ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทยานสูงถึง 100 ดอลลาร์ สรอ. ต้อนรับปีใหม่เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม 2551 เป็นการส่งสัญญานถึงยุคข้าวยากหมากแพง สำหรับประเทศที่นำเข้าน้ำมันอย่างไทย และอาจเห็นราคาน้ำมันเบนซิน 95 ราคา 35 บาทเร็วๆนี้ก็เป็นได้ แต่ที่คงได้เห็นค่อนข้างแน่นอนก็คือภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และดอกเบี้ยที่ต้องขยับขึ้นเพื่อต้านเงินเฟ้อ
เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น คนที่มีหนี้อยู่แล้ว อย่างน้อยภาระหนี้ที่เป็นดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น หนี้โดยรวมจะเพิ่มขึ้น หากการบริหารธุรกิจ ที่ไม่ได้จัดการความเสี่ยงเรื่องนี้ไว้ ธุรกิจอาจมีปัญหาเรื่องการเงินจนกลายเป็นเอ็นพีแอลได้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลายแห่งคงเคยได้บทเรียนจาควิกฤตเศรษฐกิจคราวที่แล้ว คงจะเอาตัวรอด แต่หนี้ภาคครัวเรือนที่คนระดับรากหญ้าหรือระดับฐานรากของสังคมเป็นส่วนใหญ่นั้นยังน่าห่วงอยู่มาก
หนี้ภาคเกษตรกรที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนฟื้นฟูเกษตรฯยังไม่เคยมีรัฐบาลใดแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จสักที เป็นปัญหาซ้ำซากมาหลายปีแล้ว เดินขบวนมาร้องเรียนก็หลายครั้งแล้ว ผลออกมาก็ไม่เป็นรูปธรรม และไม่นำพาไปปฎิบัติให้เกิดความพอใจได้ ดังนั้น ใครมาเป็นรัฐบาลควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งนอกจากจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้แล้ว ยังเป็นการตอบแทนความไว้วางใจให้มาบริหารประเทศด้วย
นอกจากเกษตรกรแล้ว ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนที่จนยังอยู่ในหลายกลุ่มหลายอาชีพที่อยู่ในเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องด้รับการช่วยเหลือทั้งในรูปการให้เปล่าและการส่งเสริมและสนับสนุนให้ช่วยตนเองได้อย่างยั่งยืนจนหลุดจากวงจรการเป็นหนี้ อาทิ ผู้ดำเนินธุรกิจเองที่ไม่ใช่เกษตรกร ลูกจ้าง แรงงาน และผู้ไม่ได้ปฏิบิติงานเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้น
จากการสำรวจหนี้ภาคครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจทุกสองปีพบว่า กลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นในปี 2547 มีหนี้สินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนถึง 104,457 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 12.6 ในจำนวนหนี้ดังกล่าวมีอัตราเพิ่มมากที่สุดในภาคเหนือ (ร้อยละ 28.4) รองลงไปคือภาคกลาง (ร้อยละ 22.9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 12.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 10) ตามลำดับ ในขณะที่หนี้สินต่อครัวเรือนในกรุงเทพฯ(รวม นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ) ลดลง
ในจำนวนหนี้ 104,457 บาท ดังกล่าว เป็นหนี้ที่เกิดจากการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนมากที่สุด (68,747 บาท) รองลงไป เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ไปทำการเกษตร (16,952 บาท) เพื่อใช้ทำธุระกิจที่ไม่ใช่เกษตร (15,888 บาท) และธุรกิจอื่นๆ (2,986 บาท) ตามลำดับ
อนึ่ง จาการสำรวจหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อเดือน สิงหาคม 2550 พบว่า หนี้ภาคครัวเรือนของไทยยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละครอบครัวมีภาระหนี้เฉลี่ย 132,000 บาท สูงขึ้นจากปี 2549 ที่อยู่ที่ 116,840 บาท แยกเป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงิน ร้อยละ 67.8 และหนี้นอกระบบ ร้อยละ 32.2 นอกจากนั้นยังพบว่า คนที่มีรายได้ 30,000-40,000 บาท จะมีภาระหนี้มาก ขณะที่คนที่มีรายได้ 90,000 บาทขึ้นไปจะมีภาระหนี้ค่อนข้างน้อย โดยเงินที่กู้ส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ไม่ได้นำไปลงทุนให้กอ่เกิดรายได้แต่อย่างใด หนี้ก็จะพอกพูนจนอาจเกินกำลังที่จะชำระหนี้ได้
วิบากกรรมการที่มีชีวิตอยู่ในวังวนและวัฏจักรหนี้ของคนจนที่เคยได้รับชื่อต่างๆนานาตั้งแต่ กระดูกสันหลังของชาติ รากหญ้า และฐานรากในปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และจริงจังของทุกฝ่ายแล้ว ยากที่ คนกลุ่มฐานรากจะพึ่งพิงได้ แนวโน้มที่จะเห็นภาระหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆคงอีกยาวไกล ซึ่งจะทำให้ปัญหาเกี่ยวเนื่องอื่นๆจะตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น คนที่มีหนี้อยู่แล้ว อย่างน้อยภาระหนี้ที่เป็นดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น หนี้โดยรวมจะเพิ่มขึ้น หากการบริหารธุรกิจ ที่ไม่ได้จัดการความเสี่ยงเรื่องนี้ไว้ ธุรกิจอาจมีปัญหาเรื่องการเงินจนกลายเป็นเอ็นพีแอลได้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลายแห่งคงเคยได้บทเรียนจาควิกฤตเศรษฐกิจคราวที่แล้ว คงจะเอาตัวรอด แต่หนี้ภาคครัวเรือนที่คนระดับรากหญ้าหรือระดับฐานรากของสังคมเป็นส่วนใหญ่นั้นยังน่าห่วงอยู่มาก
หนี้ภาคเกษตรกรที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนฟื้นฟูเกษตรฯยังไม่เคยมีรัฐบาลใดแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จสักที เป็นปัญหาซ้ำซากมาหลายปีแล้ว เดินขบวนมาร้องเรียนก็หลายครั้งแล้ว ผลออกมาก็ไม่เป็นรูปธรรม และไม่นำพาไปปฎิบัติให้เกิดความพอใจได้ ดังนั้น ใครมาเป็นรัฐบาลควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งนอกจากจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้แล้ว ยังเป็นการตอบแทนความไว้วางใจให้มาบริหารประเทศด้วย
นอกจากเกษตรกรแล้ว ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนที่จนยังอยู่ในหลายกลุ่มหลายอาชีพที่อยู่ในเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องด้รับการช่วยเหลือทั้งในรูปการให้เปล่าและการส่งเสริมและสนับสนุนให้ช่วยตนเองได้อย่างยั่งยืนจนหลุดจากวงจรการเป็นหนี้ อาทิ ผู้ดำเนินธุรกิจเองที่ไม่ใช่เกษตรกร ลูกจ้าง แรงงาน และผู้ไม่ได้ปฏิบิติงานเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้น
จากการสำรวจหนี้ภาคครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจทุกสองปีพบว่า กลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นในปี 2547 มีหนี้สินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนถึง 104,457 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 12.6 ในจำนวนหนี้ดังกล่าวมีอัตราเพิ่มมากที่สุดในภาคเหนือ (ร้อยละ 28.4) รองลงไปคือภาคกลาง (ร้อยละ 22.9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 12.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 10) ตามลำดับ ในขณะที่หนี้สินต่อครัวเรือนในกรุงเทพฯ(รวม นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ) ลดลง
ในจำนวนหนี้ 104,457 บาท ดังกล่าว เป็นหนี้ที่เกิดจากการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนมากที่สุด (68,747 บาท) รองลงไป เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ไปทำการเกษตร (16,952 บาท) เพื่อใช้ทำธุระกิจที่ไม่ใช่เกษตร (15,888 บาท) และธุรกิจอื่นๆ (2,986 บาท) ตามลำดับ
อนึ่ง จาการสำรวจหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อเดือน สิงหาคม 2550 พบว่า หนี้ภาคครัวเรือนของไทยยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละครอบครัวมีภาระหนี้เฉลี่ย 132,000 บาท สูงขึ้นจากปี 2549 ที่อยู่ที่ 116,840 บาท แยกเป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงิน ร้อยละ 67.8 และหนี้นอกระบบ ร้อยละ 32.2 นอกจากนั้นยังพบว่า คนที่มีรายได้ 30,000-40,000 บาท จะมีภาระหนี้มาก ขณะที่คนที่มีรายได้ 90,000 บาทขึ้นไปจะมีภาระหนี้ค่อนข้างน้อย โดยเงินที่กู้ส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ไม่ได้นำไปลงทุนให้กอ่เกิดรายได้แต่อย่างใด หนี้ก็จะพอกพูนจนอาจเกินกำลังที่จะชำระหนี้ได้
วิบากกรรมการที่มีชีวิตอยู่ในวังวนและวัฏจักรหนี้ของคนจนที่เคยได้รับชื่อต่างๆนานาตั้งแต่ กระดูกสันหลังของชาติ รากหญ้า และฐานรากในปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และจริงจังของทุกฝ่ายแล้ว ยากที่ คนกลุ่มฐานรากจะพึ่งพิงได้ แนวโน้มที่จะเห็นภาระหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆคงอีกยาวไกล ซึ่งจะทำให้ปัญหาเกี่ยวเนื่องอื่นๆจะตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด