การ์ทเนอร์เผย หัวเว่ยครองอันดับ 4 ส่วนแบ่งการตลาดบริการ Internet as a Service (IaaS) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2020 ตอกย้ำการเป็นผู้ให้บริการเมนสตรีมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก
การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงานในชื่อ Market Share : IT Services, Worldwide 2020 โดยระบุเกี่ยวกับส่วนแบ่งการตลาดบริการ IaaS (Infrastructure as a Service) ประจำปี พ.ศ.2563 ว่าหัวเว่ยได้คว้าอันดับ 2 ในตลาดประเทศจีน อันดับ 3 ในตลาดประเทศไทย อันดับ 4 ในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับ 5 ในตลาดโลก โดยในช่วงปี พ.ศ.2562-2563 รายได้จากตลาดบริการ IaaS ของหัวเว่ยนั้นเติบโตเร็วที่สุดในตลาดโลกเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นที่ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน
ปัจจุบัน HUAWEI CLOUD ได้ยกระดับเทคโนโลยี full-stack เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะในด้านความเสถียร ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ความยั่งยืน รวมถึงการให้บริการโซลูชันของคลาวด์แบบไฮบริด โดยภายในปลายปี พ.ศ.2563 HUAWEI CLOUD ได้เปิดตัวการให้บริการคลาวด์กว่า 220 รูปแบบสำหรับในภาคอุตสาหกรรม 15 ชนิด และโซลูชันอื่นๆ อีกมากกว่า 210 รูปแบบ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมงานกับพาร์ตเนอร์มากกว่า 20,000 ราย รวมถึงนักพัฒนาอีกกว่า 1.8 ล้านคน และยังได้เปิดตัวแอปพลิเคชันจำนวนมากกว่า 4,000 แอปพลิเคชันในตลาดคลาวด์อีกด้วย
โดยจำนวนรายได้ จำนวนผู้ใช้บริการที่จ่ายค่าบริการ และโครงสร้างพื้นฐานจาก HUAWEI CLOUD ต่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศจีน HUAWEI CLOUD ได้มอบการให้บริการในหลากหลายภาคอุตสากรรม ซึ่งรวมถึงการให้บริการในกระทรวงต่างๆ มากกว่า 30 แห่ง สาธารณูปโภคของรัฐบาลและประชาชนทั่วไปกว่า 600 แห่ง องค์กรด้านอินเทอร์เน็ตชั้นนำ 30 แห่งจากจำนวนทั้งหมด 50 แห่ง และองค์กรขนาดใหญ่ด้านยานยนต์อีกมากกว่า 30 แห่ง
นอกจากภายในประเทศจีนแล้ว HUAWEI CLOUD ยังได้เปิดศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศสิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง มาเลเซีย ชิลี บราซิล เม็กซิโก และเปรู โดยได้ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เพื่อมอบการให้บริการใน 45 พื้นที่การให้บริการ ครอบคลุมทั่วทั้ง 23 ภูมิภาคทั่วโลก สำหรับองค์กรระดับนานาชาติ HUAWEI CLOUD ได้มอบการให้บริการคลาวด์พร้อมด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่ผู้ใช้บริการทั่วโลกอย่างทั่วถึง
ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้คนมากมายหันมาซื้อของผ่านออนไลน์ โดยบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซอย่าง Aladdin ได้มีผู้เข้าชมมากขึ้นกว่า 100 เท่าในช่วงที่มีโปรโมชันพิเศษหรือลดราคา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานมากเกินไปของเซิร์ฟเวอร์หรือแม้กระทั่งทำให้แพลตฟอร์มหยุดทำงาน HUAWEI CLOUD จึงได้ส่งมอบนโยบายปรับเปลี่ยนระดับการให้บริการเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีโปรโมชันจำนวนมาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งมอบการให้บริการที่เสถียร โดยทรัพยากรด้านการปฏิบัติการของ HUAWEI CLOUD สามารถเปิดหรือปิดได้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเซิร์ฟเวอร์ลงราว 20% พร้อมทั้งทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นผ่านบริการบนแพลตฟอร์มของ Aladdin อีกด้วย
นอกจากนี้ โซลูชันอัจฉริยะด้านสื่อของหัวเว่ยยังช่วยอำนวยความสะดวกด้านการผลิตและการเผยแพร่วิดีโอ โดย HUAWEI CLOUD ช่วยเร่งขั้นตอนการผลิตคอนเทนต์ประเภทวิดีโอได้อย่างครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วยการรวบรวมและถ่ายทอดสัญญาณวิดีโอ การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และการเผยแพร่วิดีโอ สำหรับด้านการรวบรวมสัญญาณ การเร่งความเร็วของฮาร์ดแวร์ที่ใช้อุปกรณ์ FPGA (Field Programmable Gate Array) เป็นพื้นฐาน จะช่วยลดการใช้แบนด์วิดท์ลงมากกว่า 30% และสำหรับการเผยแพร่วิดีโอ HUAWEI CLOUD CDN จะช่วยส่งมอบพื้นที่ครอบคลุมของการให้บริการที่กว้างขึ้น โซลูชันแบบ full-stack และเทคโนโลยี CDN ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วกว่า 100 ชนิดเพื่อพัฒนาการให้บริการที่ครอบคลุมถึง 99.99% และการเติบโตอย่างรวดเร็วของส่วนแบ่งตลาด HUAWEI CLOUD ในอุตสาหกรรมสื่อนี้เองที่เป็นแหล่งที่มาที่สำคัญของการเติบโตของ HUAWEI CLOUD ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สำหรับเฟส 1.0 ของเทคโนโลยี Cloud Native หรือเฟสที่รู้จักกันในชื่อว่า “ON Cloud” คือเฟสที่องค์กรต่างๆ เริ่มย้ายการให้บริการมาอยู่บนคลาวด์ ซึ่งทำให้การเดินระบบและการซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance - O&M) การติดตั้ง และการปรับระดับสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากขนาดสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่และการปฏิบัติการที่มุ่งทำงานแค่ในส่วนของตนเอง จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมการใช้งานแบบเดิม (siloed architecture) ยังคงอยู่ ซึ่งในเฟส 2.0 ของ Cloud Native นั้นจะเป็นเฟสแบบ “IN Cloud” ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการโดยอาศัยพื้นฐานของเทคโนโลยี Cloud Native เช่น AI, Big Data, วิดีโอและเสียง รวมทั้งการประมวลผลแบบ Edge มาผนวกรวมด้วย
หัวเว่ยเชื่อว่าองค์กรต่างๆ ยังต้องการศักยภาพการใช้งานที่รองรับสถาปัตยกรรมแบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้บริการทั้งรูปแบบเก่าและใหม่สามารถทำงานประสานกันได้ ซึ่งหัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรกๆ ที่ลงทุนในโซลูชัน Cloud Native และเป็นบริษัทสมาชิกจากทวีปเอเชียเพียงบริษัทเดียวที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) โดย HUAWEI CLOUD ได้มุ่งมั่นทำงานในด้าน Cloud Native และครองอันดับ 1 ในด้านการส่งมอบหลักปฏิบัติการภายในชุมชนนักพัฒนา และผู้คอยให้การสนับสนุนในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ HUAWEI CLOUD ได้ส่งมอบโครงการแรกในด้าน Cloud Native อัจฉริยะ หรือ KubeEdge และโครงการระบบประมวลผล Volcano ซึ่งถือเป็นการริเริ่มการพัฒนาเทคโนโลยี Cloud Native และในปีที่ผ่านมา HUAWEI CLOUD ได้กลายเป็นบริษัทเดียวของทวีปเอเชียที่ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการอำนวยการแห่ง Istio
ทั้งนี้ โซลูชัน Cloud Native 2.0 ของ HUAWEI CLOUD จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านนวัตกรรมธุรกิจ อีโคซิสเต็ม โมเดล และเทคโนโลยีต่างๆ ในอุตสาหกรรมการขนส่ง อี-คอมเมิร์ซ สื่อ และในอีกหลากหลายภาคอุตสาหกรรม