เลขาธิการ กสทช. เผย เตรียมออกมาตรการหนุนการศึกษาออนไลน์หลังรัฐเลื่อนเปิดเทอมเป็น 1 ก.ค. 2563
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้สำนักงานกสทช.จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการออกมาตรการช่วยเหลือนักเรียนนักศีกษา ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดในภาวะวิกฤติไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลังจากที่ได้หารือร่วมกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา
เบื้องต้นหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้เลื่อนเปิดภาคการศึกษาไปเป็นวันที่ 1 ก.ค.นั้น ระหว่างนี้อาจจะมีการให้เลื่อนออนไลน์หรือมีการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียน ทางสำนักงานกสทช.จึงจะเคาะมาตราการช่วยเหลือใน 3 ช่องทางในด้านการศึกษาออนไลน์จากที่บ้าน (เลิร์น ฟอรม โฮม) ประกอบด้วย 1.จะเปิดให้เรียนผ่านทีวีดาวเทียม 12 ช่อง 2.ผ่านทีวีดิจิทัลทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ 3.ผ่านโครงการอินเทอร์เน็ตชายขอบ (โซนซี) ผ่านบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต เซอร์วิสและโมบาย อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส ซึ่งกำลังหารือว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไร
"เดิมมีความคิดว่าจะให้เลิร์น ฟอรม โฮม ผ่านเน็ตชายขอบเพียงอย่างเดียว เพราะมีการติดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนไปแล้วจากโครงการเน็ตชายขอบ แต่พอดูจำนวนที่ให้บริการได้ก็กลัวว่าจะไม่ครอบคลุม จึงต้องมีการให้บริการผ่านระบบทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิทัลควบคู่กันไป" นายฐากร กล่าว
นายฐากร กล่าวต่อว่า ส่วนของโครงการเน็ตชายขอบนั้นจากจำนวนที่สำนักงานกสทช.รับผิดชอบคือ 3,920 แห่ง แต่สามารถใช้งานจริงได้เพียง 2,936 แห่ง โดยหักหมู่บ้านที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถส่งมอบโครงการได้ เนื่องจากไม่แล้วเสร็จ และการใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งก็ไม่ตรงตามเงื่อนไขสัญญา (ทีโออาร์) จำนวน 901 แห่ง และหักหมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่าสงวนจำนวน 54 แห่ง และ สุดท้ายหมู่บ้านที่ไม่ขอรับบริการมีจำนวน 29 แห่ง
สำหรับเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว กสทช.ได้ชี้แจงชัดเจนถึงเงื่อนไขในการรับงานเพื่อจ่ายเงินค่าจ้างตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นชอบ ได้แก่ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนจุดบริการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ชุดอุปกรณ์ Internet Node (OLT) ตู้พัก SDP (Aerial Outdoor Splitter) ชุดหัวต่อ (Aerial Straight Joint Closure) สายใยแก้วนำแสง (Drop Optical) 2 แกน ที่ต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ USO Network และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (Wi-Fi) หมู่บ้าน กับโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล (รพ.สต.) ตามจำนวนจุดบริการที่ได้ตรวจสอบครบถ้วนถูกต้องและมีคุณภาพสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาเดิม
และต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังจุดบริการของการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) กลุ่มที่ 2 (ภาคเหนือ 2) และกลุ่มที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้รับมอบบริการจากผู้ให้บริการกลุ่มดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตแบบ Dynamic IP แก่หน่วยงานหรือบุคคลที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ในอัตราที่กำหนดของสัญญาเดิมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาบริการระยะที่ 2