รักษาการประธาน คมช.ปัดคุย “หญิงอ้อ” ระบุไม่ใช่หน้าที่ เมื่อกลับมาสู้คดีก็ต้องไปคุยกับทนายความ ส่วนการดูแลการเลือกตั้งซ่อมให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการก่อน ด้าน “อนุพงษ์” ไม่สน พปช.แจ้งตำรวจจับ ผบ.ร.1 สั่งทหารเลือก ปชป. ระบุเป็นเรื่องส่วนตัว “สมเจตน์” แฉลงพื้นที่บุรีรัมย์พบเป้าหมายม็อบหวังชะลอคดีทุจริตให้แกนนำอำนาจเก่า สั่งตำรวจสอบ จนท.รัฐใช้รถราชการขนม็อบ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับเข้าประเทศ และระบุพร้อมที่จะคุยกับทุกฝ่ายว่า ขณะนี้ คมช.ยังไม่มีการพูดคุยกับคุณหญิงพจมานแต่อย่างใด และเห็นว่าการกลับเข้ามาประเทศไทย เป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่ภาระของ คมช. ถ้าจะมีการพูดคุย คงต้องคุยกับทนายความ ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้นคุณหญิงพจมาน อาจเข้ามาเกี่ยวข้องได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเกี่ยวข้องไม่ได้ จึงต้องระวัง เพราะผิดกฎหมาย
ส่วนความห่วงใยในการจัดการเลือกตั้งใหม่ ในพื้นที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจกใบเหลือง - ใบแดงนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช.และกองทัพอากาศ ไม่มีส่วนเข้าไปควบคุมกำกับการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดูแลความสะดวก รวมถึงเจ้าหน้าที่ กกต.แต่ละจังหวัดเป็นผู้ทำหน้าที่ ซึ่งการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นไม่น่าหนักใจอะไร เพราะคนทำหน้าที่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้อง และดีที่สุดเพื่อประเทศ ซึ่งคิดว่า ปัจจัยเรื่องใบเหลือง - ใบแดง ไม่น่าจะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะหากใครสร้างความวุ่นวายแสดงว่าไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งประชาชนและกลุ่มพลังเงียบน่าจะประณาม แต่ขณะนี้ยังไม่มีกระแสข่าวที่จะมีกลุ่มคนมาสร้างความวุ่นวายในช่วงเลือกตั้งใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าทหารพร้อมหรือไม่หากได้รับการร้องขอให้เข้าไปดูแล เรื่องการเลือกตั้ง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นภาระของแต่ละจังหวัด ส่วนตัวเห็นว่า ถ้ากระทรวงมหาดไทยหรือครูในพื้นที่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ใช้บุคคลเหล่านี้ก่อนน่าจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า ทหารเข้าไปแทรกแซง หรือติดตามผลงาน เว้นแต่บางภาระหน้าที่ที่พลเรือนไม่สามารถทำได้ ร้องขอทหารมา ก็พร้อมเข้าไปดูแล แต่หากให้ทหารไปช่วยดูแลการเลือกตั้งซ่อมเราก็พร้อม และคิดว่าการเลือกตั้งซ่อมไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช สมาชิกพรรคพลังประชาชน เข้าแจ้งความดำเนินคดี กับ พ.ท.พลศักดิ์ ศรีเพ็ญ ผบ.ร.1 พัน.3 รอ. กรณีที่พูดชักจูงให้กำลังพลเลือกพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นเรื่องของ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ ต้องไปถามท่าน เพราะท่านไปเป็นการส่วนตัว ส่วนกองทัพ ได้ทำตามหลักการแล้ว สามารถดำเนินการได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่จะไม่มีการออกมาปกป้อง
ส่วนกรณีที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ คมช. เดินทางลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เนื่องจากมีเรื่องความวุ่นวายและมีการกดดัน กกต. พล.อ.สมเจตน์ จึงได้ลงไปหาข้อมูลว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่โดยหลักการทั่วไปเป็นหน้าที่ของ กกต.โดยตรง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการลงพื้นที่ของ พล.อ.สมเจตน์ ยังไม่มีการพูดคุยในส่วนนั้น แต่คงจะมีการพูดคุยกันในการประชุม คมช.สัปดาห์หน้า
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอมกล่าวว่า จากการที่ตนได้ลงไปในพื้นที่จ.บุรีรัมย์ พบว่า แกนนำม็อบส่วนหนึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองเก่า จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้ชักจูงมวลชนมาจากที่ต่างๆโดยมีหลายวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ได้ยื่นหนังสือขับไล่ กกต. 2 คนคือ นายเกษม วัฒนธรรม ประธาน กกต.บุรีรัมย์ และ พ.ต.อ.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล ประธานฝ่ายสืบสวน กกต.บุรีรัมย์ ทั้งที่กกต.มีทั้งหมด 5 คน และการลงมติในจ.บุรีรัมย์ก็มีมติ 5-0 แต่ขับไล่แค่ 2 คน
“เมื่อค้นลงไปลึกพบว่าทั้งสองท่านเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีสำคัญๆของ จ.บุรีรัมย์ 4 คดี ซึ่งคดีพวกนี้เกี่ยวข้องกับตระกูลนักการเมืองใหญ่ในบุรีรัมย์เช่น เรื่องคดีที่ดิน การรุกที่ดินหนองสาคร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าความต้องการให้ กกต.2 ท่านนี้ออก เพื่อให้คดีต่างๆ เหล่านี้ถูกชะลอ เพราะต้องรอคอยคนใหม่เข้ามาดำเนินการ ซึ่งทั้งสองท่านกำลังติดตามผลการดำเนินคดีนี้อย่างเร่งด่วน ทำให้เห็นว่า นอกจากจุดประสงค์เพื่อขับไล่ กกต.แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในเรื่องอื่นๆ อีก ซึ่งจะส่งผลกระทบมาก”
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า คนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีการใช้รถขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการขนคนมาชุมนุม ซึ่งสิ่งต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมาย ตนจึงได้กำชับให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ หากจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อเอาผิดก็จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ในส่วนของแกนนำม็อบที่ดูหมิ่น ข่มขู่ บีบบังคับ กกต.ต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยขอให้ กกต.เป็นเจ้าทุกข์ ในการฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า การที่เราลงไปในพื้นที่ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงการทำงาน ของ กกต. แต่ไปทำให้ กกต.มีความปลอดภัยสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกดดันของใครจึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดชุดไปดูแล ความปลอดภัย กกต. ซึ่งจากสิ่งบอกเหตุต่างๆพอจะวิเคราะห์ได้ว่าอะไรเป็นอะไร
“ม็อบที่กดดัน กกต.เป็นม็อบที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะการชุมนุมมีการตั้งเต้นท์ และมีการบริหารจัดการ ทั้งนี้การนำคนเป็นพันคนมาชุมนุมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยทั่วไปม็อบบริสุทธิ์จะมีประมาณ 10 % นอกจากนั้นจะเป็นม็อบจัดตั้งและม็อบที่ถูกชักจูง ซึ่งขณะนี้เราพอจะรู้แล้วว่านักการเมืองกลุ่มใดที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังม็อบจัดตั้งนี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังมีหลักฐานไม่เพียงพอ ทั้งนี้ตอบไม่ได้ว่าจะมีพิจารณา แจกใบเหลือง ใบแดงเพิ่มในพื้นที่อีสานหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กกต.”
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับเข้าประเทศ และระบุพร้อมที่จะคุยกับทุกฝ่ายว่า ขณะนี้ คมช.ยังไม่มีการพูดคุยกับคุณหญิงพจมานแต่อย่างใด และเห็นว่าการกลับเข้ามาประเทศไทย เป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่ภาระของ คมช. ถ้าจะมีการพูดคุย คงต้องคุยกับทนายความ ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้นคุณหญิงพจมาน อาจเข้ามาเกี่ยวข้องได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเกี่ยวข้องไม่ได้ จึงต้องระวัง เพราะผิดกฎหมาย
ส่วนความห่วงใยในการจัดการเลือกตั้งใหม่ ในพื้นที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจกใบเหลือง - ใบแดงนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช.และกองทัพอากาศ ไม่มีส่วนเข้าไปควบคุมกำกับการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดูแลความสะดวก รวมถึงเจ้าหน้าที่ กกต.แต่ละจังหวัดเป็นผู้ทำหน้าที่ ซึ่งการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นไม่น่าหนักใจอะไร เพราะคนทำหน้าที่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้อง และดีที่สุดเพื่อประเทศ ซึ่งคิดว่า ปัจจัยเรื่องใบเหลือง - ใบแดง ไม่น่าจะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะหากใครสร้างความวุ่นวายแสดงว่าไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งประชาชนและกลุ่มพลังเงียบน่าจะประณาม แต่ขณะนี้ยังไม่มีกระแสข่าวที่จะมีกลุ่มคนมาสร้างความวุ่นวายในช่วงเลือกตั้งใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าทหารพร้อมหรือไม่หากได้รับการร้องขอให้เข้าไปดูแล เรื่องการเลือกตั้ง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นภาระของแต่ละจังหวัด ส่วนตัวเห็นว่า ถ้ากระทรวงมหาดไทยหรือครูในพื้นที่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ใช้บุคคลเหล่านี้ก่อนน่าจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า ทหารเข้าไปแทรกแซง หรือติดตามผลงาน เว้นแต่บางภาระหน้าที่ที่พลเรือนไม่สามารถทำได้ ร้องขอทหารมา ก็พร้อมเข้าไปดูแล แต่หากให้ทหารไปช่วยดูแลการเลือกตั้งซ่อมเราก็พร้อม และคิดว่าการเลือกตั้งซ่อมไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช สมาชิกพรรคพลังประชาชน เข้าแจ้งความดำเนินคดี กับ พ.ท.พลศักดิ์ ศรีเพ็ญ ผบ.ร.1 พัน.3 รอ. กรณีที่พูดชักจูงให้กำลังพลเลือกพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นเรื่องของ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ ต้องไปถามท่าน เพราะท่านไปเป็นการส่วนตัว ส่วนกองทัพ ได้ทำตามหลักการแล้ว สามารถดำเนินการได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่จะไม่มีการออกมาปกป้อง
ส่วนกรณีที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ คมช. เดินทางลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เนื่องจากมีเรื่องความวุ่นวายและมีการกดดัน กกต. พล.อ.สมเจตน์ จึงได้ลงไปหาข้อมูลว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่โดยหลักการทั่วไปเป็นหน้าที่ของ กกต.โดยตรง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการลงพื้นที่ของ พล.อ.สมเจตน์ ยังไม่มีการพูดคุยในส่วนนั้น แต่คงจะมีการพูดคุยกันในการประชุม คมช.สัปดาห์หน้า
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอมกล่าวว่า จากการที่ตนได้ลงไปในพื้นที่จ.บุรีรัมย์ พบว่า แกนนำม็อบส่วนหนึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองเก่า จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้ชักจูงมวลชนมาจากที่ต่างๆโดยมีหลายวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ได้ยื่นหนังสือขับไล่ กกต. 2 คนคือ นายเกษม วัฒนธรรม ประธาน กกต.บุรีรัมย์ และ พ.ต.อ.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล ประธานฝ่ายสืบสวน กกต.บุรีรัมย์ ทั้งที่กกต.มีทั้งหมด 5 คน และการลงมติในจ.บุรีรัมย์ก็มีมติ 5-0 แต่ขับไล่แค่ 2 คน
“เมื่อค้นลงไปลึกพบว่าทั้งสองท่านเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีสำคัญๆของ จ.บุรีรัมย์ 4 คดี ซึ่งคดีพวกนี้เกี่ยวข้องกับตระกูลนักการเมืองใหญ่ในบุรีรัมย์เช่น เรื่องคดีที่ดิน การรุกที่ดินหนองสาคร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าความต้องการให้ กกต.2 ท่านนี้ออก เพื่อให้คดีต่างๆ เหล่านี้ถูกชะลอ เพราะต้องรอคอยคนใหม่เข้ามาดำเนินการ ซึ่งทั้งสองท่านกำลังติดตามผลการดำเนินคดีนี้อย่างเร่งด่วน ทำให้เห็นว่า นอกจากจุดประสงค์เพื่อขับไล่ กกต.แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในเรื่องอื่นๆ อีก ซึ่งจะส่งผลกระทบมาก”
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า คนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีการใช้รถขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการขนคนมาชุมนุม ซึ่งสิ่งต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมาย ตนจึงได้กำชับให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ หากจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อเอาผิดก็จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ในส่วนของแกนนำม็อบที่ดูหมิ่น ข่มขู่ บีบบังคับ กกต.ต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยขอให้ กกต.เป็นเจ้าทุกข์ ในการฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า การที่เราลงไปในพื้นที่ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงการทำงาน ของ กกต. แต่ไปทำให้ กกต.มีความปลอดภัยสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกดดันของใครจึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดชุดไปดูแล ความปลอดภัย กกต. ซึ่งจากสิ่งบอกเหตุต่างๆพอจะวิเคราะห์ได้ว่าอะไรเป็นอะไร
“ม็อบที่กดดัน กกต.เป็นม็อบที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะการชุมนุมมีการตั้งเต้นท์ และมีการบริหารจัดการ ทั้งนี้การนำคนเป็นพันคนมาชุมนุมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยทั่วไปม็อบบริสุทธิ์จะมีประมาณ 10 % นอกจากนั้นจะเป็นม็อบจัดตั้งและม็อบที่ถูกชักจูง ซึ่งขณะนี้เราพอจะรู้แล้วว่านักการเมืองกลุ่มใดที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังม็อบจัดตั้งนี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังมีหลักฐานไม่เพียงพอ ทั้งนี้ตอบไม่ได้ว่าจะมีพิจารณา แจกใบเหลือง ใบแดงเพิ่มในพื้นที่อีสานหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กกต.”