“มั่น”ตั้งซูปเปอร์บอร์ด ร่วม ทีโอที กสท หวังจบปัญหา เอซี-ไอซี และเคาะขายหุ้นไทยโมบายจบภายในกลางเดือนพ.ค. เผยหากทำได้ตามเป้าหมายถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงในเดือนที่ 3 ส่วนค่าปรับซีดีเอ็มเอหัวเหว่ย เตรียมส่งทีมจับเข่าคุยฝ่ายบริหาร ย้ำต้องมีค่าปรับแต่มีข้อแม้ต้องมีสิ่งตอบแทนกลับ
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า ระหว่างบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จะมีการตั้งคณะกรรมการซูเปอร์บอร์ด ร่วมกัน 1 ชุด โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งตัวแทนมาฝ่ายละ 3 คนประกอบด้วยประธานบอร์ดของทั้ง 2 ฝ่าย บอร์ดที่เป็นตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ของ 2 ฝ่าย และตัวแทนอีกฝ่ายละ 1 คนจากทั้ง 2 บอร์ด
อย่างไรก็ดี ซูเปอร์บอร์ดจะมีหน้าที่แก้ปัญหา อินเตอร์คอนเน็กชัน ชาร์จหรือไอซี กับ แอ็กเซสชาร์จ หรือเอซี และการซื้อขายหุ้นกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ระหว่างทีโอที และ กสท ให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนพ.ค.นี้ โดยซูเปอร์บอร์ดชุดนี้จะทำงานแตกต่างจากซูเปอร์บอร์ดชุดที่ผ่านมา เพราะกรอบและวิธีการพิจารณาเรื่องต่างๆต้องผ่านมติความเห็นชอบของบอร์ดให้ทั้ง 2 ฝ่ายก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของซูเปอร์บอร์ดและนำไปดำเนินการ ส่วนการทำงานของซูเปอร์บอร์ด จะดำเนินการพิจารณากรอบต่างๆก่อนแล้วค่อยเสนอขอความเห็นชอบจากบอร์ดใหญ่ทั้ง 2 บอร์ด
“สำหรับกรอบการแก้ไขปัญหา เอซี และไอซี ขณะนี้มีเตรียมการไว้แล้ว เหลือแต่ผ่านการพิจารณาของซูเปอร์บอร์ด โดยกรอบดังกล่าวจะนำไปสู่การจบข้อพิพาทเอซี ไอซี ในชั้นศาลง่ายขึ้น ส่วนเรื่องไทยโมบายหากสรุปการซื้อขายตามกรอบที่มีอยู่แล้ว ทีโอที ก็จะสามารถดำเนินการสานต่อธุรกิจได้ทันที หากดำเนินการได้แล้วเสร็จก็จะเป็นผลงานชิ้นสำคัญในเดือนที่ 3 ของผม”
นายมั่นกล่าวถึงกรณีที่ กสท ได้สั่งปรับบริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี จำนวน 30,000 ล้านบาทจากการติดตั้งสถานีฐานจำนวน 800 สถานีฐานใน 51 จังหวัดล่าช้าว่า เร็วๆนี้ หัวเหว่ยจะส่งตัวแทนมาเจรจากับผู้บริหาร ของ กสท ซึ่ง กสท มีกรอบในการเจรจาไว้แล้วโดยส่วนตนแล้วมองว่าเรื่องการปรับหัวเหว่ยต้องมีแน่แต่จะปรับเท่าไหร่ต้องให้มีการพิจารณาจากรัฐบาลก่อน นอกจากนี้ส่วนกรณีที่ กสท จ่ายเงินให้แก่หัวเหว่ยจำนวน 25 % จากมูลค่าโครงการ 7,100 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องมีอะไรทดแทน
ก่อนหน้านี้ นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการ กสท เคยมีแนวคิดในการเปลี่ยนค่าปรับเป็นการพัฒนาอีวิดีโอให้สามารถบริการในโทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็มได้ เนื่องจากปัจจุบันบริการดังกล่าวยังสามารถให้บริการบนระบบซีดีเอ็มเอได้ เมื่อพัฒนาให้สามารถให้บริการในระบบจีเอสเอ็ม
Company Related Links :
MICT