xs
xsm
sm
md
lg

AIS ผลักดัน ‘คนไทยไร้ E-Waste’ สู่ระดับชาติ จับมือ กระทรวงทรัพย์ฯ รวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกวิธี

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอไอเอสเดินหน้าขยายความร่วมมือเครือข่ายคนไทยไร้ E-Wasteทั่วประเทศผนึกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมรณรงค์ปลูกจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อกระจายจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

นายสมชัยเลิศสุทธิวงค์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิสจำกัด (มหาชน)หรือเอไอเอสกล่าวว่าทั่วโลกมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึง 53.6ล้านเมตริกตันและมีการใช้งานต่อคนถึงคนละ 7.3กิโลกรัมซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้รับการ recycleอย่างถูกวิธีเพียง 17.4%หรือคิดเป็น 9.3ล้านเมตริกตันเท่านั้น

ในขณะที่ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนโดยกรมควบคุมมลพิษปี 2562ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste)อยู่ที่ 400,000ตันนี่คือสิ่งที่เราควรต้องให้ความสำคัญและบริหารจัดการร่วมกันก่อนจะสายเกินไป

“ตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส เริ่มทำโครงการคนไทยไร้ E-Waste ภายใต้เป้าหมาย 3 ส่วน คือ 1.สร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิก์ 2.ให้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัด 3.นำไปสู่การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง”


นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

“ในปีนี้ 2565 ประเทศไทยจะไม่มีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกต่อไป ถ้าหากมีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข่งระหว่างภาคเอกชน และการทำงานของส่วนราชการ การแก้ไขปัญหาต่างๆ จะสามารถเกิดขึ้นได้”

ทั้งนี้ ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในประเทศมีมากกว่า 400,000 ตันต่อปี แต่มีการเก็บรวบรวมและนำไปจัดการอย่างถูกต้องเพียง 500 ตัน ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้ตามบ้านเรือน ขายเป็นสินค้ามือสอง ขายให้รถเร่/ซาเล้ง

นอกจากนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2557 มีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในปริมาณประมาณ 900 ตัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 ปริมาณนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมากกว่า 50,000 ตัน

ทั้งนี้ ยังมีการตรวจพบโรงงานและสถานประกอบกิจการถอดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการอย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการรวบรวมและนำไปจัดการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” มีเป้าหมายในการปลูกจิตสำนึกคนไทยให้เข้าใจและตระหนักถึงการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมในการกำจัด ผ่านการจัดทำถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ให้สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ซึ่งประกอบไปด้วย โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ, หูฟัง มาทิ้ง ได้ ณ จุดบริการของ AIS และจุดบริการของภาคีเครือข่ายซึ่งปัจจุบันมีแล้วมากกว่า 2,300 จุดทั่วประเทศ เมื่อรวมกับความร่วมมือในครั้งนี้จะมีจุดรับทิ้งขยะฯ เพิ่มเติมอีกราว 100 จุด

ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้ามาให้การสนับสนุนเป็นอีก 1 ภาคีเครือข่ายหลัก รวมกว่า 130 แห่ง ทำให้ยกระดับภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste สู่วาระแห่งชาติ ในการขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste)

พร้อมร่วมบูรณาการส่งต่อองค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกคนไทย ผ่านการทำงานของ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ที่จะเป็นตัวแทนหลักที่เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับโทษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) รวมถึงการให้ข้อมูลการจัดเก็บและทิ้งอย่างถูกวิธี ตลอดจนส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในชุมชนอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” สามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของสมาร์ทโฟนได้ราว 1 แสนเครื่อง เมื่อรวมกับทุกๆ อุปกรณ์จะได้เป็นปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 6.3 ตัน และนำส่งให้กับ บริษัท เทส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill


กำลังโหลดความคิดเห็น