xs
xsm
sm
md
lg

7วันอันตรายตาย401เจ็บเกือบ5พัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มหาดไทย ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เป็นประธานในพิธีปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 วานนี้ (4 ม.ค.) พร้อมแถลงข่าวสถิติผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 วันที่ 3 ม.ค. เกิดอุบัติเหตุ 354 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 32 คน บาดเจ็บ 389 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 23.45 รองลงมา ได้แก่ ขับรถเร็ว 20.90 % และขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด17.80 %
สำหรับยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยน 81.11 % รองลงมา ได้แก่ รถปิคอัพ 6.39 % อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนทางตรงของถนน ทางหลวงแผ่นดิน 66.95 % และช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เวลา 16.01 - 20.00 น. คิดเป็น 34.75 % จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครปฐม 17 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ พิษณุโลก 14 ครั้ง และเชียงราย 13 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 4 คน รองลงมา ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด และน่าน จังหวัดละ 2 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต ี 54 จังหวัด จังหวัดที่ไม่มีการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ หนองบัวลำภู ยโสธร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ และชัยนาท จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครปฐม 19 คน รองลงมา ได้แก่ พิษณุโลก 17 คน และลำปาง 14 คน อำนาจเจริญ กาฬสินธ์ จังหวัดละ 2 คน
ส่วนจำนวนอุบัติเหตุสะสม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 50 - 3 ม.ค.51 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 4,475 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2550 จำนวน 19 ครั้ง หรือ 0.43 % ผู้เสียชีวิตรวม 401 ศพ น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 48 ศพ หรือ10.69 % ผู้บาดเจ็บรวม 4,903 คน น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 40 คน หรือ 0.81 % จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดในช่วง 7 วัน ได้แก่ เชียงราย 157 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ นครปฐม 145 ครั้ง และสุรินทร์ 136 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 24 คน รองลงมา ได้แก่ ขอนแก่น 18 คน และนครปฐม 17 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 169 คน รองลงมา ได้แก่ สุรินทร์ 159 คน และนครปฐม 155 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมน้อยที่สุดได้แก่ ยโสธร จำนวน 3 ครั้ง จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตมี 3 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ปัตตานี และนราธิวาส
สำหรับการบังคับใช้กฎหมายของวันที่ 3 ม.ค. 2551 มีการเรียกตรวจ ตามมาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร จำนวน 1,168,749 คัน พบการกระทำผิดและดำเนินคดี 31,659 คน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนยานพาหนะที่เรียกตรวจพบว่า ไม่สวมหมวกนิรภัย 8.79 % รองลงมา ได้แก่ มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 3.27 % ของผู้กระทำความผิดและถูกดำเนินคดีแต่ละมาตรการ ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ 37.18 % รองลงมา ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย 32.28 % โดยในวันที่เจ็ดของช่วง 7 วันระวังอันตราย มีการจัดตั้งจุดตรวจ รวม 3,053 จุด เฉลี่ย 3.29 จุดตรวจต่ออำเภอ เฉลี่ย 29 คนต่อจุดตรวจ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำจุดตรวจ รวม 88,599 คน สำหรับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจในหมู่บ้าน และชุมชน จำนวน 8,062 จุด มีการจัดตั้งจุดบริการประชาชน 3,307 จุด และตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมฯ จังหวัดต่ออำเภอ 973 จุด
นายบัญญัติ กล่าวว่า ภาพรวมของการป้องกันอุบัติเหตุในครั้งนี้ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็ใช่ว่าตนอยากให้เกิดเหตุต่างๆ ขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา อุบัติเหตุใหญ่เกิดขึ้นกับรถกระบะหรือรถปิคอัพที่มีการดัดแปลงและบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตรา และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับเร็วเกินอัตรากำหนด ประมาท ตัดหน้ากระชั้นชิด แซงในที่คับขัน สูงถึง 54.54 % จึงขอให้สำนักงานตำรวจทางหลวง และกระทรวงคมนาคม เข้มงวดรถดังกล่าวด้วย
ที่สำคัญโดยเฉพาะรถกระบะหรือปิคอัพดัดแปลงนั้น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่กำลังจะมาถึงนี้อยากให้มีการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจัง คือห้ามไม่ให้รถในลักษณะดังกล่าววิ่งบนทางหลวงสายหลัก หรือถนนที่มีเลขตัวเดียวอย่างเด็ดขาด ส่วนถนนสายรองอาจอนุโลมให้วิ่งได้เพราะต้องคำนึงถึงความจำเป็นของประชาชนด้วย
อย่างไรก็ตามขอให้นำข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ไปจัดทำคู่มือเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุโดยลงลึกในแต่ละพื้นที่ ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงการทำงานและเตรียมการรับมือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะถึงนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น