xs
xsm
sm
md
lg

Review รีวิวสินค้าไอที สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ก

x

"เทรนด์ ไมโคร"เตือนผู้ซื้อตั๋วโอลิมปิกระวังเว็บไซต์ปลอม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หน้าโฮมเจของเว็บไซต์ลวงที่หลอกขายตั๋วชมกีฬาโอลิมปิก 2008
คุณอยากได้ตั๋วเข้าชมกีฬาโอลิมปิกไหม? แน่นอนว่าตั๋วเหล่านี้มีขายในอินเทอร์เน็ต แต่ว่าผู้ซื้อต้องระวังผู้ที่ไม่ประสงค์ดีที่จะคอยฉวยโอกาสขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่สนใจซื้อตั๋วเข้าชมมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ซึ่งกำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

นายพอล เฟอร์กูสัน นักวิจัยด้านภัยคุกคามขั้นสูง บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวถึงเว็บไซต์ล่อลวงเกี่ยวกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยยกการรายงานของนสพ.ลอส แองเจอลิส ไทม์ ที่ระบุไว้ว่า คณะกรรมการผู้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้ร้องขอต่อศาลสหรัฐอเมริกาให้ปิดเว็บไซต์ลวงที่ขายตั๋ว เนื่องจากข้อเท็จจริงคือเว็บไซต์เหล่านี้กำลังขโมยหมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อตั๋วเข้าชมกีฬาโอลิมปิก

นอกจากนี้นสพ.ลอส แองเจอลิส ไทม์ยังระบุด้วยว่า มีผู้เสียหายนับร้อยรายที่ต้องเสียเงินจำนวนมากให้กับเว็บไซต์ลวงดังกล่าว ซึ่งเว็บไซต์ลวงนี้ถูกตรวจพบ และบล็อกเว็บไซต์ได้ทันก่อนที่จะมีผู้เสียหายมากกว่านี้ ด้วยโซลูชันสมาร์ท โพรเทคชัน เน็ตเวิร์กของเทรนด์ ไมโคร ที่ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติของเว็บไซต์ รวมถึงการอัปเดทข้อมูลภัยคุกคามก่อนที่จะเข้าถึงเครือข่าย หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยข้อมูลไวรัสเทรนด์ แล็บส์ ของเทรนด์ ไมโครได้ลองตรวจสอบและพบเว็บไซต์ฟิชชิ่ง (เว็บไซต์ลวง) hxxp://www.{BLOCKED}gticketing.com ที่ระบุให้ผู้ซื้อกรอกชื่อที่อยู่ ก่อนที่จะซื้อตั๋วชมโอลิมปิก จากนั้นหลอกให้ผู้ซื้อใส่หมายเลขบัญชีบัตรเครดิต ซึ่งข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ซื้อจะต้องใส่ลงแบบฟอร์มนั้นมีมากผิดปกติ

อย่างไรก็ดีทีมงานของเทรนด์ แล็บส์ได้พยายามที่จะใส่หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ปลอมลงไป และเว็บไซต์ก็ตอบรับข้อมูลทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เราใส่เข้าไป นี่แสดงให้เห็นว่าผู้ขายตั๋วไม่ได้ตั้งใจที่จะส่งตั๋วให้ผู้ซื้อหลังจากจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว

นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการป้องกันภัยคุกคามบนเว็บที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่เสี่ยงภัยหรือเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก และควรระวังอีเมลแปลกๆ รวมถึงอีเมลที่ไม่คิดว่าจะได้รับ

"ไม่ว่าผู้ส่งจะเป็นใครก็ตามอย่าเปิดไฟล์แนบท้าย หรือคลิกลิงก์ที่มีอยู่ในข้อความอีเมลเหล่านั้น และที่สำคัญคือควรมีระบบป้องกันภัยข้อมูลที่เพียงพอ ใช้บริการสแกนสแกนไวรัสแบบเรียลไทม์ โดยหมั่นตรวจสอบว่าบริการนั้นอัxเดทและกำลังทำงานอยู่เสมอ"

Company Related Links :
Trendmicro
กำลังโหลดความคิดเห็น