xs
xsm
sm
md
lg

TikTok มั่นใจเทรนด์ ‘Shoppertianment’ สร้างโอกาสค้าปลีกยุคใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



TikTok มั่นใจ Shoppertianment พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีก หลังพบพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคตามคอนเทนต์ความบันเทิงที่มาช่วยปิดการขาย โดยรายงาน BCG คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าธุรกิจได้ถึง 1.24 หมื่นล้านเหรียญในไทย

สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing - Thailand TikTok กล่าวว่า ภายในปี 2025 คาดว่า Shoppertianment จะสามารถปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านเหรียญทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้ใช้ TikTok กำลังมองหาประสบการณ์การชอปปิ้งที่ลื่นไหลและไร้รอยต่อซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะบนแพลตฟอร์ม

โดยเทศกาล Mega Sales ที่กำลังจะมาถึงนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญสำหรับแบรนด์ เพราะผู้บริโภคเตรียมพร้อมที่จะตอบรับกับข้อเสนอที่ดีที่สุดในการชอปปิ้ง ถึงเวลาแล้วที่แบรนด์จะได้ทดลอง เรียนรู้ และนำโซลูชันต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตและการตลาดที่มีประสิทธิภาพให้แบรนด์

TikTok Shop เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของภาคธุรกิจ ทั้งในแง่ของข้อเสนอทางการค้าและการเปิดโอกาสให้ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายย่อยหรือรายใหญ่ให้ได้ถูกค้นพบ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ในชุมชนบนแพลตฟอร์ม TikTok

งานวิจัยจาก BCG พบว่า เทรนด์นี้จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจกว่า 1 ล้านล้านเหรียญทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2025 และสำหรับประเทศไทยเล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโตสูงถึง 1.24 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญ

จากข้อมูลที่ TikTok ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ทำให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค 3 ประเด็น ได้แก่ การสร้างคอนเทนต์ความบันเทิงเพื่อปิดการขาย ผู้บริโภคตั้งคำถามและมีความลังเลมากขึ้นเมื่อรับชมโฆษณา

ปัจจุบัน การซื้อสินค้าถูกขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ความบันเทิง จากผลวิจัยพบว่า 77% ของผู้บริโภคซื้อสินค้าจากอิทธิพลของคอนเทนต์ที่สร้างความสนุกสนานบันเทิง ในขณะที่ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าครั้งแรก ตัดสินใจซื้อสินค้าจากความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ

ระหว่างเทศกาล Mega Sales ในปี 2022 พบว่า 80% ของผู้ใช้ซื้อสินค้าบน TikTok Shop 3 อันดับแรกของประเภทสินค้ายอดนิยมบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ สินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องประดับ (55%) สินค้าประเภทความสวยความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (46%) และสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม (40%) โดยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการซื้อสินค้าของผู้ใช้ในช่วงการลดราคาครั้งใหญ่ ได้แก่ การส่งฟรี คูปองและส่วนลด และการชำระเงินปลายทาง (COD)


กำลังโหลดความคิดเห็น