xs
xsm
sm
md
lg

ดีอีวาง 5 มาตรการป้องกันซื้อขายของออนไลน์เก็บเงินปลายทาง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงดีอีเข้าร่วมหารือแนวทางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงซื้อขายออนไลน์แบบเก็นเงินปลายทาง Cash On Delivery (COD) พร้อมกำหนด 5 มาตรการ การพิสูจน์ตัวตนผู้ส่งสินค้า การกำหนดระยะเวลาการถือเงินค่าสินค้า การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้า การให้ข้อมูลผู้บริโภค การเฝ้าติดตามพฤติกรรมการส่งพัสดุของผู้ส่งสินค้า

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวกล่าวว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องร่างข้อเสนอแก้ปัญหาค้าขายออนไลน์แบบเก็บเงินปลายทาง (Cash On Delivery หรือ COD) 5 ข้อ ดังนี้
1.การพิสูจน์ตัวตนผู้ส่งสินค้า
2.การกำหนดระยะเวลาการถือเงินค่าสินค้า
3.การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้า
4.การให้ข้อมูลผู้บริโภค
5.การเฝ้าติดตามพฤติกรรมการส่งพัสดุของผู้ส่งสินค้า


โดยเป็นการหารือร่วมกันทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สภาองค์กรของผู้บริโภค แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ มายออเดอร์ สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย และตัวแทนบริษัทขนส่งพัสดุ หารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงซื้อขายออนไลน์ กรณีใช้ช่องทาง Cash On Delivery (COD)

ผู้แทน บช.สอท. กล่าวว่า ตำรวจมีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปรามการหลอกลวงซื้อขายออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอทั้ง 5 ข้อ ข้างต้น ซึ่งในส่วนของการป้องกันมีการจัดเก็บข้อมูลของผู้ขายสินค้าที่หลอกลวงอาจจะเป็นการป้องกันได้ส่วนหนึ่ง ในส่วนของการปราบปราม ควรจะได้รับความร่วมมือจากบริษัทขนส่ง พบเหตุน่าสงสัยช่วยเร่งส่งข้อมูลให้ทางตำรวจดำเนินการทางคดีด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าควรมีฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ซื้อ และใช้แลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น