ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2551 อาจมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากในปี 2550 อันเป็นผลจากสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดน้อยถอยลง ตามดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดว่าอาจจะบันทึกยอดเกินดุลที่ลดลงจากปี 2550 ในขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิยังมีความไม่แน่นอนและอาจจะผันผวน ขึ้นอยู่กับขนาดความเสียหายของปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในสหรัฐฯ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ และนโยบายการดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนจากทางการ นอกจากนี้ สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจยังอาจจะถูกดึงออกไปจากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งการดูแลสมดุลสภาพคล่องจากทางการด้วย ทั้งนี้ สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลงนี้ อาจทำให้สภาพคล่องที่จะไหลเข้ามาสู่ระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับลดลงจากในปี 2550
ส่วนสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยเองนั้น มีแนวโน้มที่จะถูกดึงออกไปจากการคาดการณ์การขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่เร่งขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีแรงหนุนหลักมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลังปัญหาการเมืองในประเทศทยอยมีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ การที่เงินฝากมีโอกาสจะเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นจากช่องทางการออมอื่นๆ ซึ่งอาจจะยังให้อัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการฝากเงินไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งจากแรงกระตุ้นของการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีกำหนดจะจัดตั้งขึ้นในปี 2551 ซึ่งแม้ว่าในปีแรก ผลกระทบอาจจะยังมีไม่มาก เพราะเงินฝากยังคงได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน แต่ก็อาจจะมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้ฝากเงิน ทำให้คาดว่าสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มจะปรับลดลงอีกจากการโยกย้ายเงินฝากไปลงทุนในช่องทางการออมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรภาครัฐ หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ
ทั้งนี้ โดยรวมแล้วประเมินว่าสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2551 โดยคาดว่าปริมาณสภาพคล่องที่วัดจากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นปี 2551 อาจเพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 81.7-83.1 จากประมาณร้อยละ 81.0 ณ สิ้นปี 2550
อย่างไรก็ตาม แม้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มปรับลดลงอีกในปี 2551 ต่อเนื่องจากในปี 2550 แต่ก็คงจะไม่ได้ลดลงมากจนกระทั่งธนาคารพาณิชย์ต้องประสบกับภาวะขาดสภาพคล่องโดยฉับพลัน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงจะมีการบริหารสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดเงินฝากของตนไว้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเพื่อเตรียมสภาพคล่องไว้สำหรับรองรับการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อในปี 2551 ด้วย ดังจะเห็นได้จาก การที่ธนาคารพาณิชย์มีการทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่จูงใจออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในปี 2550 ที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ธนาคารจะต้องระดมเงินด้วยต้นทุนที่แพงขึ้นในอนาคต กระนั้นก็ดี แม้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวมน่าจะยังคงมีเพียงพอสำหรับรองรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดปี 2551 ได้ แต่การกระจายตัวที่ไม่เท่าเทียมกันของสภาพคล่องในระหว่างกลุ่มธนาคาร อาจทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบกับภาวะสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น จำเป็นต้องระดมเงินด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษอย่างต่อเนื่องต่อไป และหากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นด้วยความถี่ที่มากขึ้น ในท้ายที่สุดแล้ว ภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารด้วยกันเอง และกับผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ อาจนำมาสู่การที่ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเป็นการทั่วไป ประมาณร้อยละ 0.25-0.50 เป็นอย่างน้อยในปี 2551
สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2550 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งในที่นี้วัดจากผลรวมของเงินสด ยอดการให้กู้สุทธิในตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารหรืออินเตอร์แบงก์ และยอดการให้กู้สุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์/พี) มีจำนวนลดลงราว 5.74 หมื่นล้านบาท จาก 7.36 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ 6.79 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 สอดคล้องกันกับฐานะเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ผลต่างของยอดคงค้างเงินฝากและยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวนลดลงจาก 1.03 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 9.23 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
กระนั้นก็ดี โดยสุทธิแล้ว สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยยังปรับตัวลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นเพราะทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงินไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปี ได้ส่งผลให้ประชาชนมีการโยกย้ายเงินฝากออกไปลงทุนในช่องทางการออมอื่นๆ อาทิ พันธบัตรออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ เป็นต้น ที่อาจจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อัตราการเติบโตของเงินฝากชะลอตัวลงเช่นกัน
ส่วนสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยเองนั้น มีแนวโน้มที่จะถูกดึงออกไปจากการคาดการณ์การขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่เร่งขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีแรงหนุนหลักมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลังปัญหาการเมืองในประเทศทยอยมีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ การที่เงินฝากมีโอกาสจะเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นจากช่องทางการออมอื่นๆ ซึ่งอาจจะยังให้อัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการฝากเงินไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งจากแรงกระตุ้นของการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีกำหนดจะจัดตั้งขึ้นในปี 2551 ซึ่งแม้ว่าในปีแรก ผลกระทบอาจจะยังมีไม่มาก เพราะเงินฝากยังคงได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน แต่ก็อาจจะมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้ฝากเงิน ทำให้คาดว่าสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มจะปรับลดลงอีกจากการโยกย้ายเงินฝากไปลงทุนในช่องทางการออมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรภาครัฐ หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ
ทั้งนี้ โดยรวมแล้วประเมินว่าสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2551 โดยคาดว่าปริมาณสภาพคล่องที่วัดจากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นปี 2551 อาจเพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 81.7-83.1 จากประมาณร้อยละ 81.0 ณ สิ้นปี 2550
อย่างไรก็ตาม แม้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีแนวโน้มปรับลดลงอีกในปี 2551 ต่อเนื่องจากในปี 2550 แต่ก็คงจะไม่ได้ลดลงมากจนกระทั่งธนาคารพาณิชย์ต้องประสบกับภาวะขาดสภาพคล่องโดยฉับพลัน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงจะมีการบริหารสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดเงินฝากของตนไว้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเพื่อเตรียมสภาพคล่องไว้สำหรับรองรับการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อในปี 2551 ด้วย ดังจะเห็นได้จาก การที่ธนาคารพาณิชย์มีการทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่จูงใจออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในปี 2550 ที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ธนาคารจะต้องระดมเงินด้วยต้นทุนที่แพงขึ้นในอนาคต กระนั้นก็ดี แม้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวมน่าจะยังคงมีเพียงพอสำหรับรองรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดปี 2551 ได้ แต่การกระจายตัวที่ไม่เท่าเทียมกันของสภาพคล่องในระหว่างกลุ่มธนาคาร อาจทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบกับภาวะสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น จำเป็นต้องระดมเงินด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษอย่างต่อเนื่องต่อไป และหากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นด้วยความถี่ที่มากขึ้น ในท้ายที่สุดแล้ว ภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารด้วยกันเอง และกับผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ อาจนำมาสู่การที่ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเป็นการทั่วไป ประมาณร้อยละ 0.25-0.50 เป็นอย่างน้อยในปี 2551
สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2550 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งในที่นี้วัดจากผลรวมของเงินสด ยอดการให้กู้สุทธิในตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารหรืออินเตอร์แบงก์ และยอดการให้กู้สุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์/พี) มีจำนวนลดลงราว 5.74 หมื่นล้านบาท จาก 7.36 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ 6.79 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 สอดคล้องกันกับฐานะเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ผลต่างของยอดคงค้างเงินฝากและยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวนลดลงจาก 1.03 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 9.23 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
กระนั้นก็ดี โดยสุทธิแล้ว สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยยังปรับตัวลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นเพราะทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงินไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปี ได้ส่งผลให้ประชาชนมีการโยกย้ายเงินฝากออกไปลงทุนในช่องทางการออมอื่นๆ อาทิ พันธบัตรออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ เป็นต้น ที่อาจจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อัตราการเติบโตของเงินฝากชะลอตัวลงเช่นกัน