xs
xsm
sm
md
lg

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผย 5 แนวโน้มหลักกำหนดทิศทางระบบไอทีและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ปี 2016

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เอเดรียน เดอ ลูกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิก
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผย 5 แนวโน้มหลักที่มีผลต่อทิศทางการกำหนดทิศทางสารสนเทศและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกในปี 2016 ชี้เทรนด์ดิจิตอลมาแรง ดันธุรกิจก้าวสู่การปรับตัวครั้งใหญ่ ตามด้วยเมืองอัจฉริยะ ระบบไอทีแบบ Cross-modal Multi-Cloud และกระแสการจ้างงานไอทียุคใหม่

เอเดรียน เดอ ลูกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า องค์กรต่างๆ จะเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สู่ระบบดิจิตอลในปีหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับรูปแบบการทำงานต่างๆ ทั้งฝ่ายที่เกี่ยว และไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอลกำลังจะกลายเป็นประเด็นสำคัญขององค์กรอย่างรวดเร็ว โดยผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ หรือซีไอโอ จะไม่ได้เป็นผู้นำหลักในการเปลี่ยน แต่ผู้บริหารในทุกภาคส่วนต่างๆ ในองค์กรจะเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารฝ่ายการตลาด หรือซีเอ็มโอ จะพบว่ากลยุทธ์การตลาดแบบเดิมๆ จะไม่ได้ผลอีกต่อไป ในขณะที่ผู้บริหารฝ่ายการเงิน หรือซีเอฟโอ จะพบว่ารูปแบบการทำธุรกรรมของลูกค้า และผู้จัดจำหน่ายได้เปลี่ยนไป ทุกภาคส่วนต้องปรับมุมมองใหม่ด้วยการใช้ระบบดิจิตอลมาช่วยในการทำงาน โดย 5 แนวโน้มหลักที่จะกำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกในปี 2016 มีดังนี้

1.องค์กรที่ไม่เคยปรับตัวจะก้าวสู่ระบบดิจิตอล จากผลสำรวจของ Gartner CIO Agenda Insights report ปี 2015 รายงานว่า ในปีที่ผ่านมา ซีไอโอคาดหวังว่ารายได้ของธุรกิจจากช่องทางดิจิตอลเพียงร้อยละ 16 แต่ในปีนี้ตัวเลขดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเกิน 2 เท่า ไปเป็นร้อยละ 37 จึงเป็นการตอกย้ำว่าการใช้ระบบดิจิตอลจะไม่ได้ถูกผลักดันจากฝ่ายสารสนเทศอีกต่อไป หากแต่ผู้นำของทุกภาคส่วนได้ริเริ่มสร้างแพลตฟอร์ม และหันมาใช้ระบบดิจิตอล เพื่อการใช้งานของฝ่ายด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าฝ่ายซีเอ็มโอจะไม่ไปหาแผนกสารสนเทศเพื่อสร้างระบบอีกต่อไป แต่จะไปหาผู้ให้บริการที่ให้บริการในรูปแบบ as a service ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการในภาพรวมของธุรกิจ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในเชิงรุก มากกว่าที่จะรอให้บริษัทผู้ค้า หรือคู่แข่งสร้างแพลตฟอร์มใหม่ขึ้นมา

2.บริษัทอัจฉริยะจะช่วยสร้างเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเมืองอัจฉริยะเป็นประเด็นที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสนใจมานานแล้ว โดยมีหลายประเทศเริ่มโครงการมากมายเพื่อตอบโจทย์ด้านต่างๆ ตั้งแต่ความปลอดภัยสาธารณะ จนถึงการเพิ่มศักยภาพระบบขนส่ง อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐบาลของเพียงไม่กี่ประเทศที่มีประสบการณ์ หรือช่องทางระดมทุนในการสร้าง และดำเนินโครงการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง หากแต่ต้องร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ได้ลงทุนในระบบ Internet of Things (IoT) และนำทรัพย์สินทางปัญญาของตนพร้อมกับพันธมิตรในกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาโซลูชันที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เป็นรูปธรรมได้ร่วมกัน โดยบริษัทอัจฉริยะต่างๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริง ในขณะที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ ได้เปิดโอกาสสำหรับโครงการใหม่ๆ เช่น Digital India, Smart Nation Singapore และ Digital China ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทในธุรกิจอุตสาหกรรมนี้จะมีมาก โดยมูลค่าการลงทุนเฉพาะด้านเทคโนโลยีในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า หรือเท่ากับ 11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 ตามที่บริษัทวิจัย Navigant Research ได้คาดการณ์ไว้

3.ระบบสารสนเทศแบบ Cross-modal จะรวมธุรกิจเป็นหนึ่งเดียว จากปัจจุบันองค์กรฝ่ายสารสนเทศจะมี 2 รูปแบบในการตอบสนองความต้องการขององค์กรดิจิตอล ได้แก่ รูปแบบที่ 1 แอปพลิเคชันที่รองรับระบบการบันทึกแบบเดิมๆ เช่น ระบบ CRM และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งระบบเหล่านี้ถูกสร้างภายใต้การคาดคะเนได้ ความแม่นยำ และการพร้อมใช้งานเพื่อรองรับข้อมูลที่มีความสำคัญต่อองค์กร

และรูปแบบที่ 2 ระบบสำหรับข้อมูลเชิงลึกที่ต้องอาศัยการทำงานเชิงลึก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล big data เพื่อนำเสนอมุมมองความเป็นไปของธุรกิจในเชิงลึกให้ผู้ใช้ สามารถทดสอบสมมติฐานบางประเภทได้โดยการจัดเรียงชั้นของชุดข้อมูล ระบบเหล่านี้ต้องอาศัยความคล่องตัว และความเร็วเพื่อให้องค์กรสามารถทดลองความคิดใหม่ๆ ให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และประหยัด พร้อมกับกำจัดสิ่งที่ไม่เกิดผล และพร้อมทดสอบสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา

ความจำเป็นในการรวมทั้ง 2 รูปแบบเข้าด้วยกันเพื่อสร้างระบบ cross-modal จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความคุ้มค่าสูงสุดในการดำเนินงาน และประสานระบบสำหรับการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ และการตอบสนองของลูกค้า โดยองค์กรที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ได้แก่ องค์กรที่สามารถเลือกใช้กระบวนการที่มีความคล่องตัวในการทำงาน และพร้อมนำเสนอ application programming interfaces (API) ซึ่งเป็นช่องทางตัวกลางการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ทำให้เกิดความรวดเร็วสำหรับการบริการด้านธุรกิจ และองค์กรที่สามารถสร้าง data lake สำหรับสินทรัพย์ดิจิตอล และสร้างมาตรฐานให้แก่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนจะอยู่รอดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

4.ระบบ Multi-Cloud ช่วยต่อยอดธุรกิจระหว่างภูมิภาค การเกิดขึ้นของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership (TPP) จะสร้างประโยชน์อย่างมากให้แก่ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ด้านเงื่อนไขการค้า และเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงการค้าดังกล่าว การลงทุนด้านโครงสร้างเทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาคเศรษฐกิจนี้ หลายองค์กรได้มีการริเริ่มเพิ่มศักยภาพให้ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมากขึ้น นอกจากนี้ ยังลงทุนด้านการพัฒนาการเชื่อมต่อความเร็วสูงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างพื้นที่สำคัญระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ก็กำลังมีการดำเนินการไปได้ด้วยดี

การเปิดตลาดจะมีผลกระทบต่อการใช้ระบบคลาวด์ และเพิ่มทางเลือกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยกว่าร้อยละ 70 ขององค์กรได้มีการใช้ หรือกำลังพิจารณาระบบ Hybrid Cloud ในปัจจุบัน รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ใน TPP เพื่อคุ้มครองข้อมูลนอกประเทศ และหลีกเลี่ยงภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญในการสร้างระบบ Multi-Cloud ระหว่างภูมิภาคเพื่อการขยายตัวทางธุรกิจต่อไปในอนาคต

5.การขาดแคลนทักษะจะสร้างกระแสการจ้างผู้เชี่ยวชาญ ในปี 2016 จะมีหลายปัจจัยกระทบต่อตลาดการจ้างงานในสายเทคโนโลยี ส่งผลให้หลายองค์กรต้องมองหาหนทางในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อ สร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศนี้ไม่ได้เกี่ยวกับแค่การสร้างเด็กจบใหม่ที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างสาขา data science หากต้องรวมถึงการสร้างศักยภาพให้แก่พนักงานในองค์กรที่มีอยู่เดิมเพื่อเติมเต็มช่องว่างในระยะยาว

ทั้งนี้ การทำงานของวัยทำงานในกลุ่ม Gen Z แตกต่างจากกลุ่มอื่นก่อนหน้านี้อย่างมาก เพราะพวกเขามีแนวโน้มในการทำงานโดยเฉลี่ย 17 ตำแหน่งงานตลอดช่วงชีวิตการทำงาน ซึ่งพวกเขาจะพัฒนาทักษะต่างๆ ที่หลากหลาย และในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้น องค์กรต้องหาช่องทางใช้ประโยชน์จากจุดนี้ เพราะคนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญต่อการมีส่วนช่วยสังคมมากกว่าตัวองค์กร อีกทั้งภาครัฐจะให้ความสำคัญต่อความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนรุ่นโดยการปรับตลาดแรงงาน นำเสนอแรงจูงใจทางภาษีรูปแบบใหม่ และผ่านกฎหมายที่อำนวยความสะดวกในการลงทุน เช่น ระบบ crowdsourcing หรือการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคนเพื่อร่วมกันทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านทางออนไลน์ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลมุ่งเน้นเช่นกัน ดังที่ประเทศสิงคโปร์ ได้ลงทุนกว่า 0.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนภาคสาธารณะ

Company Related Link :
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์



Instagram


กำลังโหลดความคิดเห็น