ปัจจุบันต้องยอมรับกระแสดิจิตอลที่มาแรงมาก และเปลี่ยนโลก ไม่ว่าจะเกิดจากการประมูล 4G, Digital TV, Digital Marketing, e-Commerce, Digital Money, Digital Content, Smart Health, Mobile Commerce, Digital Advertising, Smart Education, Digital Products, Smart Applications ผ่านเทคโนโลยี เช่น Mobile/Fixed Broadband, FTTx, Internet of Things (IoT), M2M, Big Data, Social Media และ Wearable Device
ยิ่งประเทศไทยด้วยแล้ว ประเทศที่มีจำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึง 150% ของประชากรนับว่าเป็นลำดับ 1 ของโลกจากการจัดลำดับ Networked Readiness Index (NRI) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2558 โดย World Economic Forum (WEF) อีกทั้งมีการขยายตัวของโซเชียลมีเดียอย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยมีผู้ลงทะเบียนแอปพลิเคชันไลน์กว่า 33 ล้านราย นับว่ามากเป็นลำดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่น และเฟซบุ๊ก 35 ล้านราย รัฐบาลเล็งเห็นถึงโอกาส และความท้าทายต่อกระแสดิจิตอล จึงได้แถลงนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยจัดทำกรอบนโยบาย และเริ่มปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเสนอกฎหมายจัดตั้งกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่พัฒนาต่อยอดมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (DE) มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ มิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) โดยสาขาการจัดการธุรกิจดิจิตอล (DBM) ได้ทำการศึกษาและวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศจาก Focused Group ที่เข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ “Digital Economy กับอนาคตประเทศไทย” โดยมีระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่ง DBM ได้สร้างแบบจำลองเพื่อทำการวิจัยครั้งนี้ในชื่อว่า P-A-C-E ซึ่งมาจาก 4 มุมมอง คือ 1.ภาครัฐ (Public) 2.ภาคสถาบันการศึกษา (Academic) 3.ภาคชุมชน/สังคม (Community) และ 4.ภาคองค์กร (Enterprise) ทั้ง 4 มุมมองได้ผ่านการทดสอบสมมติฐานโดยมีระดับความเชื่อมั่น 95% ผลที่น่าสนใจตอบโจทย์การพัฒนา DE เรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1.ภาคสถาบันการศึกษา (Academic) 2.ภาครัฐ (Public) 3.ภาคองค์กร (Enterprise) และ 4.ภาคชุมชน/สังคม (Community)
การวิจัยพบว่าทั้ง 4 มุมมองมีความสัมพันธ์ต่อการสร้างนวัตกรรมของประเทศอันนำไปสู่เป้าหมายของประเทศในระยะยาว คือ Thailand 2020 (Stability-Prosperity-Sustainability) ผู้เข้าร่วมการเสวนามองว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดี แต่ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ และตระหนักมากขึ้น โดยภาคสถาบันการศึกษามีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา DE มากที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งพัฒนาทุนมนุษย์ยุคดิจิตอล บ่มเพาะองค์ความรู้ มันสมองและทักษะ (Brain Pool) ที่เหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต
รองลงมา คือ ภาครัฐที่ผลวิจัยเผยความกังวลว่า นโยบายจะไม่ต่อเนื่อง และไม่เป็นรูปธรรม ต้องมีกลไกการขับเคลื่อนอย่างเอาจริง มีเป้าหมายที่จับต้องได้ สำหรับภาคองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันยุคดิจิตอล (Digital Transformation) ในประเด็นนี้ทาง GMI เน้นไปที่ SMEs เนื่องจากมีอยู่มากกว่า 2.7 ล้านองค์กร คิดเป็นกว่า 97% ขององค์กรทั้งหมดของประเทศ และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสร้างแบบจำลองขึ้นมารองรับใน 6 ประเด็น คือ 1.Leader 2.Digital Customer 3.Digital Process 4.New Digital Business 5.Digital Capability และ 6.Government Support
สำหรับภาคชุมชน/สังคมนั้น งานวิจัยเผยผลตอบรับกระแสดิจิตอลมาแรงในแง่บริการใหม่ๆ เช่น Digital Money, Digital Education, Digital Health, Digital Marketing, Digital Advertising และ Smart City เป็นต้น จากงานวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับ Digital Money ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อน DE เรียงตามลำดับ คือ 1.Performance (ทำงานได้ดีขึ้น ประหยัดเวลา ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ฯลฯ) 2.Facilitating Condition (ธนาคาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ใช้งานจะต้องตระหนักถึงความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานก่อน) 3.Effort (ใช้ง่าย เร็ว ไม่ล่มบ่อย ฯลฯ) และ 4.Social Influence (ทำให้คนอื่นเห็นว่าใช้เทคโนโลยีเป็น ทันสมัย หรือใช้ตามคำแนะนำของครอบครัว เพื่อนฝูง ฯลฯ)
จากตัวอย่างงานวิจัยข้างต้น ตระหนักได้ถึงการรู้จริง รู้ลึกถึงบริบทการทำธุรกิจที่ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิงนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง แล้วมาเริ่มต้นพัฒนาตนเอง และองค์กรด้วยคำขวัญ “Doing Business in the new paradigm of digital age.” ไม่ไกลเกินจริงเลย เล็งจับโอกาสจากเทรนด์ดิจิตอลมาพัฒนาธุรกิจ เช่น 1.เข้าใจลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น (Digital Customer) 2.ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงาน (Digital Process/Operation) และ 3.พัฒนาธุรกิจรองรับกระแสใหม่ (New Digital Business หรือ Modified Current Product with Digital)
GMI ร่วมตอบสนองต่อเทรนด์ดิจิตอลด้วยการจัดตั้งสาขาการจัดการธุรกิจดิจิตอล (Digital Business Management Program) หรือ DBM ซึ่งต่อยอดจากสาขาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม และบรอดคาสติ้ง มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักศึกษา ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่สนใจในธุรกิจดิจิตอล และ/หรือ ธุรกิจอื่นที่เล็งเห็นโอกาสของดิจิตอลในการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร เป็นการผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรปริญญาโท MBA/MSc ที่มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพด้วยหลักสูตรเฉพาะทาง โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกร่วมกับสาขาเฉพาะทางอื่นๆ เพื่อเสริมทักษะ คุณธรรม ความรู้ และเน็ตเวิร์กกิ้ง เช่น สาขาการจัดการโครงการ สาขาการจัดการวิศวกรรมการเงิน สาขาการจัดการองค์กร สาขาการจัดการนวัตกรรม และสาขาการจัดการอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนั้น สาขา DBM ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเข้ามาร่วมพัฒนานักศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2559 ที่จบปริญญาตรีจากทุกสาขาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559 โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมงาน “เปิดบ้าน GMI” ได้ในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 09.00-12.30 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สอบถามรายละเอียด/ลงทะเบียน และสมัครได้ที่ http://gmi.kmutt.ac.th/mater_program หรือ โทร.0-2470-9799, 08-1444-1109 นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร Micro MBA in Smart Digital Business Management (SDBM) เป็นหลักสูตรระยะสั้น 36 ชั่วโมงได้เช่นเดียวกัน
Company Related Link :
GMI