“การตัดสินใจยกเลิกสัญญาบางส่วนในโครงการเน็ตชายขอบกับทีโอทีนั้นเป็นสิ่งที่กสทช.ทำดีที่สุดแล้วสำหรับทีโอที เราไม่ได้ก้าวก่ายเรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น แต่เราต้องการหาจุดที่ลงตัวมากที่สุด และโครงการต้องเดินต่อไปได้’ ฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงบทสรุปของเล่ห์การยื้อไปมาในโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C +) หรือ เน็ตชายขอบ ที่บริษัท ทีโอทีจำ กัด (มหาชน) รับผิดชอบ
หมดเวลายื้อ ดื้อไปก็เท่านั้น
แต่ ทีโอที กลับไม่ทำตามสัญญาโครงการแถมเล่นเกมยื้อเวลาไปมาเพื่อจะดันทุรังโครงการที่ทำ ผิดสเปกและผิดขั้นตอนให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ทำให้ทีโอทีนอกจากต้อง “ขาดทุน” เพราะโครงการไม่เสร็จตามสัญญาแล้วยังต้อง “ขายหน้า” เพราะทำโครงการระดับประเทศไม่สำเร็จตามสัญญาทั้งๆที่เอกชนรายอื่นก็ได้สัญญาแบบเดียวกันแต่กลับส่งมอบกันได้ทันกำหนดเวลา
“กสทช.ได้ส่งหนังสือยกเลิกสัญญากับทีโอทีเมื่อวันที่ 4 ต.ค.2562 หลังจากที่ กสทช.ได้ให้โอกาสในการขยายระยะเวลาในการส่งมอบให้แล้ว จากเดิมทีโอทีต้องส่งมอบตั้งแต่ 27 ก.ย. 2561และขยายให้เป็น15 ก.ย. 2562แต่ทีโอทีก็ไม่สามารถส่งมอบได้ไม่แก้ไข แถมยังจะขอขยายระยะเวลาอีก”
เมื่อ กสทช.ไม่สามารถให้โอกาสได้อีกต่อไป แม้ว่าจะได้ขยายระยะเวลาให้แล้วก็ตาม แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ทีโอทีทำ ก็คือการดื้อด้านขอขยายระยะเวลาไปอีก จึงกลายเป็นที่มา “กสทช.จะไม่ทน คนอย่างเธอ” ต้องรีบประกาศยกเลิกสัญญากับทีโอทีเมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค. 2562 และเรียกตัวแทนโครงการของทีโอทีตั้งโต๊ะเจรจาอย่างเป็นทางการ 2 รอบ คือเมื่อวันที่ 22 ต.ค. และ วันที่ 30 ต.ค. 2562 เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการรับงานบางส่วนที่ถูกต้องตรงสเปกของสัญญา เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกสทช. และล่าสุดได้ส่งหนังสือยกเลิกสัญญาบางส่วนไปยังทีโอทีแล้วเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2562 ที่ผ่านมา
“ฐากร” มั่นใจว่า ปีใหม่ฟ้าใหม่ 2563 นี้ทีโอทีต้องได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวแล้วอย่างแน่นอน และขอให้ทีโอทีตอบกลับมาภายใน 7 วัน และไม่มีทางที่จะยืดเยื้อหรือคัดค้านหนังสือฉบับนี้แต่อย่างใด
“จะรับหรือไม่รับ ก็จำเป็นต้องรับและทำตามนี้เท่านั้น” เพื่อให้ทีมที่ปรึกษาโครงการใช้เวลา 30 วัน ในการตรวจรับงานครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะดำ เนินการเปิดประมูลรอบใหม่โดยเร็วและคาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลรายใหม่ภายในเดือนมี.ค.2563
เปิดหนังสือยกเลิกสัญญา
สำหรับหนังสือแจ้งรายละเอียดและเงื่อนไขการดำเนินงานภายหลังการบอกเลิกสัญญา (บางส่วน) โครงการเน็ตชายขอบส่วนที่ 1 การจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) กลุ่มที่ 2 ภาคเหนือ 2 และกลุ่มที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่อแววว่าทีโอทีจะอ่วมหนัก เพราะนอกจากจะได้รับเงินเฉพาะที่กสทช.เห็นควรว่าถูกต้องตามขั้นตอนการทำงานตามสัญญาที่ระบุแล้ว ทีโอทียังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กับที่ปรึกษาโครงการในการเดินทางไปสำรวจโครงการแต่ละแห่งที่อยู่ห่างไกลอีกด้วย เพราะค่าใช้จ่ายนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของทีโอทีเอง
แม้ว่าที่ผ่านมา ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) “พุทธิพงษ์ปุณณกันต์” ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและ “น.อ.สมศักดิ์ขาวสุวรรณ์”อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาอดีตรองปลัดกระทรวงดีอีเอส และอดีตประธานบอร์ด ทีโอทีแต่ปัจจุบันยังคงนั่งตำ แหน่งประธานยุทธศาสตร์ทีโอทีและ กรรมการตรวจสอบโครงการเน็ตชายขอบทีโอทีจะพยายามให้ข่าวแบบกำ กวมว่า โครงการเน็ตชายขอบของทีโอทีไม่มีปัญหาและสามารถขยายระยะเวลาด้วยความใจดีของกสทช.ก็ตาม รวมถึงผลสอบโครงการเพื่อหาไอ้โม่งที่เห็นอยู่ทนโท่ถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้โครงการเกิดปัญหา ยังเดินลอยชายสบายใจอยู่ในทีโอทีเพราะผลสอบอาจได้ข้อสรุปชาติหน้า สวนทางภาพลักษณ์ที่พยายามเชิดชูว่าเป็นองค์กรโปร่งใส
แต่กับความเป็นจริงในวันนี้ก็คือ สิ่งที่ทีโอทีจะได้เงินค่าจ้างจาก 3 สัญญา วงเงินรวม 6.4 พันล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ได้แก่ 1. โครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) ภาคเหนือ 2 มูลค่า 2.1 พันล้านบาท 2.โครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.4 พันล้านบาท และ 3.โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) 1.8 พันล้านบาท
ก็จะมีเพียงสัญญาเดียวคือโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (Mobile Service) 1.8 พันล้านบาท ที่ทีโอทีจะได้รับค่าจ้างเต็มตามสัญญา
ส่วนอีก 2 โครงการ 4.5 พันล้านบาท กสทช.รับมอบและจ่ายค่าจ้างได้แค่บางส่วนได้แก่อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนจุดบริการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ชุดอุปกรณ์ Internet Node (OLT) ตู้พัก SDP (Aerial Outdoor Splitter) ชุดหัวต่อ (Aerial StraightJoint Closure) สายใยแก้วนำแสง(Drop Optical) 2 แกนที่ต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ USO Network และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (Wi-Fi) หมู่บ้าน กับโรงเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล (รพ.สต.) ตามจำนวนจุดบริการที่ได้ตรวจสอบครบถ้วนถูกต้องและมีคุณภาพสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นไปตามข้อกำ หนดในสัญญาเดิม และต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังจุดบริการของการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) กลุ่มที่ 2(ภาคเหนือ 2) และกลุ่มที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้รับมอบบริการจากผู้ให้บริการกลุ่มดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตแบบ Dynamic IP แก่หน่วยงานหรือบุคคลที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ในอัตราที่กำหนดของสัญญาเดิมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาบริการระยะที่ 2
ส่วนศูนย์ USO Net ทีโอทีสามารถทำ ตามเงื่อนไขสัญญาที่ต้องทำ ตาม 8 ขั้นตอนได้ครบถ้วนและสามารถรับเงินค่าจ้างได้เพียง 9 อาคาร เท่านั้น จากจำ นวนทั้งสิ้น 391 อาคาร
ทั้งนี้ทีโอทีอ้างว่าสามารถทำได้จริง 138อาคารแต่ที่ปรึกษายึดหลักการตรวจงานที่ต้องดำ เนินการและถ่ายรูป 8 ขั้นตอนนั้น ทำให้ตรวจรับได้จริงแค่ 9 อาคาร ที่เหลืออีก 129 อาคารที่ไม่ดำเนินการตาม 8 ขั้นตอนของสัญญานั้น ที่ปรึกษาจะดำเนินการลงไปยังพื้นที่ทั้ง 129 อาคารเพื่อตรวจสอบโครงสร้างว่าได้มาตรฐาน และแข็งแรงปลอดภัยหรือไม่จึงค่อยพิจารณารับเฉพาะในส่วนที่สามารถรับได้
รวมถึงอาคารอีก 253 อาคาร ที่เสร็จไม่ทันตามกำหนดด้วย ที่ปรึกษาก็จะดำเนินการลงไปสำรวจพื้นที่และรับเฉพาะงานที่ทดสอบแล้วว่าแข็งแรง ปลอดภัยและได้มาตรฐานเท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทีโอทีต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งกสทช.จะหักจากเงินค่าจ้างที่ต้องให้ทีโอทีซึ่งที่ปรึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อเปิดโครงการในส่วนที่ค้างให้เอกชนรายอื่นเข้ามาประมูลโครงการต่อไป
ที่สำคัญ กสทช.ขอให้ทีโอทีหรือ ผู้รับจ้างช่วง หยุดดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมเพราะ กสทช.ได้แจ้งไปยังตัวแทนทีโอทีที่มาร่วมประชุมแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.2562 ที่ผ่านมา หากพบว่ามีการทำเพิ่มเติม กสทช.จะไม่รับผิดชอบจ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แต่อย่างใด หากรวมกับค่าปรับ กว่า 800 ล้านบาทหลังจากที่กสทช.สั่งยกเลิกสัญญาและค่าจ้างที่จ่ายแบบเสียเปล่าไปก่อนหน้านั้น ดูท่าแล้วทีโอทีน่าจะอ่วมอยู่ไม่น้อย
แต่ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือต้องมีคนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่ารมต.พุทธิพงษ์ในฐานะเจ้ากระทรวงต้นสังกัด สารพัดกรรมการบอร์ดทีโอทีไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน ที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริหารทีโอทีฟาดกันปากมัน หากหาคนผิดทำทีโอทีเสียหายไม่ได้ ก็ควรลาออกกันให้หมดอย่าอยู่ต่อให้อายลูกหลานเลยจะดีกว่า.