ผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์" เผย 6 เดือนหลังปี 2550 อียูตรวจพบอาหารไม่ปลอดภัยจากไทย 29 รายการ ทั้งสินค้าปศุสัตว์ ประมง และพืชผัก โดยตรวจพบสารเคมีตกค้าง และเชื้อจุลินทรีย์ เตือนผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ทำให้ถูกต้องตามกำหนด
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในระหว่างเดือนก.ค.-ธ.ค.2550 สหภาพยุโรป (อียู) ได้ตรวจพบสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยส่งออกมายังอียูไม่ผ่านมาตรฐานสุขอนามัยทั้งสิ้น 29 รายการ แบ่งเป็นสินค้าปศุสัตว์ 2 รายการ สินค้าประมง 5 รายการ และสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 22 รายการ โดยสินค้าพืช และผลิตภัณฑ์ของพืชยังคงเป็นประเภทสินค้าที่มีการตรวจพบมากที่สุด ส่วนประเทศสมาชิกที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร และฟินแลนด์ ส่วนมากเป็นการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ และสารปราบศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
สำหรับสินค้าปศุสัตว์ ที่ตรวจพบ 2 รายการ ประกอบด้วย เบลเยียมตรวจพบการลักลอบนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ที่มิได้รับอนุญาตให้นำเข้าอียู และสหราชอาณาจักรตรวจพบเอนเทโรแบคทีเรียในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในของขบเคี้ยวสำหรับสุนัข ส่วนสินค้าประมง ที่ตรวจพบ 5 รายการ ประกอบด้วย เบลเยียมตรวจพบยารักษาโรคสัตว์ไนโตรฟูแรนตกค้าง ในสินค้ากุ้งก้ามกราม 2 ครั้ง สหราชอาณาจักร ตรวจพบสาร Leucomalachite Green ในสินค้าปลาดุกแช่แข็ง ในปริมาณที่เกินกว่ากำหนด กรีซ ตรวจพบสารฮีสตามีนในสินค้าปลาทูนากระป๋อง และปลาแมคเคอเรลกระป๋อง ในปริมาณมากกว่าที่กำหนด สหราชอาณาจักรตรวจพบสิ่งปลอมปนในสินค้าปลาเค็มแห้ง
ขณะที่สินค้าพืช และผลิตภัณฑ์จากพืช มีการตรวจพบ 22 รายการ เช่น นอร์เวย์ ตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในผักกะเพรา เยอรมนี ตรวจพบสาร DINP ในฝาขวดแก้วบรรจุเครื่องแกงแดง ฟินแลนด์ ตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในผักชี เดนมาร์ค ตรวจพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งคาดว่าจะมาจากเชื้อชิเกลลา ซอนนี ในข้าวโพดอ่อน นอร์เวย์ ตรวจพบเชื้อซาโมเนลลาในดอกสะเดา สหราชอาณาจักรตรวจพบสารคาร์โบฟูแรน ในถั่วฝักยาว เยอรมนี ตรวจพบสาร DINP ในฝาขวดแก้วบรรจุเครื่องแกงต้มยำ นำเข้าผ่านเนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ตรวจพบเชื้อซาโมเนลลาในผักหลายชนิด อิตาลีตรวจพบสารกันบูดในหน่อไม้ดองกระป๋อง เป็นต้น สำหรับในปี 49
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ ขอเตือนผู้ผลิต ผู้ส่งออก ต้องทำให้ถูกต้องตามสุขอนามัย และอย่าให้มีสารตกค้างเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพื่อป้องกันการถูกปฏิเสธการนำเข้า และเสียตลาดในอนาคต สำหรับ ในปี 2549 อียูตรวจพบสินค้าอาหารไม่ปลอดภัยจากไทย 75 รายการ โดยผักพบมากสุดถึง 28 ครั้ง รองลงมาคือ อาหารแปรรูป 23 ครั้ง และอาหารแช่แข็ง 11 ครั้ง
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในระหว่างเดือนก.ค.-ธ.ค.2550 สหภาพยุโรป (อียู) ได้ตรวจพบสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยส่งออกมายังอียูไม่ผ่านมาตรฐานสุขอนามัยทั้งสิ้น 29 รายการ แบ่งเป็นสินค้าปศุสัตว์ 2 รายการ สินค้าประมง 5 รายการ และสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 22 รายการ โดยสินค้าพืช และผลิตภัณฑ์ของพืชยังคงเป็นประเภทสินค้าที่มีการตรวจพบมากที่สุด ส่วนประเทศสมาชิกที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร และฟินแลนด์ ส่วนมากเป็นการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ และสารปราบศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
สำหรับสินค้าปศุสัตว์ ที่ตรวจพบ 2 รายการ ประกอบด้วย เบลเยียมตรวจพบการลักลอบนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ที่มิได้รับอนุญาตให้นำเข้าอียู และสหราชอาณาจักรตรวจพบเอนเทโรแบคทีเรียในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในของขบเคี้ยวสำหรับสุนัข ส่วนสินค้าประมง ที่ตรวจพบ 5 รายการ ประกอบด้วย เบลเยียมตรวจพบยารักษาโรคสัตว์ไนโตรฟูแรนตกค้าง ในสินค้ากุ้งก้ามกราม 2 ครั้ง สหราชอาณาจักร ตรวจพบสาร Leucomalachite Green ในสินค้าปลาดุกแช่แข็ง ในปริมาณที่เกินกว่ากำหนด กรีซ ตรวจพบสารฮีสตามีนในสินค้าปลาทูนากระป๋อง และปลาแมคเคอเรลกระป๋อง ในปริมาณมากกว่าที่กำหนด สหราชอาณาจักรตรวจพบสิ่งปลอมปนในสินค้าปลาเค็มแห้ง
ขณะที่สินค้าพืช และผลิตภัณฑ์จากพืช มีการตรวจพบ 22 รายการ เช่น นอร์เวย์ ตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในผักกะเพรา เยอรมนี ตรวจพบสาร DINP ในฝาขวดแก้วบรรจุเครื่องแกงแดง ฟินแลนด์ ตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในผักชี เดนมาร์ค ตรวจพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งคาดว่าจะมาจากเชื้อชิเกลลา ซอนนี ในข้าวโพดอ่อน นอร์เวย์ ตรวจพบเชื้อซาโมเนลลาในดอกสะเดา สหราชอาณาจักรตรวจพบสารคาร์โบฟูแรน ในถั่วฝักยาว เยอรมนี ตรวจพบสาร DINP ในฝาขวดแก้วบรรจุเครื่องแกงต้มยำ นำเข้าผ่านเนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ตรวจพบเชื้อซาโมเนลลาในผักหลายชนิด อิตาลีตรวจพบสารกันบูดในหน่อไม้ดองกระป๋อง เป็นต้น สำหรับในปี 49
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ ขอเตือนผู้ผลิต ผู้ส่งออก ต้องทำให้ถูกต้องตามสุขอนามัย และอย่าให้มีสารตกค้างเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพื่อป้องกันการถูกปฏิเสธการนำเข้า และเสียตลาดในอนาคต สำหรับ ในปี 2549 อียูตรวจพบสินค้าอาหารไม่ปลอดภัยจากไทย 75 รายการ โดยผักพบมากสุดถึง 28 ครั้ง รองลงมาคือ อาหารแปรรูป 23 ครั้ง และอาหารแช่แข็ง 11 ครั้ง