เอเอฟพี - นักวิเคราะห์มองราคาน้ำมันโลกพุ่งทำสถิติแตะระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยิ่งเพิ่มแรงบีบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งอ่อนแออยู่แล้วสืบเนื่องจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี2006 และเพิ่มสัญญาณชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่ปรากฏขึ้นรางๆในระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกแห่งนี้
ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีตครูต ในตลาดไนเม็กซ์ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ(2) พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันเดียวกันนั้น ก็มีการแถลงตัวเลขดัชนีกิจกรรมในโรงงานทั่วประเทศลดฮวบในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือน ก่อนหน้านี้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งทุบสถิติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ 60 ดอลลาร์ มาจนถึง 80 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักแต่อย่างใด
ปีเตอร์ โมรีซี นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา มีแรงต้านทานต่อแรงบีบจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนในค่าใช้จ่ายโดยรวม น้อยกว่าในอดีต
แต่หลายคนสงสัยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะรับมือกับราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อย่างง่ายดายเหมือนเคยหรือไม่
จอห์น ไอออน ผู้อำนวยการด้านวิจัยและนโยบายแห่งสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ กล่าวว่าผู้คนจำนวนมากประหลาดใจที่สหรัฐฯสามารถทนต่อแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมาได้
ไอออนกล่าวว่า หากราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว ความเสียหายก็น่าจะอยู่ในวงจำกัด "แต่หากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับ 95 - 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงกว่านั้น ก็น่าจะเป็นภัยคุกคามที่แท้จริง โดยราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจะฉุดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลง อาจจะ 1% หรือมากกว่านั้น"
ราคาพลังงานที่พุ่งสูงส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในหลายๆภาคส่วน สำหรับภาคธุรกิจนั้น ราคาพลังงานจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคก็จะแบกรับภาระหนักโดยตรง โดยราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันทำความร้อนจะทะยานขึ้น
ภาคครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่ามักจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความเสียหายจากราคาน้ำมันที่สูงลิ่ว และจะถูกบีบให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย โดยที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคนี่แหละถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโต
ณ ปัจจุบัน เศรษฐกิจสหรัฐฯประสบภาวะลำบากอย่างหนัก เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดหนัก เริ่มตั้งแต่ปี2006 และต่อมา เนื่องจากลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทด้อยคุณภาพ หรือ "ซับไพรม์" พากันไม่จ่ายหนี้ ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆเสียหายอย่างหนักและไม่ไว้ใจกัน จึงไม่ปล่อยกู้ให้กันและกันจนทำให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัว นอกจากนี้ การจ้างงานก็ลดลงซึ่งคาดกันว่าจะฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างหนัก
อีธาน แฮร์รีส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเลห์แมน บราเธอร์ส กล่าวว่าในอดีตนั้น สิ่งที่ผู้คนเห็นก็คือ ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันที่แกว่งไปมาอยู่บ่อยครั้งไม่ได้สร้างความเสียหายถาวรต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจะทำให้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจในบางจุด แต่หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะกลับมาเข้าที่เข้าทาง เมื่อสามารถปรับตัวเข้ากับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี แฮร์รีสกล่าวว่า หากนำสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันพุ่งแตะ 100 ดอลลาร์มาพิจารณานั้น อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจจะลดลง 1 - 1.5% ในปี2008 เทียบกับภาวะปกติที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3%
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเลห์แมน บราเธอร์ส กล่าวว่าเนื่องจากสหรัฐฯก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มที่การบริโภคจะชะลอตัวถาวรและยืดเยื้อ ก็เพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ก็จะทำให้เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลกตกอยู่ข่ายเสี่ยงที่จะประสบภาวะถดถอยมากขึ้น
"หากซัปพลายน้ำมันหยุดชะงักครั้งใหญ่และราคาน้ำมันพุ่งแตะระดับ 150 ดอลลาร์ ก็อาจจะเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย" แฮร์รีสกล่าว
อย่างไรก็ตาม ไอออน ผู้อำนวยการด้านนโยบายและวิจัย แห่งสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ เตือนว่าไม่ว่าภาวะถดถอยหรือชะลอตัวอย่างหนัก ก็ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯบอบช้ำทั้งคู่
"สถานการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดก็คือการชะลอตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลกระทบ เศรษฐกิจชะลอตัวสามารถสร้างความเสียหายในหลายๆทาง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ"
ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีตครูต ในตลาดไนเม็กซ์ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ(2) พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันเดียวกันนั้น ก็มีการแถลงตัวเลขดัชนีกิจกรรมในโรงงานทั่วประเทศลดฮวบในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือน ก่อนหน้านี้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งทุบสถิติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ 60 ดอลลาร์ มาจนถึง 80 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักแต่อย่างใด
ปีเตอร์ โมรีซี นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา มีแรงต้านทานต่อแรงบีบจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนในค่าใช้จ่ายโดยรวม น้อยกว่าในอดีต
แต่หลายคนสงสัยว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะรับมือกับราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อย่างง่ายดายเหมือนเคยหรือไม่
จอห์น ไอออน ผู้อำนวยการด้านวิจัยและนโยบายแห่งสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ กล่าวว่าผู้คนจำนวนมากประหลาดใจที่สหรัฐฯสามารถทนต่อแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมาได้
ไอออนกล่าวว่า หากราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว ความเสียหายก็น่าจะอยู่ในวงจำกัด "แต่หากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับ 95 - 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงกว่านั้น ก็น่าจะเป็นภัยคุกคามที่แท้จริง โดยราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจะฉุดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลง อาจจะ 1% หรือมากกว่านั้น"
ราคาพลังงานที่พุ่งสูงส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในหลายๆภาคส่วน สำหรับภาคธุรกิจนั้น ราคาพลังงานจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคก็จะแบกรับภาระหนักโดยตรง โดยราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันทำความร้อนจะทะยานขึ้น
ภาคครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่ามักจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความเสียหายจากราคาน้ำมันที่สูงลิ่ว และจะถูกบีบให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย โดยที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคนี่แหละถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโต
ณ ปัจจุบัน เศรษฐกิจสหรัฐฯประสบภาวะลำบากอย่างหนัก เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดหนัก เริ่มตั้งแต่ปี2006 และต่อมา เนื่องจากลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทด้อยคุณภาพ หรือ "ซับไพรม์" พากันไม่จ่ายหนี้ ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆเสียหายอย่างหนักและไม่ไว้ใจกัน จึงไม่ปล่อยกู้ให้กันและกันจนทำให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัว นอกจากนี้ การจ้างงานก็ลดลงซึ่งคาดกันว่าจะฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างหนัก
อีธาน แฮร์รีส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเลห์แมน บราเธอร์ส กล่าวว่าในอดีตนั้น สิ่งที่ผู้คนเห็นก็คือ ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันที่แกว่งไปมาอยู่บ่อยครั้งไม่ได้สร้างความเสียหายถาวรต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจะทำให้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจในบางจุด แต่หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะกลับมาเข้าที่เข้าทาง เมื่อสามารถปรับตัวเข้ากับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี แฮร์รีสกล่าวว่า หากนำสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันพุ่งแตะ 100 ดอลลาร์มาพิจารณานั้น อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจจะลดลง 1 - 1.5% ในปี2008 เทียบกับภาวะปกติที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3%
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเลห์แมน บราเธอร์ส กล่าวว่าเนื่องจากสหรัฐฯก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มที่การบริโภคจะชะลอตัวถาวรและยืดเยื้อ ก็เพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ก็จะทำให้เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลกตกอยู่ข่ายเสี่ยงที่จะประสบภาวะถดถอยมากขึ้น
"หากซัปพลายน้ำมันหยุดชะงักครั้งใหญ่และราคาน้ำมันพุ่งแตะระดับ 150 ดอลลาร์ ก็อาจจะเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย" แฮร์รีสกล่าว
อย่างไรก็ตาม ไอออน ผู้อำนวยการด้านนโยบายและวิจัย แห่งสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ เตือนว่าไม่ว่าภาวะถดถอยหรือชะลอตัวอย่างหนัก ก็ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯบอบช้ำทั้งคู่
"สถานการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดก็คือการชะลอตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลกระทบ เศรษฐกิจชะลอตัวสามารถสร้างความเสียหายในหลายๆทาง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ"