ปัจจุบันธุรกิจขนส่งทางอากาศเติบโตอย่างรวดเร็วมาก และนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ แม้ตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกมีขนาดประมาณ 6,000,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่าของตลาดขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ แต่เติบโตในอัตราสูงกว่า คือ โดยเฉลี่ย 6% ต่อปี เปรียบเทียบกับตลาดขนส่งผู้โดยสารทางอากาศที่เติบโตในอัตรา 4% ต่อปี
สำหรับสินค้าที่ต้องการขนส่งทางอากาศมีหลายประเภท
ประเภทแรก สินค้าที่มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักและปริมาตร เช่น ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ประเภทที่สอง สินค้าที่มีความอ่อนไหวในด้านเวลา (Time-Sensitive) ซึ่งประกอบด้วยสินค้าที่เน่าเสียง่ายทางด้านกายภาพ (Physical Perishable) เช่น อาหารทะเลสด ดอกไม้สด ฯลฯ รวมถึงสินค้าที่เน่าเสียง่ายในด้านเศรษฐกิจ มีความล้าสมัยในด้านเศรษฐกิจ (Economic Perishable) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สินค้าแฟชั่น ฯลฯ
ประเภทที่สาม สินค้าที่ต้องการขนส่งอย่างเร่งด่วนเพื่อสนองความต้องการของห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้นว่า โรงงานขาดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่ง และต้องการใช้อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น สายการผลิตจะต้องหยุดชะงัก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากต่อบริษัทเป็นอย่างมาก
เดิมในปี 2545 ท่าอากาศเมมฟิสซึ่งเป็นฐานของสายการบินขนส่งสินค้า FedEx นับเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากที่สุดในโลก รองลงมา คือ ท่าอากาศยานเช็คเล็ปก๊อกของฮ่องกง ท่าอากาศยานนาริตะของกรุงโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแองเจลิส ท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ ท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ และท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ ตามลำดับ
สำหรับสถิติล่าสุดในปี 2549 ท่าอากาศเมมฟิสและ
ท่าอากาศยานเช็คเล็ปก๊อกของฮ่องกงยังคงครองตำแหน่งอันดับ 1 และ 2 ของโลกต่อไปอีก ขณะที่ท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ กำลังมาแรง โดยก้าวขึ้นจากอันดับ 5 ในปี 2545 มาเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยก้าวกระโดดจากอันดับ 6 มาเป็นอันดับ 4 ของโลก
ขณะเดียวกันหลายท่าอากาศยานได้ตกอันดับไปมาก โดยเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติของนครลอสแองเจลิสได้ร่วงจากอันดับ 4 ในปี 2545 เป็นอันดับ 11 ของโลก ส่วนท่าอากาศยานนาริตะได้ร่วงลงเช่นเดียวกันจากอันดับ 3 เป็นอันดับ 5 ของโลก ท่าอากาศยาน JFK ของนครนิวยอร์กได้ตกลงจากอันดับ 6 ของโลก เป็นอันดับที่ 14 ของโลก และท่าอากาศยานฮีทโธรว์จากอันดับที่ 15 มาเป็นอันดับที่ 18 ของโลก โดยท่าอากาศยานเหล่านี้มีปัญหาคล้ายคลึงกัน คือ ความสามารถของรันเวย์ในการรับการขึ้นลงของเครื่องบินจำกัด จึงมุ่งเน้นเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารมากกว่าเครื่องบินบรรทุกสินค้าแบบ Freighter
สำหรับในอนาคตนั้น ท่าอากาศยานของฮ่องกงซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เนื่องจากท่าอากาศยานของประเทศจีนที่อยู่ใกล้เคียงจะแย่งลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะท่าอากาศยานแห่งใหม่ของนครกวางโจว ซึ่งกำลังจะกลายเป็นฐานลอจิสติกส์สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของบริษัท FedEx ในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณว่าท่าอากาศยานฮ่องกงซึ่งเดิมครองตลาดการขนถ่ายสินค้าทางอากาศของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน เป็นสัดส่วนมากถึง 90% คาดว่าส่วนแบ่งตลาดจะลดลงเหลือเพียง 50% ภายในปี 2563 โดยที่เหลือจะขนถ่ายผ่านท่าอากาศยานอื่นๆ ของจีน โดยเฉพาะท่าอากาศยานของนครกวางโจว 29% และท่าอากาศยานของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นอีก 17%
ขณะที่ท่าอากาศยานผู่ตงกำลังมาแรง กล่าวคือ เดิมในปี 2548 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 8 ของโลก แต่ในปี 2549 ได้แซงหน้าท่าอากาศยาน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนีและท่าอากาศยานลอสแองเจลิสของสหรัฐฯ กลายเป็นท่าอากาศยานขนส่งสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีแนวโน้มสูงว่าในอนาคตจะแซงหน้าท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ และท่าอากาศยานนาริตะของกรุงโตเกียว กลายเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
ส่วนท่าอากาศยานปักกิ่งก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านลอจิสติกส์ กล่าวคือ เดิมในปี 2548 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 24 ของโลก และในปี 2549 แซงหน้าท่าอากาศยานรวดเดียวมากถึง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอินเดียนาโปลิส ท่าอากาศยาน Newark ท่าอากาศยานคันไซ และท่าอากาศยานฮาเนดะ ขึ้นเป็นอันดับ 20 ของโลก และคาดว่าจะแซงหน้าท่าอากาศยานฮีทโธรว์ของกรุงลอนดอน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทย ขึ้นเป็นอันดับ 18 ของโลกในอนาคตอันใกล้
สำหรับท่าอากาศยานไป่หยุนของนครกวางโจวก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากอันดับ 26 ของโลกในปี 2548 แซงหน้าท่าอากาศยานแอตแลนตาของสหรัฐฯ ขึ้นเป็นอันดับที่ 25 ในปี 2549 และคาดว่าจะแซงหน้าท่าอากาศยานคันไซของนครโอซากาและท่าอากาศยานฮาเดดะของกรุงโตเกียวขึ้นเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ในอนาคตอันใกล้
ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการเปิดศูนย์ลอจิสติกส์ของบริษัท FedEx ที่ท่าอากาศยานไป่หยุนในปี 2551 ก็มีแนวโน้มสูงว่าในอนาคตจะแซงหน้าท่าอากาศยานอีก 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอินเดียนาโปลิสของสหรัฐฯ และท่าอากาศยาน Newark ของสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเป็นอันดับที่ 21 ของ
ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ (ได้เปลี่ยนจากท่าอากาศยานดอนเมืองมาเป็นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อปลายเดือนกันยายน 2549) แม้มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 956,790 ตัน ในปี 2545 เป็น 1.2 ล้านตัน ในปี 2549 แต่ได้ร่วงลงมา 2 อันดับ คือ จากอันดับ 17 ในปี 2545 เป็นอันดับ 19 ของโลก ในปี 2549 เนื่องจากถูกท่าอากาศยานผู่ตงของนครเซี่ยงไฮ้และท่าอากาศยานดูไบแซงหน้าขึ้นไป
สำหรับในอนาคต คาดหมายว่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะร่วงลงต่อไปอีก 2 อันดับ กล่าวคือ กลายเป็นอันดับ 20 ของโลก เนื่องจากกำลังจะถูกท่าอากาศยานนานาชาติของกรุงปักกิ่งแซงหน้าขึ้นไปอีก 1 ราย
สุดท้ายนี้ การแข่งขันระหว่างท่าอากาศยานต่างๆ เพื่อแย่งกันเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศนั้นเป็นไปอย่างเข้มข้นกว่าการแข่งขันเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายผู้โดยสาร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น บรรดาผู้ใช้บริการจะไม่สนใจว่าสายการบินจะขนส่งผ่านท่าอากาศยานแห่งใด ขอให้เพียงขนส่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยมีต้นทุนต่ำและภายในเวลาที่กำหนดก็เพียงพอแล้ว แตกต่างจากการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องการใช้ท่าอากาศยานแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีขนส่งพัสดุภัณฑ์จากนครฟิลาเดลเฟียมายังกรุงเทพมหานคร จะส่งผ่านสถานที่คัดแยกพัสดุภัณฑ์แห่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยานเช็กแลปก๊อกของฮ่องกงหรือท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจ
จากเหตุผลข้างต้น ท่าอากาศยานใดที่เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศจะมีความเสี่ยงในการสูญเสียธุรกิจสูงกว่าท่าอากาศยานทั่วไป เป็นต้นว่า เมื่อบริษัท UPS ได้ซื้อกิจการของบริษัท Menlo Worldwide Forwarding/Emery Air Freight และได้ตัดสินใจยกเลิกศูนย์ลอจิสติกส์ของกิจการส่วนนี้ที่ตั้งในท่าอากาศยาน Dayton ทำให้ปริมาณการขนถ่ายสินค้าที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ในปี 2550 ลดลงมากถึง 97%
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
สำหรับสินค้าที่ต้องการขนส่งทางอากาศมีหลายประเภท
ประเภทแรก สินค้าที่มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักและปริมาตร เช่น ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ประเภทที่สอง สินค้าที่มีความอ่อนไหวในด้านเวลา (Time-Sensitive) ซึ่งประกอบด้วยสินค้าที่เน่าเสียง่ายทางด้านกายภาพ (Physical Perishable) เช่น อาหารทะเลสด ดอกไม้สด ฯลฯ รวมถึงสินค้าที่เน่าเสียง่ายในด้านเศรษฐกิจ มีความล้าสมัยในด้านเศรษฐกิจ (Economic Perishable) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สินค้าแฟชั่น ฯลฯ
ประเภทที่สาม สินค้าที่ต้องการขนส่งอย่างเร่งด่วนเพื่อสนองความต้องการของห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้นว่า โรงงานขาดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่ง และต้องการใช้อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น สายการผลิตจะต้องหยุดชะงัก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากต่อบริษัทเป็นอย่างมาก
เดิมในปี 2545 ท่าอากาศเมมฟิสซึ่งเป็นฐานของสายการบินขนส่งสินค้า FedEx นับเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากที่สุดในโลก รองลงมา คือ ท่าอากาศยานเช็คเล็ปก๊อกของฮ่องกง ท่าอากาศยานนาริตะของกรุงโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแองเจลิส ท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ ท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ และท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ ตามลำดับ
สำหรับสถิติล่าสุดในปี 2549 ท่าอากาศเมมฟิสและ
ท่าอากาศยานเช็คเล็ปก๊อกของฮ่องกงยังคงครองตำแหน่งอันดับ 1 และ 2 ของโลกต่อไปอีก ขณะที่ท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ กำลังมาแรง โดยก้าวขึ้นจากอันดับ 5 ในปี 2545 มาเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยก้าวกระโดดจากอันดับ 6 มาเป็นอันดับ 4 ของโลก
ขณะเดียวกันหลายท่าอากาศยานได้ตกอันดับไปมาก โดยเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติของนครลอสแองเจลิสได้ร่วงจากอันดับ 4 ในปี 2545 เป็นอันดับ 11 ของโลก ส่วนท่าอากาศยานนาริตะได้ร่วงลงเช่นเดียวกันจากอันดับ 3 เป็นอันดับ 5 ของโลก ท่าอากาศยาน JFK ของนครนิวยอร์กได้ตกลงจากอันดับ 6 ของโลก เป็นอันดับที่ 14 ของโลก และท่าอากาศยานฮีทโธรว์จากอันดับที่ 15 มาเป็นอันดับที่ 18 ของโลก โดยท่าอากาศยานเหล่านี้มีปัญหาคล้ายคลึงกัน คือ ความสามารถของรันเวย์ในการรับการขึ้นลงของเครื่องบินจำกัด จึงมุ่งเน้นเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารมากกว่าเครื่องบินบรรทุกสินค้าแบบ Freighter
สำหรับในอนาคตนั้น ท่าอากาศยานของฮ่องกงซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เนื่องจากท่าอากาศยานของประเทศจีนที่อยู่ใกล้เคียงจะแย่งลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะท่าอากาศยานแห่งใหม่ของนครกวางโจว ซึ่งกำลังจะกลายเป็นฐานลอจิสติกส์สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของบริษัท FedEx ในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณว่าท่าอากาศยานฮ่องกงซึ่งเดิมครองตลาดการขนถ่ายสินค้าทางอากาศของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน เป็นสัดส่วนมากถึง 90% คาดว่าส่วนแบ่งตลาดจะลดลงเหลือเพียง 50% ภายในปี 2563 โดยที่เหลือจะขนถ่ายผ่านท่าอากาศยานอื่นๆ ของจีน โดยเฉพาะท่าอากาศยานของนครกวางโจว 29% และท่าอากาศยานของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นอีก 17%
ขณะที่ท่าอากาศยานผู่ตงกำลังมาแรง กล่าวคือ เดิมในปี 2548 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 8 ของโลก แต่ในปี 2549 ได้แซงหน้าท่าอากาศยาน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนีและท่าอากาศยานลอสแองเจลิสของสหรัฐฯ กลายเป็นท่าอากาศยานขนส่งสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีแนวโน้มสูงว่าในอนาคตจะแซงหน้าท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ และท่าอากาศยานนาริตะของกรุงโตเกียว กลายเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
ส่วนท่าอากาศยานปักกิ่งก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านลอจิสติกส์ กล่าวคือ เดิมในปี 2548 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 24 ของโลก และในปี 2549 แซงหน้าท่าอากาศยานรวดเดียวมากถึง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอินเดียนาโปลิส ท่าอากาศยาน Newark ท่าอากาศยานคันไซ และท่าอากาศยานฮาเนดะ ขึ้นเป็นอันดับ 20 ของโลก และคาดว่าจะแซงหน้าท่าอากาศยานฮีทโธรว์ของกรุงลอนดอน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทย ขึ้นเป็นอันดับ 18 ของโลกในอนาคตอันใกล้
สำหรับท่าอากาศยานไป่หยุนของนครกวางโจวก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากอันดับ 26 ของโลกในปี 2548 แซงหน้าท่าอากาศยานแอตแลนตาของสหรัฐฯ ขึ้นเป็นอันดับที่ 25 ในปี 2549 และคาดว่าจะแซงหน้าท่าอากาศยานคันไซของนครโอซากาและท่าอากาศยานฮาเดดะของกรุงโตเกียวขึ้นเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ในอนาคตอันใกล้
ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการเปิดศูนย์ลอจิสติกส์ของบริษัท FedEx ที่ท่าอากาศยานไป่หยุนในปี 2551 ก็มีแนวโน้มสูงว่าในอนาคตจะแซงหน้าท่าอากาศยานอีก 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอินเดียนาโปลิสของสหรัฐฯ และท่าอากาศยาน Newark ของสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเป็นอันดับที่ 21 ของ
อันดับ | สายการบิน | เมือง | ประเทศ | ปริมาณขนถ่ายสินค้า(ตัน) |
1 | ท่าอากาศยานนานาชาตินครเมมฟิส | เมมฟิส | สหรัฐฯ | 3,692,081 |
2 | ท่าอากาศยานนานาชาติเช็กแลปก๊อก | ฮ่องกง | จีน | 3,609,780 |
3 | ท่าอากาศยานเท็ดสตีเวน | แอนชอเรจ | สหรัฐฯ | 2,691,395 |
4 | ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน | อินชอน | เกาหลีใต้ | 2,336,572 |
5 | ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ | โตเกียว | ญี่ปุ่น | 2,280,830 |
6 | ท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตง | เซี่ยงไฮ้ | จีน | 2,168,122 |
7 | ท่าอากาศยานชาร์สเดอโกลล์ | ปารีส | ฝรั่งเศส | 2,130,724 |
8 | ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต | แฟรงก์เฟิร์ต | เยอรมนี | 2,127,646 |
9 | ท่าอากาศยานนานาชาติหลุยส์วิลล์ | หลุยส์วิลล์ | สหรัฐฯ | 1,983,032 |
10 | ท่าอากาศยานนานาชาติชางกี | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | 1,931,881 |
11 | ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแองเจลิส | ลอสแองเจลิส | สหรัฐฯ | 1,907,497 |
12 | ท่าอากาศยานนานาชาติไมอามี | ไมอามี | สหรัฐฯ | 1,830,591 |
13 | ท่าอากาศยานนานาชาติเตาหยวน | ไทเป | ไต้หวัน | 1,698,808 |
14 | ท่าอากาศยานนานาชาติ JFK | นิวยอร์ก | สหรัฐฯ | 1,636,357 |
15 | ท่าอากาศยานนานาชาติ Schiphol | อัมสเตอร์ดัม | เนเธอร์แลนด์ | 1,566,828 |
16 | ท่าอากาศยาน O’hare | ชิคาโก | สหรัฐฯ | 1,558,235 |
17 | ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ | ดูไบ | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1,503,697 |
18 | ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ | ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | 1,343,930 |
19 | ท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ | กรุงเทพมหานคร | ไทย | 1,181,814 |
20 | ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง | ปักกิ่ง | จีน | 1,028,909 |
ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ (ได้เปลี่ยนจากท่าอากาศยานดอนเมืองมาเป็นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อปลายเดือนกันยายน 2549) แม้มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 956,790 ตัน ในปี 2545 เป็น 1.2 ล้านตัน ในปี 2549 แต่ได้ร่วงลงมา 2 อันดับ คือ จากอันดับ 17 ในปี 2545 เป็นอันดับ 19 ของโลก ในปี 2549 เนื่องจากถูกท่าอากาศยานผู่ตงของนครเซี่ยงไฮ้และท่าอากาศยานดูไบแซงหน้าขึ้นไป
สำหรับในอนาคต คาดหมายว่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะร่วงลงต่อไปอีก 2 อันดับ กล่าวคือ กลายเป็นอันดับ 20 ของโลก เนื่องจากกำลังจะถูกท่าอากาศยานนานาชาติของกรุงปักกิ่งแซงหน้าขึ้นไปอีก 1 ราย
สุดท้ายนี้ การแข่งขันระหว่างท่าอากาศยานต่างๆ เพื่อแย่งกันเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศนั้นเป็นไปอย่างเข้มข้นกว่าการแข่งขันเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายผู้โดยสาร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น บรรดาผู้ใช้บริการจะไม่สนใจว่าสายการบินจะขนส่งผ่านท่าอากาศยานแห่งใด ขอให้เพียงขนส่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยมีต้นทุนต่ำและภายในเวลาที่กำหนดก็เพียงพอแล้ว แตกต่างจากการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องการใช้ท่าอากาศยานแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีขนส่งพัสดุภัณฑ์จากนครฟิลาเดลเฟียมายังกรุงเทพมหานคร จะส่งผ่านสถานที่คัดแยกพัสดุภัณฑ์แห่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยานเช็กแลปก๊อกของฮ่องกงหรือท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจ
จากเหตุผลข้างต้น ท่าอากาศยานใดที่เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศจะมีความเสี่ยงในการสูญเสียธุรกิจสูงกว่าท่าอากาศยานทั่วไป เป็นต้นว่า เมื่อบริษัท UPS ได้ซื้อกิจการของบริษัท Menlo Worldwide Forwarding/Emery Air Freight และได้ตัดสินใจยกเลิกศูนย์ลอจิสติกส์ของกิจการส่วนนี้ที่ตั้งในท่าอากาศยาน Dayton ทำให้ปริมาณการขนถ่ายสินค้าที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ในปี 2550 ลดลงมากถึง 97%
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th