ความท้าทายของธุรกิจเอสเอ็มอี เมื่อเริ่มเข้าสู่ดิจิตอล 4.0 คือ ความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องพัฒนาให้ทันต่อการแข่งขันในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ ทุกอย่างต้องเร็ว ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด นวัตกรรมเทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบการสร้างโอกาสทางธุรกิจและบริการแบบใหม่ ๆ ดังนั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีที่เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ย่อมมีโอกาสได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจมากกว่า สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด Cisco START เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น มีโซลูชันที่ช่วยบริหารจัดการและลดต้นทุน รวมถึงจัดการงานไอทีให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจนช่วยเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหมดกังวลเรื่องความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ด้วยความง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย
มุมมองของผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอล
โฮมฮับ (Home HUB) ห้างค้าวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ที่มีสาขาครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี, อุดรธานี และขอนแก่น มองการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจถือเป็นตัวช่วยพัฒนาทั้งในและนอกองค์กรพร้อมลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
นายชาตรี ตั้งมิตรประชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮมฮับ จำกัด ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา โฮมฮับมีการลงทุนไอทีอย่างต่อเนื่อง และแสดงให้เห็นว่า การลงทุนเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายได้จริงที่โฮมฮับ เราเลือกที่จะลงทุน และดูแลระบบสารสนเทศเอง เพราะเรามีทีมงานไอทีที่มีความชำนาญ เราใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงาน และต้องการต่อยอดประสิทธิภาพอินเทอร์เน็ต เราเลือกใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพราะเราต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารกับพนักงานที่อยู่ตามสาขาต่าง ๆ ได้อย่างพร้อมเพรียง รวดเร็ว แม่นยำ และมองถึงความปลอดภัยของการรักษาข้อมูล รวมถึงช่วยลดเวลาในการเดินทางให้พนักงานด้วย และสิ่งที่ตามมาคือลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการเดินทาง โดยบริษัทได้นำโซลูชั่น Cisco Collaboration คือ WebEX ซึ่งเป็นคลาวด์เบสโซลูชัน เพื่อการประชุมแบบเห็นหน้าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต เหตุผลที่เลือก WebEx เนื่องด้วยเราต้องการความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้มาประมาณสองปี รองรับการทำงานผ่านทุกอุปกรณ์ สามารถแสดงเอกสาร รูปภาพ แชทไปพร้อม ๆ กับวิดีโอคอลประชุมทีละหลายคนได้ โดยลงทุนในรูปแบบ license ปีละ 3 หมื่นบาท โดยปกติทางบริษัทจะมีการประชุมทุกเดือน แต่ละครั้งเสียค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมไม่ต่ำกว่าครั้งละ 15,000 บาท นั่นแสดงให้เห็นว่า เราคุ้มทุนภายในสองเดือน นอกจากเราสามารถลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงได้อย่างมหาศาลแล้ว เราได้คุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
สำหรับโฮมฮับ เราอยากเป็นผู้บริหารจัดการระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีของเราเอง เพราะเรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ และเราสามารถวางแผนการลงทุนด้านเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
บริษัทแอดไวซ์ โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป (AVH) บริษัท จำหน่ายปลีก-ส่ง สินค้าไอที และสมาร์ทโฟน ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และหน้าร้าน ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย และ สปป.ลาว กว่า 350 สาขา เทคโนโลยีต้องช่วยลดภาระผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการระบบไอที เพื่อผู้ประกอบการจะได้ไปโฟกัสการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ และความรวดเร็วในการขยายสาขา
นายอมร ทาทอง ผู้ร่วมก่อตั้งและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอดไวซ์ โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป (AVH) เปิดเผยว่า แอดไวซ์ฯ นำเทคโนโลยีมาช่วยทั้งในส่วนของการบริการลูกค้า และการจัดการภายใน ซึ่งช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น แอดไวซ์เลือกใช้บริการคลาวด์ของไอเน็ต ที่ช่วยให้การขยายสาขาเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และลดภาระต้นทุนอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ รวมถึงบุคลากรที่ต้องมาดูแลระบบ ด้วย INET VDI (Virtual Desktop Infrastructure) แอดไวซ์สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนส่วนบุคคลได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อต้องการขยายสาขา เราไม่ต้องเสียเวลาเลือกอุปกรณ์ สั่งซื้อ ติดตั้ง ซี่งยุ่งยากและซับซ้อน ระบบคลาวด์สตอเรจทำให้เราสามารถเก็บและแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ เรามีเจ้าหน้าที่ไอที แต่วันนี้เจ้าหน้าที่ของเราไม่ต้องนั่งเฝ้าระบบอีกต่อไป เขาสามารถทำงานที่สร้างศักยภาพด้านการแข่งขันได้มากขึ้น สิ่งสำคัญที่ตามมา คือ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบสารสนเทศในวันนี้ เราสามารถทราบและประมาณการเป็นรายเดือนได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
นายอมร กล่าวเสริมว่า วันนี้เราปฏิเสธเทคโนโลยีไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีเป็นฐานในการขับเคลื่อนการให้บริการต่าง ๆ ของธุรกิจ หากแต่การเลือกใช้เทคโนโลยีต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้พัฒนาเทคโนโลยีกับผู้ใช้เทคโนโลยี จำเป็นต้องปรับเพื่อสร้างเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานได้จริง ๆ มากกว่าการสร้างระบบเพื่อให้เกิดภาระของการใช้งาน หรือธุรกิจ ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการที่เข้าใจธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เทคโนโลยีต้องตอบโจทย์ธุรกิจใช้งานง่าย และปลอดภัย
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่าธุรกิจขนาดกลาง ถือว่าเป็นฟันเฟืองที่สำคัญของการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยจำนวนธุรกิจขนาดกลางที่มีกว่า 90% และใช้แรงงานกว่า 80% ของประเทศ แต่กลับสร้างรายได้เพียง 40% เท่านั้น ถือว่าใช้คนเยอะแต่สร้างรายได้ได้น้อย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งการใช้แรงงาน 70% ควรจะสร้างรายได้ให้กว่า 50% หากมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องยากที่ธุรกิจเอสเอ็มอี จะเข้าถึงเทคโนโลยีคุณภาพ แต่ปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่หลากหลาย พร้อมที่จะนำโซลูชันทางด้านไอทีเข้ามาช่วยเสริมธุรกิจให้ถึงที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ การลงทุนในส่วนเทคโนโลยีเพื่อเข้าไปแทนที่แรงงานคนที่อาจจะยังใช้งานไม่คุ้มค่า ซึ่งความสามารถของคนมีค่ามากกว่านำไปใช้ในงานประจำแบบเดิม ๆ ที่เทคโนโลยีสามารถเข้าไปทำแทนได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น การเข้าไปแทนที่ตรงนี้จะช่วยให้เกิดความได้เปรียบของการแข่งขันธุรกิจมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนคนอาจจะมองซิสโก้เป็นโซลูชันสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ มาวันนี้ซิสโก้ ได้ปรับโซลูชันให้เหมาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี และขนาดกลาง สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ของซิสโก้ที่คุณภาพระดับองค์กรได้แล้วผ่านแคมเปญ Cisco START เพื่อช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับธุรกิจ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Cisco START มีทั้งตัวฮาร์ดแวร์ที่เป็นอุปกรณ์ เพื่อการเชื่อมต่อ การรักษาความปลอดภัย การประมวลผล อุปกรณ์เครือข่าย และกลุ่มซอฟต์แวร์บนคลาวด์ เพื่อการประสานงานกันในองค์กร
การเปิดตัวของ Cisco START เป็นสัญญาณของการให้พันธะสัญญาณอย่างต่อเนื่องของเราต่อธุรกิจเอสเอ็มอี และตลาดขนาดกลาง พร้อมขับเคลื่อนอนาคตของดิจิตอลในประเทศ ซิสโก้มีความตั้งใจที่จะให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่าย (Simple) ปลอดภัย (Secure) และชาญฉลาด (Smart) ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยปรับปรุงธุรกิจ และนำหน้าคู่แข่งในยุคดิจิตอล
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cisco START สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.cisco.com/c/m/th_th/cisco-start-promotion.html?stickynav=1
นายวัลล์ชัย เวชชีวะดำรงค์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET กล่าวว่า เมื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าถึงผู้คนมากขึ้นการทำงานทั้งหมดจะวิ่งผ่านระบบคลาวด์ และเกิดการใช้งานและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น นับเป็นโอกาสการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางที่ไม่เพียงแค่การสื่อสารจะส่งผ่านไปถึงเพียงแค่เสียง หรือข้อความเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงองค์ความรู้ และการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ผ่านการสื่อสารเหล่านั้นด้วย
โอกาสของการทำธุรกิจของเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดกลาง ในอนาคตจะเติบโตแบบก้าวกระโดด หากสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และมีความพร้อมในการใช้งาน ด้วยขนาดที่เล็ก และคล่องตัวมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้สามารถดึง Ecosystem มาใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถขยายโอกาสทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากนั้น ก็จะเกิดการโตขึ้นของธุรกิจขนาดกลางบนระบบแพลตฟอร์มบางอย่าง โดยเราเชื่อว่า ประเทศไทยก็มีโอกาสนั้นซ่อนอยู่ ธุรกิจที่มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีสามารถที่จะเลือกโซลูชัน และบริหารจัดการได้เองเหมือนอย่างโฮมฮับ ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ต้องการให้ความสำคัญกับธุรกิจหลักของตนเอง และปลดปล่อยภาระด้านเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถเลือกใช้บริการคลาวด์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เหมือนอย่างแอดไวซ์
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)