xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อกูเกิลเลือกนำ AI มาช่วยเสริมบริการ ส่งตรงจาก “Google IO 2018”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บนเวทีงานประชุมพัฒนาประจำปีของกูเกิล (Google IO 2018) ซุนดาร์ พิชัย ซีอีโอ กูเกิล ขึ้นมากล่าวแนะนำถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทางกูเกิลกำลังพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำ AI มาใช้งาน พร้อมกับยกตัวอย่างบริการ และฟีเจอร์ที่จะได้เห็นกันเร็วๆ นี้


เริ่มกันจากตัวอย่างง่ายๆ ด้วยการนำ AI มาใช้งานร่วมกับ Gmail โฉมใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวออกมา ที่ช่วยให้สามารถเขียนอีเมลได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการนำ AI มาคาดเดาประโยคต่อไปที่ต้องการเขียน รวมถึงการดึงข้อมูลสถานที่ ตารางนัดหมายต่างๆ มาใส่ให้แบบอัตโนมัติ เพียงแค่คลิกเลือกบนหน้าจอ


ใน Google Photos มีการนำ AI เข้ามาช่วยเพื่อแยกว่าในรูปที่ถ่ายมีเพื่อนคนไหนอยู่บ้าง ช่วยให้สามารถแชร์รูปภาพให้กับเพื่อนๆ ได้ง่ายภายในคลิกเดียว เพิ่มฟีเจอร์ในการแปลงเอกสารจากรูปภาพเป็นไฟล์ PDF ฟีเจอร์การดึงสีเฉพาะที่ต้องการ และการใส่สีให้แก่รูปขาวดำ



ส่วนใน Google Assistant ที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะทางกูเกิล ได้มีการนำเทคโนโลยีในการสังเคราะห์เสียงรูปแบบใหม่มาใช้ในชื่อ wavenet และมีแผนที่จะเพิ่มเสียงพูดให้หลากหลายมากขึ้น โดยมีไฮไลท์ คือ การนำศิลปินดังอย่าง John Legend มาให้เสียงแก่ Assistant ด้วย ที่จะเปิดให้ใช้งานในช่วงสิ้นปีนี้

สำหรับความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ Assistant จะมีทั้งการรับคำสั่งที่หลากหลายมากขึ้นในประโยคเดียว (Multiple Action) โต้ตอบกลับมาในรูปแบบของการพูดคุยมากขึ้น ที่น่าสนใจ คือ สามารถสั่งให้ Assistant ช่วยโทรไปนัดหมายกับร้าน หรือบริการต่างๆ ได้

src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fcbizonline%2Fvideos%2F1639254506110801%2F&width=500&show_text=false&height=280&appId"width="500"height="280"style="border:none;overflow:hidden"scrolling="no"frameborder="0"allowTransparency="true"allow="encrypted-media"allowFullScreen="true">
โดยบนเวที ได้มีการแสดงตัวอย่างของการโทรไปนัดหมายร้านตัดผม และร้านอาหาร โดยทาง Assistant จะใช้การโทรเข้าไปนัดกับร้านเพื่อแจ้งตารางนัดหมายที่ต้องการ ซึ่งลักษณะการโต้ตอบจะเหมือนคุยกับคนปกติ แต่แน่นอนว่าเบื้องต้นยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษ และภาษาหลักๆ ก่อน

***Android P ที่ง่าย และฉลาดขึ้น

ถัดมา ฟีเจอร์ที่จะเพิ่มขึ้นในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์รุ่นใหม่ (Android P) อย่างหน้าแสดงผลการใช้งาน (Dash board) ที่จะคอยบอกว่าเปิดเครื่องใช้งานมากี่นาที ใช้งานแอปใดไปบ้าง แต่ละแอปมีการใช้งานดาต้า หรือพื้นที่เก็บข้อมูลมากน้อยแค่ไหน

ในจุดนี้ กูเกิล มีการนำเสนอฟังก์ชันอย่างการตั้งเวลาในการใช้งานแอปแต่ละวัน (App Timer) ที่เมื่อใช้งานครบตามที่กำหนด ตัวแอปจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเพื่อแสดงว่าใช้งานครบตามที่กำหนดแล้ว หรือฟีเจอร์อย่างการเปลี่ยนหน้าจอเป็นสีเทาเมื่อถึงเวลานอนแล้ว



นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับการสั่งงานรูปแบบใหม่ ที่ง่าย และสะดวกมากขึ้น เปลี่ยนโฉมปุ่มโฮมเดิมที่เคยใช้ ให้กลายเป็นรูปแบบการสั่งงานใหม่ อย่างการลากนิ้วขึ้นเพื่อเข้าสู่การดูแอปที่ใช้งานล่าสุด ซึ่งสามารถสลับหน้าต่างในการใช้งานได้ทันที

รวมถึงการปรับระดับเสียงที่แสดงผลให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น การปรับหมุนหน้าจอที่จะมีสัญลักษณ์ขึ้นแสดง เพื่อให้กดและปรับหมุนหน้าจอจากแถบควบคุมได้ทันที ไม่ต้องเข้าไปกดจากหน้าการตั้งค่าอีกต่อไป



ทั้งนี้ อินเตอร์เฟสใหม่ของ Android จะมาพร้อมกับ Android P แก่สมาร์ทโฟนในตระกูล Pixel และ Android One เร็วๆนี้ฤดูหนาว โดยผู้ที่อยากลองก่อนสามารถเข้าไปลองในโครงการ Android Beta ที่นอกจากเครื่องในตระกูล Pixel จะสามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ยังรวมถึงอีก 7 แบรนด์

ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานแบตเตอรีให้ยาวนานขึ้น (Adaptive Battery) ด้วยการนำ AI มาเลือกปิดการใช้งานซีพียู ที่ไม่จำเป็น การปรับความสว่างหน้าจออัตโนมัติ (Adaptive Brightness) และความฉลาดของแอนดรอยด์ในการนำเสนอ Action ที่จะทำหลังจากใช้งานแอป หรืออย่างการเสียบหูฟัง ก็จะมีขึ้นมาถามว่าต้องการเปิดแอปเล่นเพลงหรือไม่



***ยกเครื่อง Google News

อีกส่วนที่ทางกูเกิล มีการปรับปรุง และให้ความสำคัญมากขึ้น คือ เรื่องของข้อมูลข่าวสาร ที่จะมาแสดงผลบน Google News ที่จะพัฒนาขึ้นมาบน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การนำเสนอข้อมูลที่ตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ 2. เลือกนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

สิ่งที่น่าสนใจ คือ การที่กูเกิลทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์ต่างๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกติดตามทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงินได้จากใน Google News ทันที ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่สำนักพิมพ์ที่มีความน่าเชื่อถือด้วย

***Maps ที่ดึงภาพมาช่วยในการนำทาง

ที่ผ่านมา การนำทางบนกูเกิล แมปส์ จะใช้การระบุตำแหน่งของ GPS เป็นหลัก แต่สิ่งที่กูเกิลทำ คือ การนำภาพมาช่วย เพื่อแสดงแผนที่นำทางในรูปแบบใหม่ ที่แสดงให้เห็นภาพจากสถานที่จริง ด้วยการนำ VR มาใช้ ในการระบุตำแหน่งสถานที่ และทิศทางที่ต้องไป

กูเกิล เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า VPS (Visual Position Systems) ที่จะนำภาพจากกล้อง มาผสานเข้ากับ Google StreetView และยังสามารถนำเทคโนโลยี AR มาใช้อย่างการใส่ตัวการ์ตูนเข้าไปช่วยนำทางได้

ถัดมา คือ การปรับปรุงการแสดงผลด้วยการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ว่าในสถานที่ต่างๆ มีจำนวนคนมากน้อยแค่ไหนใช้เวลาอยู่ในสถานที่ต่างๆ นานเท่าใดรวมถึงแนะนำสถานที่ใหม่ๆ รอบตัวโดยดึงจากพฤติกรรมการใช้งานที่ผ่านมา และแนะนำสถานที่ตามความชอบส่วนบุคคล




ยังมีฟีเจอร์ในการสร้างลิสต์สถานที่ต่างๆ อย่างการเลือกร้านอาหาร 4-5 ร้านมารวมกันแล้วส่งให้เพื่อนๆ เลือกผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ หลังจากนั้น ก็จะมีหน้าโหวตเลือกร้านอาหารขึ้นมาช่วยให้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารในการนัดหมายได้สะดวกขึ้น

***ยกระดับกล้องด้วย Google Lens

อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจ หลังจากที่กูเกิลเริ่มนำเสนอ Google Lens หรือการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพ โดยจุดที่น่าสนใจ คือ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์หลักๆ ไม่ว่าจะเป็น แอลจี โมโตโรล่า เสี่ยวมรา โซนี่ โนเกีย เอซุส และแบรนด์อื่นๆ จะเริ่มนำมาใช้ในโหมดกล้องของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ หลังจากนี้

สำหรับความสามารถที่เพิ่มเข้ามาของ Google Lens จะมีทั้งฟีเจอร์การเลือกข้อความ (Smart text selection) ที่สามารถคัดลอกข้อความจากในรูปภาพไปค้นหาข้อมูล หรือเลือกทำงานร่วมกับแอปต่างๆ ได้ทันที

นอกจากนี้ ยังมีโหมดอย่าง Style match ที่ใช้เพื่อค้นหารายละเอียดของเสื้อผ้า และโหมดอย่าง Real-time result ที่จะแสดงผลการค้นของสิ่งของ หรือสถานที่ต่างๆ ภายในโหมดกล้องให้ใช้งานแบบเรียลไทม์

จะเห็นได้ว่า ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่กูเกิล เปิดตัวภายในงาน Google IO 2018 ด้วยการนำ AI มาใช้เพิ่มศักยภาพถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถนำมาใช้งานได้จริงทำให้น่าสนใจว่า หลังจากที่เหล่านักพัฒนาเห็นถึงความสามารถเหล่านี้แล้ว จะมีการผลิตแอปที่จะมาช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นมากแค่ไหน


กำลังโหลดความคิดเห็น