ผู้จัดการรายวัน - บอร์ดทอท.มีมติฟ้องขับไล่คิงเพาเวอร์ออกจากพื้นที่พร้อมเรียกค่าเสียหาย พบสัญญาTAGSบริหารฟรีโซน ทอท.เสียเปรียบ ส่งให้ประทินตรวจสอบข้อเท็จจริงและโยกย้ายผู้ที่เกี่ยวข้อง สั่งทอท.ทำแผนกระจายอำนาจบริหารให้สนามบินภูมิภาคแก้ปัญหาการขาดทุน
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง โฆษกและกรรมการบริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน)(ทอท.)เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการทอท.ที่มีพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานวานนี้(9ม.ค.)ว่า ที่ประชุมมีมติให้ทอท.ดำเนินการฟ้องขับไล่บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และบริษัท คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด และบริวาร ออกจากพื้นที่และเรียกค่าเสียหายตามกฎหมาย โดยให้ประสานกับอัยการผู้รับผิดชอบ
เนื่องจากบอร์ดทอท.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีพล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธาน โดยเห็นว่าการให้สิทธิบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิแก่บริษัทคิงเพาเวอร์ฯ ซึ่งมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทแต่ไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งบอร์ดได้มีมติเพิกถอนมติบอร์ดทอท.ครั้งที่ 5 /2548 เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2548 เนื่องจากเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ คือ 1.ให้ทอท.ดำเนินการแจ้งมติบอร์ดให้บริษัทคิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิทราบ รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้บริษัทคิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิออกจากพื้นที่และชดใช้ค่าเสียหายกับทอท.
2. รายงานมติบอร์ดทอท.ให้กระทรวงคมนาคมทราบ 3. กล่าวโทษต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อพิจารณาดำเนินการผู้ที่เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าการกล่าวโทษต่อป.ป.ช.กรณีบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรีด้วย 4.ดำเนินการทางวินัยและเรียกร้อยต่อผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่ง และ5.ฟ้องขับไล่และเรียกร้องค่าเสียหายต่อคิงเพาเวอร์ฯ
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ทอท.ต้องดำเนินการเนื่องจากอายุความจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2551 หากไม่ดำเนินการก็เท่ากับบอร์ดฯละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ และต้องมีการแจ้งถึงมติบอร์ดในครั้งนี้ เนื่องจากทอท.เป็นรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ส่วนกรณีที่คิงเพาเวอร์ยื่นศาลขอความคุ้มครองในการใช้พื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร บอร์ดไม่ได้หารือในประเด็นนี้ เพราะถือว่าเรื่องอยู่ในชั้นศาล ต้องรอคำวินิจฉัยในวันที่ 31 ม.ค.2551 และสิ่งที่บอร์ดทำเป็นการกระทำตามกระบวนการ ซึ่งผลการสอบสวนพบว่าเรื่องนี้มีความผิดจริง
นอกจากนี้ ประเด็นความปลอดภัยอาคารผู้โดยสาร นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)ได้ส่งรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับร้านค้าที่บดบังทางหนีไฟมายังทอท.แล้ว ดังนั้นบอร์ดได้มีคำสั่งให้ทอท.ดำเนินการแก้ไขตามที่วสท.แนะนำ โดยจะไม่มีการละเว้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
นายเจิมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า บอร์ดได้มีมติในเรื่องสัญญาการบริหารคลังสินค้าปลอดอากร หรือฟรีโซน สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งบริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิส (TAGS) เป็นผู้รับสัมปทาน โดยพบว่าในสัญญาดังกล่าวทอท.มีการจ่ายเงินค่าจ้างกับTAGS เกินเนื้องานจริง คิดเป็นค่าใช้จ่าย 21 ล้านบาทต่อเดือน โดยจ่ายมาตั้งแต่สนามบินเปิดให้บริการ ในขณะที่TAGS ไม่มีผลงาน และยังพบว่าTAGS ยังมีการให้เช่าพื้นที่ทำสัญญาขายอาหารโดยไม่มีสิทธิ์ในการให้เช่า ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้ทอท.รับรองแผนงานตามที่TAGS เสนอเฉพาะที่เป็นไปได้และปฏิบัติได้จริงเท่านั้น หากพบว่ากระทำผิดสัญญาก็ให้บอกเลิกสัญญาได้ รวมทั้งให้ขายหุ้นTAGS จำนวน 28%ที่ทอท.ถืออยู่ให้หมด พร้อมกับส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีพล.ต.อ.ประทินเป็นธาน ความไม่ถูกต้อง โดยระหว่างนี้ให้ดำเนินการโยกย้ายผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ทอท.ที่มีส่วนเกี่ยวกับข้องกับสัญญาTAGS ออกไปก่อน
นายเชาวลิต เศรษฐเมธีกุล กรรมการทอท. กล่าวว่า สัญญาที่ทอท.ทำกับTAGS พบว่าทอท.ต้องจ่ายเงินให้TAGSมากกว่าเนื้องานที่เกิดขึ้น และTAGS ยังดำเนินการให้เหมาช่วงทั้งๆที่สัญญาห้ามไว้ นอกจากนี้สัญญายังกำหนดให้ทอท.จ่ายเงินให้TAGS 16.5%ของค่าบริหารจัดการที่เกิดขึ้น ซึ่งอัยการเคยติงว่าสัญญาดังกล่าวทอท.เสียเปรียบ แต่เพื่อความชัดเจน บอร์ดต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นานเพราะเบื้องต้นบอร์ดตรวจพบความไม่ชอบมาพากลอยู่
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า จากการที่บอร์ดได้ตรวจเยี่ยมสนามบินเชียงรายและเชียงใหม่ พบว่า สนามบินเชียงรายประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมาก เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า และมีการจ่ายเงินเดือนและโบนัสให้พนักงานสูง ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างการบริหารงานของทอท. ดังนั้น ได้ให้ทอท.ทำแผนการเพิ่มรายได้และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ส่วนสนามบินเชียงใหม่พบว่ามีกำไรลดลง ซึ่งมีสาเหตุเช่นเดียวกับสนามบินเชียงราย ดังนั้น บอร์ดเห็นว่าการบริหารจัดการสนามบินภูมิภาคมีการกระจุกตัวจากส่วนกลางมากเกินไป จึงให้ทำแผนเพื่อกระจายอำนาจการบริหารให้ผู้บริหารสนามบินภูมิภาคได้มีการตัดสินใจได้มากขึ้นภายใต้มาตรฐานที่ส่วนกลางเป็นผู้กำหนด
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง โฆษกและกรรมการบริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน)(ทอท.)เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการทอท.ที่มีพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานวานนี้(9ม.ค.)ว่า ที่ประชุมมีมติให้ทอท.ดำเนินการฟ้องขับไล่บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และบริษัท คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด และบริวาร ออกจากพื้นที่และเรียกค่าเสียหายตามกฎหมาย โดยให้ประสานกับอัยการผู้รับผิดชอบ
เนื่องจากบอร์ดทอท.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีพล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธาน โดยเห็นว่าการให้สิทธิบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิแก่บริษัทคิงเพาเวอร์ฯ ซึ่งมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทแต่ไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งบอร์ดได้มีมติเพิกถอนมติบอร์ดทอท.ครั้งที่ 5 /2548 เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2548 เนื่องจากเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ คือ 1.ให้ทอท.ดำเนินการแจ้งมติบอร์ดให้บริษัทคิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิทราบ รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้บริษัทคิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิออกจากพื้นที่และชดใช้ค่าเสียหายกับทอท.
2. รายงานมติบอร์ดทอท.ให้กระทรวงคมนาคมทราบ 3. กล่าวโทษต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อพิจารณาดำเนินการผู้ที่เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าการกล่าวโทษต่อป.ป.ช.กรณีบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรีด้วย 4.ดำเนินการทางวินัยและเรียกร้อยต่อผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่ง และ5.ฟ้องขับไล่และเรียกร้องค่าเสียหายต่อคิงเพาเวอร์ฯ
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ทอท.ต้องดำเนินการเนื่องจากอายุความจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2551 หากไม่ดำเนินการก็เท่ากับบอร์ดฯละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ และต้องมีการแจ้งถึงมติบอร์ดในครั้งนี้ เนื่องจากทอท.เป็นรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ส่วนกรณีที่คิงเพาเวอร์ยื่นศาลขอความคุ้มครองในการใช้พื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร บอร์ดไม่ได้หารือในประเด็นนี้ เพราะถือว่าเรื่องอยู่ในชั้นศาล ต้องรอคำวินิจฉัยในวันที่ 31 ม.ค.2551 และสิ่งที่บอร์ดทำเป็นการกระทำตามกระบวนการ ซึ่งผลการสอบสวนพบว่าเรื่องนี้มีความผิดจริง
นอกจากนี้ ประเด็นความปลอดภัยอาคารผู้โดยสาร นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)ได้ส่งรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับร้านค้าที่บดบังทางหนีไฟมายังทอท.แล้ว ดังนั้นบอร์ดได้มีคำสั่งให้ทอท.ดำเนินการแก้ไขตามที่วสท.แนะนำ โดยจะไม่มีการละเว้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
นายเจิมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า บอร์ดได้มีมติในเรื่องสัญญาการบริหารคลังสินค้าปลอดอากร หรือฟรีโซน สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งบริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิส (TAGS) เป็นผู้รับสัมปทาน โดยพบว่าในสัญญาดังกล่าวทอท.มีการจ่ายเงินค่าจ้างกับTAGS เกินเนื้องานจริง คิดเป็นค่าใช้จ่าย 21 ล้านบาทต่อเดือน โดยจ่ายมาตั้งแต่สนามบินเปิดให้บริการ ในขณะที่TAGS ไม่มีผลงาน และยังพบว่าTAGS ยังมีการให้เช่าพื้นที่ทำสัญญาขายอาหารโดยไม่มีสิทธิ์ในการให้เช่า ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้ทอท.รับรองแผนงานตามที่TAGS เสนอเฉพาะที่เป็นไปได้และปฏิบัติได้จริงเท่านั้น หากพบว่ากระทำผิดสัญญาก็ให้บอกเลิกสัญญาได้ รวมทั้งให้ขายหุ้นTAGS จำนวน 28%ที่ทอท.ถืออยู่ให้หมด พร้อมกับส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีพล.ต.อ.ประทินเป็นธาน ความไม่ถูกต้อง โดยระหว่างนี้ให้ดำเนินการโยกย้ายผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ทอท.ที่มีส่วนเกี่ยวกับข้องกับสัญญาTAGS ออกไปก่อน
นายเชาวลิต เศรษฐเมธีกุล กรรมการทอท. กล่าวว่า สัญญาที่ทอท.ทำกับTAGS พบว่าทอท.ต้องจ่ายเงินให้TAGSมากกว่าเนื้องานที่เกิดขึ้น และTAGS ยังดำเนินการให้เหมาช่วงทั้งๆที่สัญญาห้ามไว้ นอกจากนี้สัญญายังกำหนดให้ทอท.จ่ายเงินให้TAGS 16.5%ของค่าบริหารจัดการที่เกิดขึ้น ซึ่งอัยการเคยติงว่าสัญญาดังกล่าวทอท.เสียเปรียบ แต่เพื่อความชัดเจน บอร์ดต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นานเพราะเบื้องต้นบอร์ดตรวจพบความไม่ชอบมาพากลอยู่
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า จากการที่บอร์ดได้ตรวจเยี่ยมสนามบินเชียงรายและเชียงใหม่ พบว่า สนามบินเชียงรายประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมาก เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า และมีการจ่ายเงินเดือนและโบนัสให้พนักงานสูง ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างการบริหารงานของทอท. ดังนั้น ได้ให้ทอท.ทำแผนการเพิ่มรายได้และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ส่วนสนามบินเชียงใหม่พบว่ามีกำไรลดลง ซึ่งมีสาเหตุเช่นเดียวกับสนามบินเชียงราย ดังนั้น บอร์ดเห็นว่าการบริหารจัดการสนามบินภูมิภาคมีการกระจุกตัวจากส่วนกลางมากเกินไป จึงให้ทำแผนเพื่อกระจายอำนาจการบริหารให้ผู้บริหารสนามบินภูมิภาคได้มีการตัดสินใจได้มากขึ้นภายใต้มาตรฐานที่ส่วนกลางเป็นผู้กำหนด