปร้องต่อศาลฎีกา เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 ให้มีคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. 50 เนื่องจาก การเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต วันที่ 15-16 ธ.ค.50 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามที่ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 95 กำหนด เพราะไม่มีการตรวจสอบความจำเป็นของผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงล่วงหน้า และมีการจัดเตรียมแบบฟอร์ม คำขอใช้สิทธิโดยมีกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ลงลายมือชื่ออนุญาตให้ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขต ทำให้มีการจัดขนคนไปลงคะแนนเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบได้ในกรุงเทพฯ หลายเขต เช่น เขตเลือกตั้งที่ 5 , 6 และ 7 ซึ่งตนได้ยื่นหลักฐานภาพถ่าย และซีดีแนบไปด้วย
กรณีดังกล่าวทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม นอกจากนี้มีการนำบัตรดังกล่าวไปนับรวมกับบัตรลงคะแนนวันเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธ.ค. การลงคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลได้นัดฟังคำสั่ง วันที่ 21 ม.ค.นี้
กฤษฎีกายืนยันใบแดง"สุนทร"
วานนี้(15 ม.ค.) คณะกรรมการตรวจสอบการพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ได้มีการพิจารณาสำนวนสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายสุนทร วิลาวัลย์ ว่าที่ ส.ส.เขต 1 จ.ปราจีนบุรี พรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังการประชุม นายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบฯ กล่าวว่า ได้พิจารณาใน 2 ประเด็น เช่นเดียวกับกรณีเพิกถอนสิทธิอดีตว่าที่ ส.ส. บุรีรัมย์ โดยในส่วนของวิธีพิจารณานั้น กกต.ได้ให้โอกาสนายสุนทร ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา นำพยานหลักฐานเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนอย่างครบถ้วน ดังนั้น ถือว่าวิธีพิจารณาเป็นไปโดยชอบ มีความเที่ยงธรรมพอสมควรแล้ว
ส่วนเรื่องเนื้อหาของสำนวนการสืบสวนนั้น กกต.ได้พิจารณาจากพยานหลักฐานที่มีการยืนยันว่าได้มีการจ่ายเงิน เพื่อให้ลงคะแนนให้นายสุนทรจริง ซึ่งเหตุเกิดในวันเลือกตั้ง และได้มีการแจ้งความลงบันทึกไว้แล้ว นอกจากนี้ยังปรากฎว่า คนใกล้ชิดของนายสุนทรได้พยายามพูดจากับ กกต.จังหวัด เพื่อขอร้องในเรื่องของคดี อาศัยเหตุดังกล่าวทำให้ กกต.เชื่อว่านายสุนทร มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการจ่ายเงินซื้อเสียงครั้งนี้ จึงมีมติสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบฯ จึงเห็นว่ากระบวนการพิจารณาของ กกต. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ยุบมัชฌิมาหรือไม่เป็นหน้าที่ กกต.
สำหรับที่นายสุนทร มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ความผิดที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบฯ ไม่ได้พิจารณาในประเด็นนี้ แต่ดูเพียงว่าสำนวนการสอบสวนเป็นไปโดยชอบหรือไม่ เรื่องอื่นเป็นหน้าที่ของกกต. ที่จะต้องพิจารณาเอง ไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
อย่างไรก็ตามในส่วนสำนวนการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายมนเฑียร สงฆ์ประชา และ น.ส. นันทนา สงฆ์ประชา ว่าที่ ส.ส.ชัยนาท พรรคชาติไทยนั้น คณะกรรมการตรวจสอบฯ เพิ่งจะได้รับสำนวนเมื่อช่วงเช้าวันที่ 15 ม.ค. จึงจะมีการพิจารณาในวันที่ 18 ม.ค.นี้ พร้อมกับสำนวนการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายประสพ บุษราคัม ว่าที่ ส.ส. เขต 3 จ.อุดรธานี พรรคพลังประชาชน
กกต.รับรองส.ส.เพิ่มอีก 7 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ กกต.ได้มีมติรับรอง ส.ส.อย่างเป็นทางการเพิ่มเติมอีก 7 คน ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน 4 คน ได้แก่ นายประเสริฐ บุญเรือง เขต 2 กาฬสินธุ์ ,นายบุญเลิศ ครุฑขุนทด นายประเสิรฐ จันทรรวงทอง และนางลินดา เชิดชัย เขต 3 จ.นครราชสีมา ที่ได้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 13 ม.ค. พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คนได้แก่ นาย อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ และร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เขต 4 จ.นครราชสีมา และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน คือนางทัศนียา รัตนเศรษฐ เขต 4 จ.นครราชสีมา ทำให้ยอด ส.ส.ที่ กกต.มีการรับรองแล้ว 431 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ กกต.แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถส่งรายชื่อส.ส.จำนวน 456 คนให้กับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเตรียมเสนอร่าง พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภานัดแรกในวันที่ 17 ม.ค.นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า กกต.ได้มีหารือกัน และเห็นตรงกันว่า ถ้าจะประกาศรับรองส.ส.ให้ได้จำนวน 456 คน ตามระยะเวลาดังกล่าว การเลือกตั้งใหม่ในเขต 2 ชัยภูมิ และ เขต 1 บุรีรัมย์ รวม 5 ราย จะต้องไม่มีปัญหาใดๆ ที่ทำให้กกต.ไม่สามารถประกาศรับรองได้ทันทีหลังการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันสำนวนร้องคัดค้านว่าที่ ส.ส.ที่ กกต.ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ 24 รายนั้น กกต.ก็จะต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือสั่งเพิกถอนสิทธิได้อีกไม่เกิน 4 รายเท่านั้น โดยที่ 20 ราย ที่เหลือจะต้องประกาศรองทั้งหมด แต่หาก กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ หรือสั่งเพิกถอนสิทธิเกินกว่า 4 คน การประกาศรับรองผล ส.ส.จำนวน 456 คน เพื่อให้สามารถเปิดประชุมสภาได้ ก็ต้องรอผลการเลือกตั้งรอบใหม่ 13 ราย ในวันที่ 20 ม.ค
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ กกต.ได้ประกาศรับรองผลส.ส.ไปแล้ว 431 คน จากจำนวน ส.ส.ที่พึงมีตามกฎหมาย 480 คน โดยว่าที่ ส.ส.ที่ กกต.ยังไม่ประกาศรับรองจำนวน 49 คน แยกเป็นสั่ง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และสั่งเลือกตั้งใหม่จำนวน 25 ราย และสำนวนเรื่องร้องคัดค้านอยู่ในระหว่างพิจารณาของกกต.อีก 24 ราย
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.วานนี้ ( 15 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องร้องคัดค้านจำนวน 4 สำนวนคือ 1. กรณีการร้องคัดค้านผู้สมัคร ส.ส. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และนายเกียรติเชษฐ์ อกนิษฐ์เสนีย์ เขต 6 พรรคพลังประชาชน ซึ่งทั้ง 2 คนไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในข้อหาติดป้ายในสถานที่ราชการหรือสถานที่เอกชน ซึ่งไม่ได้รับอนุญาต โดย กกต. มมติยกคำร้อง
2.ในเขต 6 นครราชสีมา ว่าที่ ส.ส. ในเขตดังกล่าว คือ นายมีชัย จิตต์พิพัฒน์ และนายพลพีร์ สุวรรณฉวี จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ว่าที่ ส.ส. ซึ่ง กกต. ให้ใบเหลือง ร้อง นายนายบุญจง ในข้อหาแจกเงินโดย กกต. มีมติให้ กกต.จังหวัด สืบสวนสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกร้อง
3.กรณี การร้องคัดค้าน นายภูมิ สาระผล นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ และนายจักรินทร์ พัฒน์ดำรงจิต ส.ส.จากพรรคพลังประชาชน ที่ กกต. รับรองไปแล้ว ในข้อหาให้เงินและสิ่งของ ซึ่ง กกต. มีมติยกคำร้อง และ 4. เขต 3 ร้อยเอ็ด ซึ่งร้องเรียน นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ และนายนิรมิต สุจารี ในข้อหาให้เงินแก่ผู้สมัครโดย กกต. มีมติยกคำร้อง และในเขตนี้ ก็จะไปตรวจสอบไปยัง กกต. จังหวัดหากไม่มีเรื่องร้องเรียน ก็จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งในเขตนี้
ถกยุบพรรค ส.ส.ใบแดงหรือไม่วันนี้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีการตั้งอนุกรรมการสอบยุบพรรค กรณีที่กรรมการบริหารพรรคถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ว่าในวันที่ 16 ม.ค. นี้ กกต.จะได้มีการหารือเบื้องต้นว่า จะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงของนายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค อดีตว่าที่ สส. พรรคมัชฌิมาธิปไตย ปราจีนบุรี ฐานะที่เป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งถูกกกต.เพิกถอนสิทธิทางการเมือง จึงจะต้องถูกพิจารณายุบพรรค เนื่องจากทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง หรือไม่ ส่วนกรณีของนาย มณเฑียร และน.ส.นันทนา สงฆ์ประชา อดีตว่าที่ ส.ส.ชัยนาท ผู้ที่ได้รับใบแดง ต้องรอให้กฤษฎีกาพิจารณาก่อน
ทั้งนี้ การพิจารณายุบพรรคการเมืองใด กกต. ต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริงให้เสร็จสมบูรณ์ และสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบมาให้ กกต.วินิจฉัย และลงมติอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สามารถใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยว่า จะยุบพรรคหรือไม่ ไม่ได้หมายความว่า เมื่อ กกต.เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง ก็ต้องเป็นไปตามนั้น
วานนี้ (15 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ศาลนัดพิจารณาคดีเลือกตั้งหมายเลขดำ ที่ ลต.1/2551 ระหว่างนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ร้อง กับ คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งคณะ , พรรคพลังประชาชน , นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน , นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล และนายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้าน ที่นายไชยวัฒน์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่ง
1.ให้พรรคพลังประชาชน นอมินีพรรคไทยรักไทย ที่ไม่มีสิทธิส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชาชนทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต เป็นโมฆะ 2. ให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่เป็นตัวแทนของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ไม่มีสิทธิลงนามส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ การลงนามส่งผู้สมัครรับเลือดตั้งเป็นโมฆะหรือไม่
3.ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 15 -16 ธ.ค.50 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมทั้งการนำเอาบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไปนับรวมคะแนนเสียง โดยให้เพิกถอนการนับคะแนนเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ทั้งหมด แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และ 4. ขอมีคำพิพากษาว่า การแจกซีดีกับประชาชนเป็นการทำผิดกฎหมาย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และห้ามไม่ให้ กกต. ประกาศรับรองผลทั่วประเทศ หรือเพิกถอนการประกาศรับรองผล การเลือกตั้งของผู้สมัครพรรคพลังประชาชน
สู้ประเด็นข้อกฎหมาย
นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความฝ่ายนายสมัคร และพรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 ยื่นคำให้การคัดค้านคดีนี้ พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย อำนาจการฟ้องของนายไชยวัฒน์ และอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้น ศาลสามารถพิจารณาได้โดยไม่ต้องไต่สวนพยานบุคคลอีก แล้วจึงสอบถามฝ่ายนายไชยวัฒน์ ผู้ร้อง และฝ่าย กกต. ผู้ร้องคัดค้านที่ 1-5 ซึ่งมี นายณัฐศักดิ์ สุวรรณทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายคดีของ กกต. เป็นตัวแทนว่า มีเอกสารที่จะยื่นเพิ่มเติมหรือไม่
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทนายความผู้ร้อง จึงได้ ยื่นเอกสารเพิ่มเติม 53 อันดับ ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ ซีดี และเอกสารสรุปเรื่องที่เกี่ยวกับการฟ้องคดี ขณะที่ฝ่าย กกต. ไม่ยื่นเอกสารเพิ่มเติม โดยยืนยันตามคำให้การคัดค้านตามเอกสารที่ยื่นต่อศาลแล้ว โดยศาลรับเอกสารไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้ฝ่ายผู้ร้อง และผู้ร้องคัดค้าน 1-9 ยื่นคำแถลงประกอบคำร้อง และคำร้องคัดค้านภายในวันที่ 17 ม.ค.นี้ โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ม.ค. เวลา 16.00 น.
ภายหลังการพิจารณาของศาล นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย ถ้าพิจารณาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. คดีนี้ นายไชยวัฒน์ ผู้ร้องต้องการจะคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการประกาศรับรองผล ส.ส. จะต้องไปยื่นคำร้องต่อ กกต. แต่ถ้าหลังประกาศผลแล้ว เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา จึงเห็นว่า การฟ้องคดี ต้องเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยปัญญาข้อกฎหมายนี้ อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
ขณะที่นายณัฐศักดิ์ สุวรรณทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายคดี กกต. กล่าวว่า ในส่วนของ กกต.ได้ยื่นคำให้การคัดค้านต่อศาลไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งยื่นยันอำนาจจัดการเลือกตั้งของ กกต. เป็นไปโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. ส่วนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยในประเด็นนอมินี ที่ผ่านมา นายไชยวัฒน์ ไม่เคยได้ไปยื่นร้องคัดค้านกับกกต. มาก่อน
"ทนายไชยวัฒน์"มั่นใจหลักฐาน
ด้าน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทนายความ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กล่าวว่า มั่นใจในหลักฐานและพยานเอกสารที่ยื่นต่อศาลไปแล้ว ทั้งซีดีคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่นำเสนอข่าว นายสมัคร ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นนอมินีของไทยรักไทย ทั้งนี้ถ้าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไรก็พร้อมจะยอมรับ ส่วนที่ศาลไม่ไต่สวนพยานบุคคล ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เพราะศาลได้พิจารณาแล้วว่า พยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาพิพากษาได้ โดยตนยืนยันว่าทุกอย่างที่ทำไปทำดีที่สุดแล้ว
อ้าง ปชป.ขวางพปช. ตั้งรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำให้การคัดค้าน และคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายที่พรรคพลังประชาชนยื่นต่อศาล 30 หน้า นั้น สรุปว่า พรรคพลังประชาชน และนายสมัคร ผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 เห็นว่า คำร้องของนายไชยวัฒน์ อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้วินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น กกต. เท่านั้นที่มีอำนาจที่ยื่นต่อศาลฎีกาได้ ซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มาตรา 111 ระบุว่า ในกรณีที่มีการประกาศผลรับรองการเลือกตั้งแล้ว ถ้า กกต. เห็นว่าสมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย
ดังนั้น คดีนี้ที่ผู้ร้องโต้แย้งคัดค้านว่า พรรคพลังประชาชนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครลงเลือกตั้ง ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 มีอำนาจที่จะดำเนินได้เฉพาะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มาตรา 39-40, 44 และ 114 เท่านั้น ที่จะยื่นคำร้องต่อ กกต. ในการคัดค้านคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงเลือกตั้ง รวมทั้งการคัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง แต่ผู้ร้องกลับไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในกฎหมาย โดยนำคำร้องมายื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ และเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ และอำนาจใด นำคำร้องยื่นต่อศาลฎีกา
รวมทั้งคำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2550 ข้อ 6 (2) ซึ่งกำหนดไว้ว่า คำร้องต้องระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้งและมาตราของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง ดังนั้นหากศาลฎีกาจะรับคำร้องไว้วินิจฉัย ผู้สมัครลงเลือกตั้ง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ ซึ่งบทบัญญัติเหล่านั้นจะกลายเป็นหมันสิ้นสภาพบังคับไปโดยปริยาย
ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า พรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้านที่ 6 เป็นนอมินี ของพรรคไทยรักไทย และนายสมัคร หัวหน้าพรรค ผู้ร้องคัดค้านที่ 7 เป็นนอมินี ของหัวหน้าพรรคไทยรักไทยนั้น ผู้ร้องไม่ได้กล่าวในคำร้องว่า นอมินี คืออะไร ผิดกฎหมายอย่างไร และการกระทำอย่างไรจึงเรียกว่า นอมินี ผู้ร้องคัดค้านจึงเห็นว่า เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม โดยผู้ร้องคัดค้านที่ 6-7 ยืนยันว่า พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน แยกต่างห่างจากกัน และต่างดำเนินกิจการทางการเมืองของตนเองมาโดยตลอด โดยโครงสร้างพรรคก็แตกต่างจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายสมัคร ผู้ร้องคัดค้านที่ 7 ไม่เคยเป็นสมาชิกหรือกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งพรรคไทยรักไทย สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมืองแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.50 ที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค
นอกจากนี้ ที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาก็ภายหลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. แล้ว ซึ่งทราบว่าผู้ร้องไม่ได้รับเลือกตั้งในเขต 3 บุรีรัมย์ โดยทราบว่า พรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เป็นจำนวนมากที่สูดถึง 233 คน และมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเหตุที่ผู้ร้องระบุในคำร้องนี้ ผู้ร้องสามารถยื่นคัดค้านต่อ กกต. ได้ก่อนวันเลือกตั้งทั่วไปได้อยู่แล้ว แต่กลับไม่ดำเนินการ กระทั่งเมื่อรู้ว่าแพ้เลือกตั้ง จึงหาเหตุมายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อล้มการเลือกตั้ง และต้องการขัดขวางไม่ให้พรรคพลังประชาชนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการขัดขวางต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และทำลายเจตจำนงของประชาชน ที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ชี้โทษนอมินีล้าง ส.ส. พปช.ทั้งพรรค
ด้าน นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค กล่าวว่า ตนได้ไปว่าความให้กับนายไชยวัฒน์ ที่ฟ้องร้องให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ ซึ่งตอนนี้ นายไชยวัฒน์ ไม่ได้ถอนฟ้องในประเด็นดังกล่าว ตามคำขอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่จะไม่มีการนำสืบในประเด็นนี้ ซึ่งจะเป็นการถอนฟ้องไปในตัว ส่วนกรณีความเป็นนอมินี และประเด็นอื่นๆ นั้น จะเดินหน้าถึงที่สุด
ซึ่งหากศาลพิพากษาว่า พรรคพลังประชาชน เป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย ที่ไม่มีสิทธิส่งผู้สมัคร ส.ส. ในนามพรรคพลังประชาชน ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต และนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งไม่มีสิทธิลงนามส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการลงนามส่งผู้สมัครรับเลือดตั้งเป็นโมฆะ จะทำให้ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต สิ้นสภาพการเป็นส.ส.ไปโดยปริยาย ไม่ว่า ส.ส. ผู้นั้นจะมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือไม่ก็ตาม
"เด็กประสงค์"ร้องศาลฎีกาล้มเลือกตั้ง
นายกฤษศักดา วัฒนพงษ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิกสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ตนได้ไปร้องต่อศาลฎีกา เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 ให้มีคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. 50 เนื่องจาก การเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต วันที่ 15-16 ธ.ค.50 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามที่ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 95 กำหนด เพราะไม่มีการตรวจสอบความจำเป็นของผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงล่วงหน้า และมีการจัดเตรียมแบบฟอร์ม คำขอใช้สิทธิโดยมีกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ลงลายมือชื่ออนุญาตให้ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขต ทำให้มีการจัดขนคนไปลงคะแนนเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบได้ในกรุงเทพฯ หลายเขต เช่น เขตเลือกตั้งที่ 5 , 6 และ 7 ซึ่งตนได้ยื่นหลักฐานภาพถ่าย และซีดีแนบไปด้วย
กรณีดังกล่าวทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม นอกจากนี้มีการนำบัตรดังกล่าวไปนับรวมกับบัตรลงคะแนนวันเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธ.ค. การลงคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลได้นัดฟังคำสั่ง วันที่ 21 ม.ค.นี้
กฤษฎีกายืนยันใบแดง"สุนทร"
วานนี้(15 ม.ค.) คณะกรรมการตรวจสอบการพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ได้มีการพิจารณาสำนวนสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายสุนทร วิลาวัลย์ ว่าที่ ส.ส.เขต 1 จ.ปราจีนบุรี พรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังการประชุม นายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบฯ กล่าวว่า ได้พิจารณาใน 2 ประเด็น เช่นเดียวกับกรณีเพิกถอนสิทธิอดีตว่าที่ ส.ส. บุรีรัมย์ โดยในส่วนของวิธีพิจารณานั้น กกต.ได้ให้โอกาสนายสุนทร ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา นำพยานหลักฐานเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนอย่างครบถ้วน ดังนั้น ถือว่าวิธีพิจารณาเป็นไปโดยชอบ มีความเที่ยงธรรมพอสมควรแล้ว
ส่วนเรื่องเนื้อหาของสำนวนการสืบสวนนั้น กกต.ได้พิจารณาจากพยานหลักฐานที่มีการยืนยันว่าได้มีการจ่ายเงิน เพื่อให้ลงคะแนนให้นายสุนทรจริง ซึ่งเหตุเกิดในวันเลือกตั้ง และได้มีการแจ้งความลงบันทึกไว้แล้ว นอกจากนี้ยังปรากฎว่า คนใกล้ชิดของนายสุนทรได้พยายามพูดจากับ กกต.จังหวัด เพื่อขอร้องในเรื่องของคดี อาศัยเหตุดังกล่าวทำให้ กกต.เชื่อว่านายสุนทร มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการจ่ายเงินซื้อเสียงครั้งนี้ จึงมีมติสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบฯ จึงเห็นว่ากระบวนการพิจารณาของ กกต. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ยุบมัชฌิมาหรือไม่เป็นหน้าที่ กกต.
สำหรับที่นายสุนทร มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ความผิดที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบฯ ไม่ได้พิจารณาในประเด็นนี้ แต่ดูเพียงว่าสำนวนการสอบสวนเป็นไปโดยชอบหรือไม่ เรื่องอื่นเป็นหน้าที่ของกกต. ที่จะต้องพิจารณาเอง ไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
อย่างไรก็ตามในส่วนสำนวนการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายมนเฑียร สงฆ์ประชา และ น.ส. นันทนา สงฆ์ประชา ว่าที่ ส.ส.ชัยนาท พรรคชาติไทยนั้น คณะกรรมการตรวจสอบฯ เพิ่งจะได้รับสำนวนเมื่อช่วงเช้าวันที่ 15 ม.ค. จึงจะมีการพิจารณาในวันที่ 18 ม.ค.นี้ พร้อมกับสำนวนการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายประสพ บุษราคัม ว่าที่ ส.ส. เขต 3 จ.อุดรธานี พรรคพลังประชาชน
กกต.รับรองส.ส.เพิ่มอีก 7 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ กกต.ได้มีมติรับรอง ส.ส.อย่างเป็นทางการเพิ่มเติมอีก 7 คน ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน 4 คน ได้แก่ นายประเสริฐ บุญเรือง เขต 2 กาฬสินธุ์ ,นายบุญเลิศ ครุฑขุนทด นายประเสิรฐ จันทรรวงทอง และนางลินดา เชิดชัย เขต 3 จ.นครราชสีมา ที่ได้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 13 ม.ค. พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คนได้แก่ นาย อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ และร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เขต 4 จ.นครราชสีมา และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน คือนางทัศนียา รัตนเศรษฐ เขต 4 จ.นครราชสีมา ทำให้ยอด ส.ส.ที่ กกต.มีการรับรองแล้ว 431 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ กกต.แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถส่งรายชื่อส.ส.จำนวน 456 คนให้กับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเตรียมเสนอร่าง พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภานัดแรกในวันที่ 17 ม.ค.นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า กกต.ได้มีหารือกัน และเห็นตรงกันว่า ถ้าจะประกาศรับรองส.ส.ให้ได้จำนวน 456 คน ตามระยะเวลาดังกล่าว การเลือกตั้งใหม่ในเขต 2 ชัยภูมิ และ เขต 1 บุรีรัมย์ รวม 5 ราย จะต้องไม่มีปัญหาใดๆ ที่ทำให้กกต.ไม่สามารถประกาศรับรองได้ทันทีหลังการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันสำนวนร้องคัดค้านว่าที่ ส.ส.ที่ กกต.ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ 24 รายนั้น กกต.ก็จะต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือสั่งเพิกถอนสิทธิได้อีกไม่เกิน 4 รายเท่านั้น โดยที่ 20 ราย ที่เหลือจะต้องประกาศรองทั้งหมด แต่หาก กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ หรือสั่งเพิกถอนสิทธิเกินกว่า 4 คน การประกาศรับรองผล ส.ส.จำนวน 456 คน เพื่อให้สามารถเปิดประชุมสภาได้ ก็ต้องรอผลการเลือกตั้งรอบใหม่ 13 ราย ในวันที่ 20 ม.ค
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ กกต.ได้ประกาศรับรองผลส.ส.ไปแล้ว 431 คน จากจำนวน ส.ส.ที่พึงมีตามกฎหมาย 480 คน โดยว่าที่ ส.ส.ที่ กกต.ยังไม่ประกาศรับรองจำนวน 49 คน แยกเป็นสั่ง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และสั่งเลือกตั้งใหม่จำนวน 25 ราย และสำนวนเรื่องร้องคัดค้านอยู่ในระหว่างพิจารณาของกกต.อีก 24 ราย
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.วานนี้ ( 15 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องร้องคัดค้านจำนวน 4 สำนวนคือ 1. กรณีการร้องคัดค้านผู้สมัคร ส.ส. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และนายเกียรติเชษฐ์ อกนิษฐ์เสนีย์ เขต 6 พรรคพลังประชาชน ซึ่งทั้ง 2 คนไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในข้อหาติดป้ายในสถานที่ราชการหรือสถานที่เอกชน ซึ่งไม่ได้รับอนุญาต โดย กกต. มมติยกคำร้อง
2.ในเขต 6 นครราชสีมา ว่าที่ ส.ส. ในเขตดังกล่าว คือ นายมีชัย จิตต์พิพัฒน์ และนายพลพีร์ สุวรรณฉวี จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ว่าที่ ส.ส. ซึ่ง กกต. ให้ใบเหลือง ร้อง นายนายบุญจง ในข้อหาแจกเงินโดย กกต. มีมติให้ กกต.จังหวัด สืบสวนสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกร้อง
3.กรณี การร้องคัดค้าน นายภูมิ สาระผล นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ และนายจักรินทร์ พัฒน์ดำรงจิต ส.ส.จากพรรคพลังประชาชน ที่ กกต. รับรองไปแล้ว ในข้อหาให้เงินและสิ่งของ ซึ่ง กกต. มีมติยกคำร้อง และ 4. เขต 3 ร้อยเอ็ด ซึ่งร้องเรียน นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ และนายนิรมิต สุจารี ในข้อหาให้เงินแก่ผู้สมัครโดย กกต. มีมติยกคำร้อง และในเขตนี้ ก็จะไปตรวจสอบไปยัง กกต. จังหวัดหากไม่มีเรื่องร้องเรียน ก็จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งในเขตนี้
ถกยุบพรรค ส.ส.ใบแดงหรือไม่วันนี้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีการตั้งอนุกรรมการสอบยุบพรรค กรณีที่กรรมการบริหารพรรคถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ว่าในวันที่ 16 ม.ค. นี้ กกต.จะได้มีการหารือเบื้องต้นว่า จะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงของนายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค อดีตว่าที่ สส. พรรคมัชฌิมาธิปไตย ปราจีนบุรี ฐานะที่เป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งถูกกกต.เพิกถอนสิทธิทางการเมือง จึงจะต้องถูกพิจารณายุบพรรค เนื่องจากทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง หรือไม่ ส่วนกรณีของนาย มณเฑียร และน.ส.นันทนา สงฆ์ประชา อดีตว่าที่ ส.ส.ชัยนาท ผู้ที่ได้รับใบแดง ต้องรอให้กฤษฎีกาพิจารณาก่อน
ทั้งนี้ การพิจารณายุบพรรคการเมืองใด กกต. ต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริงให้เสร็จสมบูรณ์ และสรุปผลการดำเนินการตรวจสอบมาให้ กกต.วินิจฉัย และลงมติอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สามารถใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยว่า จะยุบพรรคหรือไม่ ไม่ได้หมายความว่า เมื่อ กกต.เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง ก็ต้องเป็นไปตามนั้น