สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆ เปลี่ยนไป จนเกิดการปรับตัวเป็นชีวิตวิถีใหม่ที่เครือข่ายสื่อสาร กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจ จะเรียกว่าเป็น “ปัจจัยที่ห้า” ก็ไม่ผิดนัก ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งด้านความเร็ว ความเสถียร เพิ่มช่องสัญญาณ หรือออปติไมเซชันของเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีในทุกช่วงเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นเรียนออนไลน์ ทำงานที่บ้าน หรือเต็มอิ่มกับความบันเทิงแบบจุใจ
ปัจจุบัน คนหนึ่งคนจะใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3.5 ชิ้น เช่น สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ก สมาร์ทวอทช์ อุปกรณ์ IoT และคาดว่าใน 2 ปี จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ส่วนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปริมาณเครือข่ายไร้สาย หรือทราฟฟิกสูงขึ้นถึง 37% ขณะที่การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ มีปริมาณทราฟฟิกไต่ระดับเพิ่มถึง 50% โดยบางครัวเรือนมีการเชื่อมต่อถึง 20-30 อุปกรณ์ ซึ่งนี่เองที่ทำให้การมาของเครือข่าย 5จี จะรังสรรค์โลกใบใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับสังคมแบบมหภาค ขณะที่ 4จี จะเปลี่ยนแปลงในระดับไลฟ์สไตล์
Network slicing ปลดล็อกกุญแจ 5จี
Network slicing อีกหนึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีที่สร้างความแตกต่างระหว่าง 4G และ 5G กล่าวคือ คลื่น 5G ทำให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างและบริหารจัดการเครือข่ายเสมือน โดยจัดสรรปรับแต่งให้ถูกจริตกับลูกค้าซึ่งมีความปรารถนาที่หลากหลาย มีการกำหนดแบ่งช่องสัญญาณ หรือแบนด์วิธแต่ละชั้นให้เหมาะกับลักษณะการใช้งาน ทำให้มีการเชื่อมต่อความเร็วแบบ 5G ได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ล่าสุด มีการนำจุดเด่นของเครือข่าย 5G ไปใช้งานในโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งได้ใช้การประมวลผลที่ปลายทางแบบ multi–access edge computing หรือ MEC ผ่านเครือข่ายทรู 5G ที่ใช้ network slicing และเอดจ์ คอมพิวติ้ง ทำให้โรงพยาบาลสามารถควบคุมคุณภาพเครือข่ายในสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเองได้ ด้วยความหน่วงต่ำและความปลอดภัยสูงสุด
เหนือกว่าด้วยความเร็ว - ล้ำสุดด้วยทรู 5G เครือข่ายที่ดีที่สุดของไทย ผู้นำแห่งอนาคต เพื่อสร้างรอยยิ้มให้แก่ลูกค้า
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทรูลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงถึง 100,000 ล้านบาท ในการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 700 เมกะเฮิรตซ์ และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งติดตั้งเครือข่ายทรู 5G มากกว่า 10,000 สถานี ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ครอบคลุมถึง 98% ของจำนวนประชากร
นอกเหนือจากการขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมแล้ว ทรู ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ชั้นนำของไทย ยังมุ่งเน้น “การเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย” ที่จะสร้างประโยชน์ในการลงทุนระยะกลางและยาว ผ่าน “network slicing” ที่เพิ่มขีดความสามารถของการใช้ช่องสัญญาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้โอเปอเรเตอร์ สามารถให้บริการที่ยืดหยุ่น จัดสรรได้ตามความประสงค์ของลูกค้าแต่ละราย เช่น ความหน่วงต่ำ เหมาะกับผู้เล่นเกมผ่านคลาวด์และการผ่าตัดระยะไกล ขณะที่การใช้บริการคลาวด์และวิเคราะห์ปริมาณข้อมูลมากๆ จะใช้ทั้งความหน่วงต่ำและช่องสัญญาณขนาดใหญ่
ปัจจุบัน ความเร็วขั้นต่ำที่รองรับเนื้อหาระดับ 4K อยู่ที่ 10 เมกะบิทต่อวินาที (Mbps) สำหรับเนื้อหาแบบ เวอร์ชวล เรียลิตี หรือความเสมือนจริง จะใช้ความเร็วที่ 20 เมกะบิทต่อวินาที ยิ่งถ้ามีคอนเทนต์ทั้ง 4K และ 8K เชื่อมต่อพร้อมๆ กันหลายอุปกรณ์ จะต้องใช้ความเร็วสูงถึง 200 เมะบิทต่อวินาที และคาดการณ์ว่าภายใน 2 ปี ความเร็วจะขยับเพิ่มเป็น 2.5 ถึง 10 กิกะบิทต่อวินาที (Gbps)
ความมุ่งมั่นและทุ่มเทของทรูที่จะเป็นผู้นำเครือข่ายที่ดีที่สุดเพื่อคนไทย ได้ส่งผลให้บริษัทได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รวมถึงปี 2020 จาก nPerf หน่วยงานทดสอบความเร็วระดับสากล ที่มอบรางวัลแก่ทรูออนไลน์ ในด้านผู้นำเน็ตบ้านซึ่งทรงประสิทธิภาพที่สุด หรือ best fixed Internet performance โดยวัดผลจากความเร็วในการดาวน์โหลด และอัปโหลดคอนเทนต์นั่นเอง
Opensignal ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานทดสอบวิเคราะห์ระบบมือถือและกำหนดมาตรฐานระดับโลกที่มอบรางวัลให้ ทรูมูฟ เอช ให้ครองความเป็นเจ้าตลาดในด้านเครือข่าย 5G ที่พร้อมใช้งาน (5G Global Leaders in 5G Availability) เมื่อเดือนกันยายน 2021 ซึ่งรางวัลนี้เป็นผลมาจากการสำรวจข้อมูลการใช้ 5G ทั่วโลก ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ทรูมูฟ เอช เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการใช้งาน 5G ชนะในเรื่องของเปอร์เซ็นต์เวลาการเชื่อมต่อเครือข่าย 5G ที่ 22.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 11.2% ส่งผลให้ทรูมูฟ เอช ทะยานขึ้นติดอันดับท็อป 20 ผู้นำ 5G ระดับโลก
เพราะไม่ได้มุ่งเน้นที่ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงประสบการณ์ความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วย เช่น ขจัดความล่าช้าหรือความหน่วงแฝง ทำให้เกิดความเพลิดเพลินแบบไม่ถูกขัดจังหวะขณะดูวิดีโอ
ทรู ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าด้วยการสร้างความมั่นใจในการสำรองเครือข่ายให้มีการเชื่อมต่อหลากหลายเส้นทาง มีความพร้อมใช้งานถึง 99.9999% อีกทั้งมีทีมวิศวกร กว่า 17,000 รายที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
บริษัทยังได้จับมือกับพันธมิตรด้านคอนเทนต์ระดับโลก เช่น ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ และติ๊กต็อก เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการใช้ทราฟฟิก และใช้คอนเทนต์ เดลิเวอรี เน็ตเวิร์ก หรือซีดีเอ็น โดยติดตั้งในทุกภาค แทนที่การรวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ เพื่อลดความหน่วงของเครือข่าย ทรูเป็นผู้ให้บริการรายแรกนอกประเทศจีนที่ใช้ซีดีเอ็น ของ ติ๊กต็อกอีกด้วย
นอกจากนี้ ความปลอดภัยในโลกออนไลน์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทรูให้ความสำคัญอย่างยิ่ง มีการใช้ “ซิเคียวริตี โพรบ” เพื่อตรวจจับการโจมตีแบบ DDoS และแจ้งเตือนลูกค้าหากมีกรณีที่พบกว่ามีทราฟฟิกที่ต้องสงสัย
เพราะเครือข่ายสื่อสารเป็นปัจจัยที่ห้าของคนยุคปัจจุบันนี้ ทำให้ทรู ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายให้ดีที่สุด เป็นเหมือนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้น จึงต้องมีการเฝ้าระวังการใช้งานเครือข่ายของทรูตลอดเวลา หากมีปริมาณการใช้ถึง 80% ของความจุแล้วจะต้องเร่งขยายความจุ เพื่อไม่ให้กระทบกับประสบการณ์ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ โดยเกณฑ์ปกติการขยายความจุจะทำเมื่อถึงระดับ 95% แต่หากรอถึงจุดนั้น อาจกระทบกับข้อมูลที่สูญหายหรือความหน่วงที่เพิ่มขึ้น
อีกทั้ง ทรู ยังได้ยกเครื่องศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operations Centre : NOC) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยแก้ปัญหาของเครือข่าย ทำให้การวิเคราะห์หาสาเหตุเร็วขึ้น เหลือเพียง 5-10 นาที และลดความผิดพลาดจากการหาสาเหตุนั้นลงถึง 60-70%
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า “ทรู” เป็นผู้นำเครือข่ายที่ดีที่สุด ไม่เป็นสองรองใคร
การมาถึงของ Wi-Fi6E และ Wi-Fi 7
ทรู บรอดแบนด์ มีแผนขยายการลงทุนเครือข่าย Wi-Fi6E ภายในสิ้นปี 2022 เพิ่มเติมจากย่าน 2.4 GHz เป็น 5 GHz ซึ่งทำให้มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่รวดเร็วและเสถียรมากยิ่งขึ้นในอนาคต การเชื่อมต่อ Wi-Fi บนสมาร์ทโฟน อาจแตะระดับ 1-2 กิกะบิทต่อวินาที (Gbps) บนเครือข่ายใหม่นี้ อีกทั้งยังเตรียม Wi-Fi 7 ที่สนับสนุนไปถึง 30 Gbps เร็วขึ้น 3 เท่าจาก Wi-Fi 6
Wi-Fi 7 จะสอดรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล รวมถึงการใช้แอปพลิเคชันด้าน AR/VR, IoT และ IIoT ในภาคอุตสาหกรรม เข้ากับเวิร์กโฟลว์ ทรูยังคงเกาะติดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างไม่ย่อท้อ พัฒนา และทำให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ปรับให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุควิถีใหม่
หลังวิกฤตโรคระบาด ผู้ใช้งานจะยังคงทำงานแบบไฮบริด และพึ่งพาการใช้แอปพลิเคชันวิดีโออย่างมาก ทั้งการประชุม การดูวิดีโอสตรีมมิ่ง และช่วงเวลาการใช้งานสูงสุด หรือพีกไทม์ จะอยู่ช่วงระหว่างวัน และไม่จำกัดเฉพาะหลัง 6 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม เฉกเช่นก่อนโควิด-19
ด้วยการบริหารจัดการเครือข่าย การวางแผน การติดตามเฝ้าระวัง พร้อมกับการมีคลื่นความถี่ที่หลากหลาย ทำให้เครือข่ายทรู มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับ และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงความหลากหลายของแอปพลิเคชันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของไทย