xs
xsm
sm
md
lg

ทนายดังพาคนไข้ ร้อง รมว.สาธารณสุข รพ.รัฐวินิจฉัยโรคพลาด ทำป่วยติดเตียง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ทนายรณรงค์พาแม่ป่วยเส้นเลือดสมองแตกนั่งวีลแชร์ ร้องนายแพทย์ ชลน่าน รมว.สาธารณสุข โรงพยาบาลวินิจฉัยพลาด ก่อนนำตัวส่งอีก รพ.ผลเส้นเลือดในสมองแตกทำป่วยติดเตียง

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 25 มกราคม 2567 ที่ศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี ทนายรณรงค์ แก้วเพ็ชร เครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม พานางสาวธัญวรินทร์ ภักดี อายุ 38 อาชีพค้าขาย ผู้เสียหาย และแม่ป่วยติดเตียงจากเส้นเลือดในสมองแตก นั่งรถวีลแชร์ เข้ายื่นหนังสือถึงนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข โวยกรณีใช้สิทธิ 30 บาท รักษาแม่ป่วย โรงพยาบาลรัฐวินิจฉัยโรคพลาด ทำแม่หมดสติก่อนส่งต่อให้อีกโรงพยาบาลพบเส้นเลือดในสมองแตก ปัจจุบันพิการติดเตียง เพื่อให้ตรวจสอบการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรัฐดัง และให้ช่วยเหลือเยียวยาที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ และจี้ให้รัฐเร่งดำเนินการนโยบาย 30 บาท ให้รักษาได้ทุก รพ. และให้มีมาตรฐานเพื่อให้คนจนได้มีสิทธิในการรับการรักษาที่ดีไม่ต่างจากรพ.เอกชน

ทางนางสาวธัญวรินทร์ พรรคดี ลูกสาวของผู้เสียหาย เล่าว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน 2563 โดยแม่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งภายใต้ใช้สิทธิ 30 บาท ตอนนั้นคุณแม่มีอาการปวดหัว อ่อนแรง กินอาหารไม่ลง ซึ่งทางโรงพยาบาลมีให้สแกนตรวจช่วงท้อง รวมไปถึงตรวจเลือด ซึ่งทางโรงพยาบาลวินิจฉัยว่า อาจเป็นนิ่ว หรือไวรัสตับอักเสบ ไม่ก็ไข้เลือดออก ให้รอผลตรวจเลือด แต่ให้แอดมิตอยู่ในโรงพยาบาลด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ตลอดเวลา 5 วันโรงพยาบาลไม่มีการชี้แจงว่าเป็นโรคอะไรอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การวัดความดันได้สูงถึง 200 แต่ทางพยาบาลกลับทำเพียงสังเกตอาการ มาทราบทีหลังว่าให้แม่บ้านโรงพยาบาลเป็นผู้วัดความดัน ทางพยาบาลอ้างความดันขั้นสูงเป็นเรื่องปกติของผู้สูงวัย อีกทั้งเมื่อแจ้งทางพยาบาลว่าแม่มีอาการปวดหัวรุนแรง ไม่สามารถกินอะไรได้ ทางโรงพยาบาลก็บอกว่ามีน้ำเกลือให้ จึงเร่งอัดน้ำเกลือจนเมื่อแม่สติ จึงส่งตรวจไปอีกโรงพยาบาล ซึ่งไม่มีการส่งประวัติให้จากโรงพยาบาลเก่า อีกทั้งพบการอัดน้ำเกลือในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งได้มีอาการสแกนสมองพบว่าเส้นเลือดในสมองแตก ต้องทำการผ่าตัดเร่งด่วน แต่ด้วยระยะเวลาที่ทิ้งไว้นานเกินไป ทำให้แม่ป่วยพิการติดเตียง อีกทั้งมีอาการเครียด หลายครั้งทีการทุบหัวตัวเองเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้เช่นเดิม จึงอยากให้มีการตรวจสอบการให้บริการทางการแพทย์ข และช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการยื่นข้อเสนอให้รับเงินเยียวยาแต่ต้องเซ็นต์ไม่ติดใจเอาความ ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น ที่สำคัญตนและแม่ได้พยาบาลร้องเรียนหลายต่อร้องครั้ง ทางโรงพยาบาลกลับบอกว่าการรักษาเป็นไปตามปกติ ซึ่งตนรู้อยู่แก่ใจว่าไม่เป็นความจริง

ด้านปิยะวัฒน์ ศิลปรัศมี ผู้อำนวยการกองกฏหมาย กระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนผู้รับหนังสือร้องเรียน กล่าวว่า หลังจากการรัลหนังสือร้องเรียนแล้วจะมีการตรวจสอบใน 2 ประเดฌนคือการดูแลผู้ป่วย และมาตรฐานการรับพยายามว่าถูกต้องตามหลักเกณณ์หรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกจริง กฌต้องมีการเยียวยาผู้เสียหายอย่างถึงที่สุด ซึ่งหลังจาดที่ฝั่งเรื่องราวจากฝั่งผู้ป่วยแล้วก็มีอยู่ในระดับที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ต้องตรวจสอบทางโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่งก่อน






กำลังโหลดความคิดเห็น