ข่าวคราว ... เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการเสริมความงามให้แก่ผู้ที่มารับบริการ แล้วเกิดความผิดพลาดหรือบกพร่องขึ้นจนเป็นข่าวดังและมีการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ซึ่งก็คงต้องพิจารณากันเป็นรายกรณีไป
สำหรับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ นั้น หากเกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของเอกชน ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องได้ที่ศาลยุติธรรม
ส่วนที่มักเกิดเป็นประเด็นข้อสงสัยคือ ... การเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งหลายคนจะเข้าใจว่าแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลของรัฐถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฉะนั้น เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับบริการ จะต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความเข้าใจเช่นนี้จะถูกต้องหรือไม่ อุทาหรณ์จากคดีปกครองวันนี้จะมาไขความกระจ่างให้กับท่านผู้อ่านครับ ...
เรื่องมีอยู่ว่า...ผู้ฟ้องคดีเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐด้วยอาการปัสสาวะบ่อย โดยแพทย์วินิจฉัยว่าต่อมลูกหมากโตและทำการรักษาโดยให้ยากลับไปทานที่บ้าน แต่ไม่ได้ส่งตัวไปเอกซเรย์หรือตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และมีการเปลี่ยนตัวแพทย์ผู้รักษาตลอดระยะเวลา ๖ - ๗ ปีที่ผ่านมา กระทั่งแพทย์ผู้รักษาคนปัจจุบันได้แนะนำให้ผู้ฟ้องคดีตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์หรือตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย จึงส่งตัวผู้ฟ้องคดีไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลของรัฐอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีเครื่องมือที่ทันสมัย และให้ส่งผลการตรวจกลับมาให้วินิจฉัยที่โรงพยาบาลเอ
ผลปรากฏว่า ... ผู้ฟ้องคดีป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวด้วยการฉีดยาและสารอาหารเข้าทางเส้นเลือดรวมถึงการฉายรังสี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เกิดจากความบกพร่องในการรักษาพยาบาลของแพทย์ที่ไม่แนะนำให้ผู้ฟ้องคดีตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยตั้งแต่แรก ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเช่นนี้ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้โรงพยาบาลเอชดใช้ค่าเสียหายแก่ตนอันเกิดจากการกระทำละเมิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา
กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการตรวจรักษาโรคของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ ?
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า แม้ความเสียหายของผู้ฟ้องคดีเกิดจากการกระทำของแพทย์ในโรงพยาบาลเอ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ปกติทั่วไป มิใช่การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ปกติทั่วไป
คดีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากแต่เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องคดีใหม่ต่อศาลยุติธรรมได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คผ. ๕๕/๒๕๖๓)
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยของแพทย์ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป มิได้มีลักษณะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันจะมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ฉะนั้น การกระทำละเมิดของแพทย์อันเกิดจากความผิดพลาดหรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่แล้วทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมในการเรียกร้องค่าเสียหายทั้งสิ้นครับ ....
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
สำหรับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ นั้น หากเกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของเอกชน ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องได้ที่ศาลยุติธรรม
ส่วนที่มักเกิดเป็นประเด็นข้อสงสัยคือ ... การเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งหลายคนจะเข้าใจว่าแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลของรัฐถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฉะนั้น เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับบริการ จะต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความเข้าใจเช่นนี้จะถูกต้องหรือไม่ อุทาหรณ์จากคดีปกครองวันนี้จะมาไขความกระจ่างให้กับท่านผู้อ่านครับ ...
เรื่องมีอยู่ว่า...ผู้ฟ้องคดีเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐด้วยอาการปัสสาวะบ่อย โดยแพทย์วินิจฉัยว่าต่อมลูกหมากโตและทำการรักษาโดยให้ยากลับไปทานที่บ้าน แต่ไม่ได้ส่งตัวไปเอกซเรย์หรือตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และมีการเปลี่ยนตัวแพทย์ผู้รักษาตลอดระยะเวลา ๖ - ๗ ปีที่ผ่านมา กระทั่งแพทย์ผู้รักษาคนปัจจุบันได้แนะนำให้ผู้ฟ้องคดีตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์หรือตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย จึงส่งตัวผู้ฟ้องคดีไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลของรัฐอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีเครื่องมือที่ทันสมัย และให้ส่งผลการตรวจกลับมาให้วินิจฉัยที่โรงพยาบาลเอ
ผลปรากฏว่า ... ผู้ฟ้องคดีป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวด้วยการฉีดยาและสารอาหารเข้าทางเส้นเลือดรวมถึงการฉายรังสี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เกิดจากความบกพร่องในการรักษาพยาบาลของแพทย์ที่ไม่แนะนำให้ผู้ฟ้องคดีตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยตั้งแต่แรก ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเช่นนี้ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้โรงพยาบาลเอชดใช้ค่าเสียหายแก่ตนอันเกิดจากการกระทำละเมิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา
กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการตรวจรักษาโรคของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ ?
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า แม้ความเสียหายของผู้ฟ้องคดีเกิดจากการกระทำของแพทย์ในโรงพยาบาลเอ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ปกติทั่วไป มิใช่การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ปกติทั่วไป
คดีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากแต่เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องคดีใหม่ต่อศาลยุติธรรมได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คผ. ๕๕/๒๕๖๓)
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยของแพทย์ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป มิได้มีลักษณะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันจะมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ฉะนั้น การกระทำละเมิดของแพทย์อันเกิดจากความผิดพลาดหรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่แล้วทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมในการเรียกร้องค่าเสียหายทั้งสิ้นครับ ....
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)