ผลศึกษาหลายชิ้นบ่งชี้ตรงกันว่า ลูกไม้ที่ลิงใช้เพื่อความอยู่รอดในป่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อความสำเร็จของชาวออฟฟิศได้
รายงานชิ้นใหม่ในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์ประจำสัปดาห์นี้ ว่าไว้ว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานคลับคล้ายกับสภาพแวดล้อมในป่าอย่างน่าแปลกใจ เพราะต่างอยู่ในกฎเกณฑ์ของสายการบังคับบัญชาที่เข้มงวด ให้ความสำคัญกับการร่วมมือร่วมแรง และวุ่นวายเพราะการชิงดีชิงเด่น
“ความเสี่ยงของการถูกเทกโอเวอร์แบบปรปักษ์ ตลาดสำหรับการยกย่องและคนโปรด นักฉวยโอกาสไร้ยางอาย และธรรมเนียมปฏิบัติในการประจบสอพลอ ทั้งหมดนี้ทำให้คุณหาทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ในคอกทำงานเล็กกระจิ๋วไม่เจอ”
นิวไซเอนทิสต์แจกแจงกฎของป่า 5 ข้อที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงานได้
“หากคุณกำลังจมปลักอยู่กับการเมืองในที่ทำงาน หรือต้องการเรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการเพื่อนร่วมงานก้าวร้าวหรือเจ้านายไร้เหตุผล เพื่อนของเราในป่าอาจมีมุมมองดีๆ มาบอกเล่าถึงวิธีการอยู่รอดในป่าออฟฟิศ”
นิตยสารฉบับนี้อ้างอิงผลการวิจัยของสหรัฐฯ ที่พบว่าลิงมีอาการไม่สบอารมณ์เมื่อถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเหมือนกันกับคน และกระทั่งชวนกันประท้วงถ้าคิดว่าได้ข้อตกลงที่ไม่เท่าเทียม
ทั้งนี้ นักวิจัยฝึกให้ลิงรู้จักการแลกเปลี่ยนอาหาร ทั้งแตงกว่า ซึ่งถือเป็นระดับพื้นๆ หรือองุ่นที่จัดเป็นรางวัลมีค่า
หากนักวิจัยให้องุ่นแก่ลิงตัวหนึ่ง แต่ให้แตงกวาลิงอีกตัว ทั้งที่ทั้งสองตัวทำสิ่งเดียวกัน สัตว์ที่ถูกปฏิบัติอย่างลำเอียงจะประท้วงด้วยการไม่เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ อีก
นัยในเรื่องนี้ต่อพฤติกรรมในที่ทำงานก็คือ กฎข้อที่ 1 หลีกเลี่ยงการอวดอ้างความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียวทั้งที่เป็นผลงานของทีม
นิวไซเอนทิสต์อธิบายว่า ความสัมพันธ์จะขาดสะบั้นทันทีที่พนักงานยึดโปรเจ็กต์ของเพื่อนร่วมงานมาหาความดีความชอบใส่ตัว นอกจากนั้น พนักงานยังไม่ควรคุยโม้โอ้อวดเรื่องเงินเดือน
กฎข้อที่ 2 คือ นอกจากจะต้องมีเพื่อนร่วมงานเป็นพวกแล้ว การสนับสนุนจากเจ้านายอาจมีความสำคัญกว่า
ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่า ลิง ชิมแปนซี และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่เอาใจจ่าฝูง มักได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องต่อสู้กับตัวอื่น
กฎข้อที่ 3 จากอาณาจักรของสัตว์คือ การรู้จักปล่อยวางความอาฆาตมาดร้าย
หลังการต่อสู้ ชิมแปนซีมักกอดและเลียกัน โลมาว่ายคลอเคลียกัน และแพะใช้จมูกดุนกัน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์ชี้ว่า การปรองดองช่วยลดความเครียดและโอกาสที่อารมณ์จะคุกรุ่นรุนแรงกว่าเก่า
คำแนะนำข้อต่อไปจากพงไพรคือ การทำงานเป็นทีม โดยผลศึกษาระบุว่า ชิมแปนซีชอบกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน สำหรับคนก็คือ การแสดงความเป็นมิตรซึ่งทำได้ง่ายๆ เช่น ซื้อขนมหรือชงชาให้เพื่อนร่วมงาน
แม้แต่เจ้านายก็ไม่มีข้อยกเว้นจากกฎของป่า โดยผลศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ชิมแปนซีบ้าอำนาจต้องต่อสู้ตลอดเวลาเพื่อรักษาตำแหน่งของตัวเองในฝูง ซึ่งหมายถึงระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกฝ่าย
นิวไซเอนทิสต์ปิดท้ายว่า การเป็นเจ้านายที่ดี หรือกฎข้อที่ 5 นั้น คือการรักษาสมดุลระหว่างการควบคุม การเป็นผู้นำ และการเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พนักงาน
รายงานชิ้นใหม่ในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์ประจำสัปดาห์นี้ ว่าไว้ว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานคลับคล้ายกับสภาพแวดล้อมในป่าอย่างน่าแปลกใจ เพราะต่างอยู่ในกฎเกณฑ์ของสายการบังคับบัญชาที่เข้มงวด ให้ความสำคัญกับการร่วมมือร่วมแรง และวุ่นวายเพราะการชิงดีชิงเด่น
“ความเสี่ยงของการถูกเทกโอเวอร์แบบปรปักษ์ ตลาดสำหรับการยกย่องและคนโปรด นักฉวยโอกาสไร้ยางอาย และธรรมเนียมปฏิบัติในการประจบสอพลอ ทั้งหมดนี้ทำให้คุณหาทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ในคอกทำงานเล็กกระจิ๋วไม่เจอ”
นิวไซเอนทิสต์แจกแจงกฎของป่า 5 ข้อที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงานได้
“หากคุณกำลังจมปลักอยู่กับการเมืองในที่ทำงาน หรือต้องการเรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการเพื่อนร่วมงานก้าวร้าวหรือเจ้านายไร้เหตุผล เพื่อนของเราในป่าอาจมีมุมมองดีๆ มาบอกเล่าถึงวิธีการอยู่รอดในป่าออฟฟิศ”
นิตยสารฉบับนี้อ้างอิงผลการวิจัยของสหรัฐฯ ที่พบว่าลิงมีอาการไม่สบอารมณ์เมื่อถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเหมือนกันกับคน และกระทั่งชวนกันประท้วงถ้าคิดว่าได้ข้อตกลงที่ไม่เท่าเทียม
ทั้งนี้ นักวิจัยฝึกให้ลิงรู้จักการแลกเปลี่ยนอาหาร ทั้งแตงกว่า ซึ่งถือเป็นระดับพื้นๆ หรือองุ่นที่จัดเป็นรางวัลมีค่า
หากนักวิจัยให้องุ่นแก่ลิงตัวหนึ่ง แต่ให้แตงกวาลิงอีกตัว ทั้งที่ทั้งสองตัวทำสิ่งเดียวกัน สัตว์ที่ถูกปฏิบัติอย่างลำเอียงจะประท้วงด้วยการไม่เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ อีก
นัยในเรื่องนี้ต่อพฤติกรรมในที่ทำงานก็คือ กฎข้อที่ 1 หลีกเลี่ยงการอวดอ้างความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียวทั้งที่เป็นผลงานของทีม
นิวไซเอนทิสต์อธิบายว่า ความสัมพันธ์จะขาดสะบั้นทันทีที่พนักงานยึดโปรเจ็กต์ของเพื่อนร่วมงานมาหาความดีความชอบใส่ตัว นอกจากนั้น พนักงานยังไม่ควรคุยโม้โอ้อวดเรื่องเงินเดือน
กฎข้อที่ 2 คือ นอกจากจะต้องมีเพื่อนร่วมงานเป็นพวกแล้ว การสนับสนุนจากเจ้านายอาจมีความสำคัญกว่า
ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่า ลิง ชิมแปนซี และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่เอาใจจ่าฝูง มักได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องต่อสู้กับตัวอื่น
กฎข้อที่ 3 จากอาณาจักรของสัตว์คือ การรู้จักปล่อยวางความอาฆาตมาดร้าย
หลังการต่อสู้ ชิมแปนซีมักกอดและเลียกัน โลมาว่ายคลอเคลียกัน และแพะใช้จมูกดุนกัน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์ชี้ว่า การปรองดองช่วยลดความเครียดและโอกาสที่อารมณ์จะคุกรุ่นรุนแรงกว่าเก่า
คำแนะนำข้อต่อไปจากพงไพรคือ การทำงานเป็นทีม โดยผลศึกษาระบุว่า ชิมแปนซีชอบกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน สำหรับคนก็คือ การแสดงความเป็นมิตรซึ่งทำได้ง่ายๆ เช่น ซื้อขนมหรือชงชาให้เพื่อนร่วมงาน
แม้แต่เจ้านายก็ไม่มีข้อยกเว้นจากกฎของป่า โดยผลศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ชิมแปนซีบ้าอำนาจต้องต่อสู้ตลอดเวลาเพื่อรักษาตำแหน่งของตัวเองในฝูง ซึ่งหมายถึงระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกฝ่าย
นิวไซเอนทิสต์ปิดท้ายว่า การเป็นเจ้านายที่ดี หรือกฎข้อที่ 5 นั้น คือการรักษาสมดุลระหว่างการควบคุม การเป็นผู้นำ และการเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พนักงาน