ไอซีทีเสนอครม.แก้กม.คอมพ์เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่ฟันเว็บหมิ่นสถาบัน พร้อมเรียก 3 เว็บไซต์เข้ากระทรวงขอความร่วมมือหยุดพฤติกรรมจาบจ้วง ไม่เช่นนั้นถูกดำเนินการขั้นเด็ดขาด
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานดูแลเรื่องเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน ซึ่งประกอบด้วยนายวราวุธ ศิลปอาชา รมช. กระทรวงคมนาคมในฐานะที่ปรึกษารมว.ไอซีที ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมว่าไอซีทีเตรียมเสนอครม. ภายในวันที่ 15 พ.ย.เพื่อพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ในการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการกับเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ทันที จากเดิมที่ ต้องรอการพิจารณาจากศาลเท่านั้น
นอกจากนี้ไอซีทียังขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรียกประชุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ที่ได้รับใบอนุญาตประมาณ 120 ราย ในวันที่ 5 พ.ย.เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยกันดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Log File) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการหาตัวผู้กระทำผิด
‘ที่ผ่านมาพบว่าเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน80% เป็นเว็บไซต์จากต่างประเทศ ถูกยื่นดำเนินคดีต่อศาลกว่า 1,000 เว็บไซต์ และถูกดำเนินคดีเป็นหลักหลายร้อยเว็บไซต์ ขณะที่เว็บที่ถูกตัดสินดำเนินคดีแล้วมีจำนวน 40-50 เว็บไซต์ ซึ่งสามารถสืบไปถึงผู้ที่กระทำความผิด แต่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อเว็บไซต์ได้’
นายมั่นกล่าวว่าสำหรับงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและบล็อกเว็บไซต์นั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทคเสนอว่าการลงทุนไม่น่าจะถึง 100-500 ล้านบาทกล่าวคือใช้เพียงประมาณ 75-100 ล้านบาท ก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมช.คมนาคม กล่าวว่าได้แบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 3 ส่วน คือ หยุดสิ่งที่เกิดขึ้น แก้ไขที่ต้นทาง คือ วงจรเชื่อมต่อต่างประเทศและแก้ไขที่ตัวบุคคล ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องขอความร่วมมือไปยัง ผู้ดูแลเว็บ หรือเว็บมาสเตอร์ มากกว่าไอเอสพี เพราะเว็บมาสเตอร์ สามารถเข้ามาช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้ได้ ในภาวะที่ผู้ดูแลด้านเว็บไซต์ผิดกฎหมายโดยตรง หรือไซเบอร์ อินสเปกเตอร์ มีจำนวนไม่เพียงพอ
‘การแก้ไขกฎหมายนั้น เพื่อต้องการให้ทุกอย่างดำเนินการได้ง่ายขึ้นเพราะเว็บไซต์ใหม่ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 3 นาที แต่กระบวนการเอาผิดใช้เวลามากกว่า 1 อาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกัน’
แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีกล่าวว่าในวันนี้ (30 ต.ค.)ไอซีทีจะเรียกเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบัน จำนวน 3 รายคือฟ้าเดียวกัน ประชาไท และพันทิป เข้าพบ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดดำเนินการในลักษณะดังกล่าวและหากไม่ปฏิบัติตามก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานดูแลเรื่องเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน ซึ่งประกอบด้วยนายวราวุธ ศิลปอาชา รมช. กระทรวงคมนาคมในฐานะที่ปรึกษารมว.ไอซีที ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมว่าไอซีทีเตรียมเสนอครม. ภายในวันที่ 15 พ.ย.เพื่อพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ในการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการกับเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ทันที จากเดิมที่ ต้องรอการพิจารณาจากศาลเท่านั้น
นอกจากนี้ไอซีทียังขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรียกประชุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ที่ได้รับใบอนุญาตประมาณ 120 ราย ในวันที่ 5 พ.ย.เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยกันดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Log File) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการหาตัวผู้กระทำผิด
‘ที่ผ่านมาพบว่าเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน80% เป็นเว็บไซต์จากต่างประเทศ ถูกยื่นดำเนินคดีต่อศาลกว่า 1,000 เว็บไซต์ และถูกดำเนินคดีเป็นหลักหลายร้อยเว็บไซต์ ขณะที่เว็บที่ถูกตัดสินดำเนินคดีแล้วมีจำนวน 40-50 เว็บไซต์ ซึ่งสามารถสืบไปถึงผู้ที่กระทำความผิด แต่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อเว็บไซต์ได้’
นายมั่นกล่าวว่าสำหรับงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและบล็อกเว็บไซต์นั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทคเสนอว่าการลงทุนไม่น่าจะถึง 100-500 ล้านบาทกล่าวคือใช้เพียงประมาณ 75-100 ล้านบาท ก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมช.คมนาคม กล่าวว่าได้แบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 3 ส่วน คือ หยุดสิ่งที่เกิดขึ้น แก้ไขที่ต้นทาง คือ วงจรเชื่อมต่อต่างประเทศและแก้ไขที่ตัวบุคคล ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องขอความร่วมมือไปยัง ผู้ดูแลเว็บ หรือเว็บมาสเตอร์ มากกว่าไอเอสพี เพราะเว็บมาสเตอร์ สามารถเข้ามาช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้ได้ ในภาวะที่ผู้ดูแลด้านเว็บไซต์ผิดกฎหมายโดยตรง หรือไซเบอร์ อินสเปกเตอร์ มีจำนวนไม่เพียงพอ
‘การแก้ไขกฎหมายนั้น เพื่อต้องการให้ทุกอย่างดำเนินการได้ง่ายขึ้นเพราะเว็บไซต์ใหม่ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 3 นาที แต่กระบวนการเอาผิดใช้เวลามากกว่า 1 อาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกัน’
แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีกล่าวว่าในวันนี้ (30 ต.ค.)ไอซีทีจะเรียกเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบัน จำนวน 3 รายคือฟ้าเดียวกัน ประชาไท และพันทิป เข้าพบ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดดำเนินการในลักษณะดังกล่าวและหากไม่ปฏิบัติตามก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด