xs
xsm
sm
md
lg

“นารี” อสส.หญิง ประกาศยุคใหม่แห่งความยุติธรรม เตรียมผุดซูเปอร์เน็ต เชื่อมต่อการทำงาน และปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


 น.ส.นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด
อัยการจัดเสวนาวิชาการ “นารี” อสส.หญิง ประกาศยุคใหม่แห่งความยุติธรรม เตรียมผุดซูเปอร์เน็ต เชื่อมต่อการทำงานศาล ตำรวจเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย

วันนี้ (22 มี.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานอัยการสูงสุด จัดเสวนาวิชาการ Stronger OAG Symposium 2023 : ยุคใหม่แห่งความยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด นำเสนอทิศทางการการขับเคลื่อนองค์กรตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรอัยการ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566-2580) และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) สร้างแรงบันดาลใจแก่บุคลากร ในองค์กรอัยการ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการสร้างสรรค์แนวทางในการดำเนินงานเพื่ออำนวย ความยุติธรรมในยุคใหม่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “องค์กรอัยการในสายธารของกระบวนการยุติธรรม และความคาดหวังของประชาชน”

และมีบุคคลสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วม อาทิ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายธีรศักดิ์ เลยวิจิตร เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต และรศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมเสวนาในหัวข้อต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติเชิงบวก แก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด

น.ส.นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด กล่าวว่า ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรอัยการ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566-2580) และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติ และความสุขของประชาชน ซึ่งจะได้เริ่มนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในปีงบประมาณนี้ ประกอบกับในวันที่ 1 เม.ย. 66 เป็นวันสถาปนาองค์กรอัยการ ครบรอบ 130 ปี จึงได้ถือโอกาสนี้จัดกิจกรรมการเสวนาวิชาการ “Stronger OAG Symposium 2023 : A New Era of Justice” ขึ้นเพื่อเป็นการสื่อสารทิศทาง การนำองค์กร ถ่ายทอดยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติราชการดังกล่าวแก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อจะได้ร่วมกัน สร้างสรรค์แนวทางในการดำเนินการเพื่ออำนวยความยุติธรรมในอนาคตต่อไปในทุกมิติ


น.ส.นารี กล่าวต่อว่า การผลัดเปลี่ยนของระเบียบโลกใหม่ (New World Order) และการเกิดขึ้นของสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้การดำรงชีวิตของผู้คนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การทำงานที่ไม่จำกัดสถานที่จากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) การประชุมออนไลน์ (Online Meeting) การปฏิวัติทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์อันเกิดจาก ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรง ต่อเนื่อง การเข้าสู่สังคมสูงวัย เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลต่อทิศทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานขององค์กรทั้งสิ้น การตระหนักรู้ (Self-Awareness) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สำนักงานอัยการสูงสุดจะต้อง “รุก รับ ปรับ เปลี่ยน” คือ ปฏิบัติงานเชิงรุก พร้อมรับในสิ่งใหม่ ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า สร้างองค์กรอัยการ ให้เข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การอำนวยความยุติธรรมในยุคสมัยใหม่

สำหรับการจัดงาน “Stronger OAG Symposium 2023 : A New Era of Justice” ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในครั้งนี้

น.ส.นารี อัยการสูงสุด ยังได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ดุลยภาพแห่งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย สรุปว่า ในส่วนของการคุ้มครองสิทธิมนุษย์ชน พวกเราคงจะทราบว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในชั้นการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กฎหมายในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมระหว่างประเทศ พวกเราคงเคยได้ยินการละเมิดสิทธิมนุษย์เสียชนในชั้นจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คดีดังๆที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็จะได้ยินมายังประเทศไทยและคดีดังๆในประเทศไทยก็จะไปได้ยินในต่างประเทศ เพราะว่าโลกเราเล็กลงจากการสื่อสาร ยกตัวอย่างคดี การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับกุมชายผิวสี เเละภายหลังผู้ถูกจับกุมถึงแก่ความตาย คดีนี้ทำให้เกิดวิกฤตผลกระทบในกระบวนการยุติธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาจนนำมาซึ่งการประท้วง และถูกมองว่าเป็นการแบ่งแยกคนผิวสี

ซึ่งในประเทศไทยจะโชคดีว่าไม่มีความแตกต่างในเรื่องของเชื้อชาติ จะเห็นว่า ค่านิยมของสิทธิมนุษย์ชนเป็นหลักการที่ได้กำหนดในนานาประเทศ พวกเราเป็นนักกฎหมายเป็นผู้ปฏิบัติ เราคงคุ้นเคยกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งมีมาแล้วเป็นเวลานานมาก ซึ่งปฏิญญาสากลจะคุ้มครองบุคคลที่ถูกทำร้ายโดยวิธีการโหดร้ายและถูกย่ำยีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหประชาชาติ เพราะเราไม่สามารถอยู่ได้โดยเฉพาะกฎหมายภายในของประเทศเราเองเท่านั้น ปัจจุบันเราเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศอีก2ฉบับ ฉบับที่1 คือการต่อต้านการทรมานและการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษย์ธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ฉบับที่ 2 คือ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ

โดยที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้ยอมรับในหลักการของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ ดังที่เราจะเห็นได้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ย่อมได้รับความคุ้มครอง สอดคล้องกับปฏิญญาสากลและอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้ง2ฉบับที่กล่าวเเละบัญญัติว่าการทรมานด้วยการลงโทษด้วยวิธีโหดร้ายเเบบไร้มนุษย์ธรรม ย่อมกระทำไม่ได้

อย่างประเทศไทยมีคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งตนขอเรียกว่าคดีถุงดำซึ่งมีการจับกุมบุคคลแล้วถูกบังคับให้บอกที่ซ่อนยาเสพติดโดยเอาถุงดำไปครอบศรีษระจำนวนหลายใบจนสุดท้ายผู้ถูกจับกลุ่มถึงแก่ความตายซึ่งสิ่งที่เป็นพยานหลักฐานสำคัญก็คือกล้องวงจรปิด ไปที่อยู่ภายในสถานีตำรวจแห่งนั้น ท้ายสุดศาลก็ได้ ลงโทษ ผู้กระทำผิดคือลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

คดีจอร์จ ฟลอยด์ ในต่างประเทศ หรือคดีถุงดำในไทย ทำให้รัฐบาลได้ตะหนักถึงการถูกบังคับสูญหาย จึงออก
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
และมีผลบังคับปี 2566 อยากสื่อสารถึงผู้นำองค์กรถึงความพร้อมและไม่พร้อมของสำนักงานอัยการสูงสุดในขณะที่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว

ขณะนี้ทั่วประเทศเรามีอัยการอยู่ 4,500 คน เจ้าหน้าที่ธุรการมี 5,800 คน พนักงานในองค์กรอัยการจะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนี้ อย่างที่บอกว่า ความยุติธรรมจะอยู่เหนือตัวบทกฎหมาย โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นตำรวจอัยการและศาล ล้วนแต่เป็นบุคลากรหลักที่จะส่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายฉบับนี้ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ซึ่งในส่วนของ สำนักงานอัยการสูงสุด มีการดำเนินการด้านนโยบาย,ด้านการตรวจสอบการควบคุมตัวบุคคล, การสอบสวนการดำเนินคดีความผิด,การคุ้มครองเยียวยาความเสียหายต่อผู้เสียหาย และด้านต่างประเทศ

ในด้านนโยบายผู้บริหารทั่วประเทศถึงพนักงานอัยการเป็นระดับปฏิบัติการ จะมีการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงและรับเรื่องการตรวจสอบร้องเรียนจากการกระทำเสียหายจากการอุ้มทรมานสูญหาย

ในด้านการตรวจสอบการควบคุมบุคคลซึ่งมีความสำคัญคือจะต้องบันทึกภาพและเสียงขณะจับกุมตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงส่งให้พนักงานสอบสวน สิ่งที่ได้ฟังจากสำนักงบประมาณว่าทางตำรวจก็มีกล้อง Body Cam ซึ่งถ้อยคำที่สำคัญในกฎหมาย ก็คือ คำว่า “อย่างต่อเนื่อง” นั่นเเปลว่าจะต้องคลิปภาพที่บันทึกจะต้องไม่มีการตัดต่อจนส่งให้พนักงานสอบสวน และจะต้องแจ้งพนักงานอัยการทันที ตรงนี้คือบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ความผิด

ในส่วนของอัยการจะเป็นผู้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวอย่างที่ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีมีให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย แต่กรณีนี้กฎหมายเพียงแต่บอกว่าให้อัยการรับแจ้งแต่ไม่ได้บอกว่าให้รับแจ้งโดยระบบ หรือแมนนวล ซึ่งจะเห็นได้ถึงความไม่สมบูรณ์ที่กฎหมายฉบับนี้จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์เต็มร้อย เรียกว่า กฎหมายยังมีคำถามอยู่ เช่นที่เขียนว่า พนักงานอัยการอาจรับทราบพบเห็น เหตุการณ์ซ้อมทรมานโดยอัยการจะเป็นผู้ตรวจสอบว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือไม่ถ้ามีอัยการจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจ เพื่อสั่งยุติการกระทำเช่นนั้นทันที เเต่ในข้อเท็จจริงอย่างในต่างจังหวัดที่อัยการกับศาลจะมีระยะทางห่างกัน ซึ่งคำว่า “ทันที” จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่มีระบบ


ถ้าประชาชนจะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายจะต้องมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นว่า ในความเป็นจริงถ้อยคำในตัวบทเขียนไว้ เเต่เหตุการณ์จริงจะไปสั่งยุติทันได้อย่างไรหากต้องส่งคำร้องเป็นกระดาษ เรื่องนี้บางครั้งก็ดูง่าย แต่ต้องดูความเป็นไปได้ สิ่งที่อยากได้ไม่ใช่เพียงแค่งบประมาณ ซึ่งงบประมาณ เราก็จะได้ค่าเวร แต่ถ้าจะตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องบอกเลยว่าไม่แน่ใจ

สำหรับฐานความผิดของกฎหมายฉบับนี้ก็จะร้อยเรียงมาจากกฎหมายของประเทศอย่างปฏิญญาสากล ซึ่งให้อำนาจพนักงานอัยการเป็นพนักงานสอบสวน เเละกฎหมายยังได้กำหนดเขตอำนาจศาลให้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบฯ เรียกว่าศาลก็มีงานเพิ่มอัยการก็มีงานเพิ่ม

ในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดเราก็ได้ถอดให้สำนักงานปราบปรามการทุจริตเป็นสำนักงานที่รับผิดชอบในคดี ที่ฝ่าฝืนผิดตามกฏหมาย พรบ.อุ้มหายฯ เเละร่างกฎหมายนี้ยังให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องค่าเสียหายทดแทน เเละความผิดตามพรบ.อุ้มหายฯนี้ไม่ให้ถือเป็นความผิดทางการเมือง กฎหมายฉบับนี้ระบุให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อดำเนินคดีทางอาญาได้ แต่กฎหมายก็ให้เรามองไปข้างหน้าว่าถ้าเราได้ส่งตัวไปที่ที่มีโอกาสที่จะถูกทำให้สูญหายทางเราก็จะไม่ส่งได้

ในส่วนที่ต้องมีอัยการอยู่เวร 24 ชั่วโมง อยากเรียนให้ทราบว่าการอยู่เวร มันไม่สำคัญเท่าการเข้าถึงในทันทีซึ่งก็คือระบบเทคโนโลยี ซึ่งพอเราจัดตั้งศูนย์ก็จะต้องมีออัยการ1คนและเจ้าหน้าที่ธุรการอีก1 คนก็อยู่เวร และเรามีศูนย์ทั่วประเทศแบบนี้อีก 112 เเห่ง

“อย่างที่เราไปตรวจราชการที่จังหวัดสุรินทร์ ได้มีโอกาสไปตรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานฯ ก็พบว่า งบประมาณที่ได้ คือ สติกเกอร์ขนาด A4 ไปแปะไว้ในลิฟต์ สิ่งที่นอกเหนือจากการบ่นครั้งนี้ก็คือการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ “ อัยการสูงสุด ระบุ

น.ส.นารี ปาฐกถาต่อว่า งบประมาณที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล ก็ต้องขอบคุณที่รัฐบาลเห็นความสำคัญ แต่งบประมาณกลับไปทุ่มอยู่กับเข้าอยู่เวรโดยที่ไม่ได้ดูถึงอุปกรณ์ กล่าวตรงนี้ยังรู้สึกอิจฉา ผบ.ตร.ที่มีกล้อง Body Cam ซึ่งตนเคยถามไปยังสำนักงบประมาณถึง 3 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ว่าจะได้รับคำตอบถึงเรื่องนี้หรือไม่ ความสำเร็จของกฎหมายฉบับนี้ที่จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นแกนของกระบวนการยุติธรรมทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อตำรวจอัยการหรือศาลแต่กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ในปีงบประมาณปีหน้าโครงการซูเปอร์เน็ตของสำนักงานอัยการสูงสุดเราตนเพิ่งได้รับแจ้งจากสำนักงบประมาณว่าเราได้รับงบประมาณ 300 กว่าล้าน ซึ่งการปฎิบัติตามกฏหมายว่าเราบอก พ.ร.บ.อุ้มหายฯนี้ ก็ขึ้นอยู่กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเพื่อจะสอดคล้องกับระบบของตำรวจและศาล
กำลังโหลดความคิดเห็น