ศาลฎีกาฯ สั่งให้เลือกตั้งใหม่ ส.ส.เขต 5 สมุทรปราการเเทน “กรุงศรีวิไล” หลังโดนใบเหลือง เนื่องจากหัวคะเเนนใส่ซองช่วยงานศพ 1,000 บาท
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง สนามหลวง ศาลนัดฟังคำสั่ง คดีหมายเลขดำคดีเลือกตั้ง (ส.ส.) 585/2562 ที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ร้อง ยื่นขอให้ศาลวินิจฉัย กรณี กกต.แจกใบเหลือง "นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก" ส.ส.เขต 5 จ.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 20 พ.ย.62 กรณีกล่าวหาให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวนเป็นเงินได้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสงคะแนนให้แก่นายกรุงศรีวิไล เหตุคนใกล้ชิดไปมอบพวงหรีดและเงินใส่ซองช่วยงานศพ 1,000 บาท ต่อประชาชนในพื้นที่ โดยผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเมื่อวันที่ 23 ม.ค.2563 มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 และประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งลงวันที่ 24 ม.ค.2562 เรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 24 มี.ค.2562 ผู้คัดค้านเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการเขตเลือกตั้งที่ 5 หมายเลข 7 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมุทรปราการ ต่อมาผู้ร้องได้รับรายงานจากผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสมุทรปราการว่าผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 มาตรา 73วรรคหนึ่ง (1) ผู้ร้องไต่สวนแล้วข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2562ในงานฌาปนกิจศพ นายไพบูรณ์ เท้งบางด้วน ที่วัดจรเข้ใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการนางสาวสุภาภรณ์ พันโนลิตได้ไปร่วมงานและมอบเงินช่วยงานศพเป็นธนบัตรฉบับละ1,000 บาท จำนวน 1ใบบรรจุภายในของที่เขียนหน้าซองว่า“ กรุงศรีวิไล” ให้แก่ น.ส.เบญจมาศ เท้งบางด้วน เจ้าภาพและแจ้งว่าผู้คัดค้านได้มอบเงินช่วยงานศพและก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2561ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญชู เกตุสุขที่วัดมงคลนิมิต จังหวัดสมุทรปราการ น.ส.สุภาภรณ์ได้ไปร่วมงานศพและมอบเงินช่วยงานศพบรรจุภายในซองที่เขียนหน้าซองว่า“ กรุงศรีวิไล” ให้แก่นางบุญช่วย ศรีนวล เจ้าภาพในลักษณะเช่นเดียวกัน
โดย น.ส.สุภาภรณ์เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งของผู้คัดค้านและอยู่ในช่วงระหว่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับการกระทำดังกล่าวของน.ส.สุภาภรณ์เป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านถึงแม้ผู้คัดค้านปฏิเสธว่าไม่ได้ให้น.ส.สุภาภรณ์ไปดำเนินการดังกล่าว แต่ผู้คัดค้านก็ได้รับประโยชน์จากการกระทำของนางสาวสุภาภรณ์อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 มาตรา 73วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 80 ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561ข้อ 18(4) กรณีจึงมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปรารเขตเลือกตั้งที่ 5 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่ไม่ได้ความชัดว่าเป็นการกระทำของผู้คัดค้านผู้ร้องจึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาขอให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการเขตเลือกตั้งที่ 5ใหม่และเมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาแล้วขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่
ต่อมามีการไต่สวนพยานจนศาลนัดฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากติดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงให้เลื่อนมาอ่านคำพิพากษาในวันนี้
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้รับมอบอำนาจผู้ร้อง ผู้คัดค้านและทนายผู้คัดค้านเดินทางมาศาล
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า น.ส.สุภาภรณ์กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพรป.เลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 73วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 80ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.อันมีผลทำให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไป) โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือไม่
ได้ความจากน.ส.เบญจมาศ เท้งบางด้วนให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนกับเบิกความต่อศาลว่าน.ส.สุภาภรณ์มาร่วมงานและนำซองเงินเขียนหน้าซองว่า“ กรุงศรีวิไล” ภายในซองมีธนบัตรฉบับละ 1,000บาทจำนวน 1ใบมาให้น.ส.เบญจมาศ โดยน.ส.สุภาภรณ์แจ้งว่า“ คุณอายังมาไม่ได้” เชื่อว่าน่าจะหมายถึงผู้คัดค้านเนื่องจากหน้าซองระบุชื่อผู้คัดค้าน
และนางสาวสุภาภรณ์ขอถ่ายรูปขณะน.ส.สุภาภรณ์มอบของดังกล่าวให้น.ส.เบญจมาศ และยืนยันภาพถ่ายผู้หญิงที่สวมชุดสูทสีดำเสื้อยืดสีขาวซึ่งน.ส.สุภาภรณ์รับว่าคือตนเองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้หญิงที่นำเงินมาช่วยงานฌาปนกิจศพนายไพบูรณ์ และยังได้ความจากนางเฉลียว คล้ายมีปาน ภริยาของนายไพบูรณ์ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนว่าผู้คัดค้านไม่ได้มาร่วมงาน แต่ทราบจากบุตรสาวว่า น.ส.สุภาภรณ์ใส่เงินในซอง1,000บาท โดยนางเฉลียวพักที่เดียวกับ น.ส.เบญจมาศบุตรสาว
ซึ่งมีบุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งพักอาศัยอยู่ในบ้านรวม 8 คน
เห็นว่าพยานผู้ร้องปากนางสาวเบญจมาศเป็นประจักษ์พยานยืนยันว่ารับมอบซอง 1,000 บาท ทั้งยังยืนยันภาพถ่ายว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้หญิงที่นำเงินมาช่วยงานฌาปนกิจศพนายไพบูรณ์ซึ่งสอดคล้องกับที่นางเฉลียวยืนยันเมื่อไม่ปรากฏว่าพยานผู้ร้องทั้งสองปากดังกล่าวเคยรู้จักหรือเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับน.ส.สุภาภรณ์หรือผู้คัดค้านมาก่อนจึงเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริง
พยานหลักฐานของผู้ร้องมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของผู้คัดค้านข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงรับฟังได้ว่า น.ส.สุภาภรณ์ไปร่วมงานฌาปนกิจศพนายไพบูรณ์และนำซองเงินเขียนหน้าของว่า“ กรุงศรีวิไล” ภายในซองมีเงิน1,000 บาทมอบให้น.ส.เบญจมาศ ทั้งนี้ตาม พรป.เลือกตั้ง ส.ส.2561มาตรา73วรรคหนึ่งบัญญัติว่า“ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) จัดทำให้เสนอให้สัญญาว่าจะให้หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงิน ได้แก่ ผู้ใด” มาตรา 80วรรคหนึ่งบัญญัติว่า“ เพื่อให้การหาเสียงเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยให้คณะกรรมการกำหนดลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครและพรรคการเมือง” และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งส.ส.2561 ข้อ 4 บัญญัติว่า“ การหาเสียงเลือกตั้ง” หมายความว่าการแสวงหาคะแนนนิยมจากประชาชนหรือสมาชิกจากชุมชนเพื่อให้ได้คะแนนโหวตให้แก่ตนเองผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองแล้วแต่กรณีและข้อ 18บัญญัติว่า“ ห้ามผู้สมัครพรรคการเมืองหรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งในลักษณะดังต่อไปนี้ (4) ช่วยเหลือเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใดตามประเพณีต่างๆดังนั้นการที่น.ส.สุภาภรณ์ไปร่วมงานฌาปนกิจศพ นายไพบูรณ์และนำซองเงินเขียนหน้าซองว่ากรุงศรีวิไล” ภายในของมีเงิน 1,000บาทมอบให้น.ส.เบญจมาศพร้อมกับแจ้งว่าคุณอายังมาไม่ได้ซึ่งทำให้น.ส.เบญจมาศเชื่อว่า“ คุณอา” น่าจะหมายถึงผู้คัดค้านทั้งยังได้ความว่ามีบุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันอีกรวม8คนจึงเป็นการกระทำการจูงใตเพื่อให้ทรัพย์สิน เเสวงหาความนิยมจากชุมชนเพื่อให้คะเเนนเเก่ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำของน.ส.สุภาภรณ์ด้วยหรือไม่และศาลต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่
ได้ความจากนายวิทูรย์ อิศรภักดี พนักงานสืบสวนและไต่สวนชำนาญการสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดสมุทรปราการพยานผู้ร้องว่าพยานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการไต่สวนคดีขอข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ของผู้คัดค้านจาก ของน.ส.สุภาภรณ์และนายประดิษฐ์สุขถาวร ผอ.ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งของผู้คัดค้านจาก พบว่าผู้คัดค้านและน.ส.สุภาภรณ์ได้โทรศัพท์ติดต่อกันถึง 35 ครั้ง ซึ่งหากบุคคลทั้งสองไม่มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันมาก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยหาเสียงคงไม่จ้าต้องโทรศัพท์ติดต่อกันมากถึงขนาดนี้ส่วนผู้คัดค้านอ้างตนเองและมีนายประดิษฐ์เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันได้ความว่าผู้คัดค้านลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ผู้คัดค้านแต่งตั้งผู้ช่วยหาเสียง 2 ครั้ง รวมถึงน.ส.สุภาภรณ์ด้วย ก่อนหน้านั้นผู้คัดค้านไม่เคยรู้จัก น.ส.สุภาภรณ์มาก่อน แต่เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ผู้คัดค้านเคยได้คุยโทรศัพท์กับน.ส.สุภาภรณ์สืบเนื่องจากผู้คัดค้านกำลังลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งต้องการคนช่วยลงพื้นที่หาเสียงบริเวณอำเภอบางเสาธงโดยนายประดิษฐ์แจ้งว่าตนรู้จักน.ส.สุภาภรณ์ซึ่งอยู่อาศัยแถวอำเภอบางเสาธงทำงานเป็นหัวหน้าอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ชอบทำงานสังคมงานจิตอาสารู้จักคนเยอะและชื่นชอบในตัวผู้คัดค้าน และยินดีให้ความช่วยเหลือผู้คัดค้านจึงขอหมายเลขโทรศัพท์จากนายประดิษฐ์แล้วผู้คัดค้านโทรศัพท์สอบถามว่าสามารถหาคนช่วยลงพื้นที่หาเสียงได้หรือไม่น.ส.สุภาภรณ์รับปากว่าสามารถช่วยได้ผู้คัดค้านจึงบอกว่าถ้าวันไหนต้องการคนจำนวนเท่าใดไปลงหาเสียงบริเวณใดผู้คัดค้านจะโทรศัพท์มาแจ้งล่วงหน้าซึ่งเป็นการพูดคุยเฉพาะเรื่องการหาคนช่วยลงหาเสียงเท่านั้นเป็นเวลาครั้งละประมาณ 1-2 นาทีไม่เคยเจอตัวกันลักษณะเช่นนี้ผู้คัดค้านถือว่าไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวจนเมื่อประมาณต้นเดือนมี.ค.จึงได้พบกับน.ส.สุภาภรณ์ครั้งแรกผู้คัดค้านและนายประดิษฐ์ไม่เคยมอบหมายให้น.ส.สุภาภรณ์ไปร่วมงานฌาปนกิจศพนายไพบูรณ์ และนำเงินใส่ซองช่วยงานในนามของผู้คัดค้าน แต่อย่างใด
เห็นว่าแม้ผู้ร้องจะนำสืบได้ว่าผู้คัดค้านจะแต่งตั้งน.ส.สุภาภรณ์เป็นผู้ช่วยหาเสียงในวันที่ 4 มี.ค.ส่วนพฤติการณ์ที่น.ส.สุภาภรณ์ไปร่วมงานฌาปนกิจศพนายไพบูรณ์นั้นได้ความจากนางสุธ นีน้องสาวของนายไพบูรณ์ เเจ้งน.ส.สุภาภรณ์เชิญผู้คัดค้านไปร่วมงานศพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตายและถือเป็นหน้าเป็นตาของนางสุธนีด้วย ซึ่งน.ส.สุภาภรณ์ ตอบว่าจะเชิญผู้คัดค้านมาเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย น.ส.สุภาภรณ์มาร่วมงานฌาปนกิจศพและแจ้งว่าผู้คัดค้านมาไม่ได้อย่างไรก็ตามการที่นางสาวสุภาภรณ์นำเงินเขียนหน้าซองว่า“ กรุงศรีวิไล” มอบให้แก่ น.ส.เบญจมาศซึ่งได้ความจาก น.ส.สุภาภรณ์ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนอีกว่าแจ้งกับเจ้าภาพที่รับซองว่าผู้คัดค้านนำเงินมามอบช่วยเหลืองานศพและก่อนหน้านี้ตนได้นำเงินไปช่วยงานประเพณีและงานศพของบุคคลอื่นในนามของผู้คัดค้านนางโดยเป็นเงินส่วนตัวส่วนใหญ่จะใส่เงินในซอง 500-1,000 ซึ่งน.ส.สุภาภรณ์สถานะเป็นหม้าย ประกอบอาชีพ ค้าหมูปิ้งรายได้ประมาณ 2 หมื่นต่อเดือน มีบุตรสองคนศึกษาระดับประถมศึกษาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูเเม้จะเบิกความว่าคนรักมีอาชีพรับเหมาก่อสร้างงานจากหน่วยงานราชการก็เป็นเพียงการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ เท่านั้นไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุนเมื่อพิจารณาจากสถานะทางการเงินประกอบกับภาระที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรสองคนและสภาพบ้านพักอาศัยของ น.ส.สุภาภรณ์ทั้งสองแห่ง แล้วจึงเป็นการยากที่จะเชื่อว่าจะนำเงินส่วนตัวมาใส่ของช่วยเหลืองานประเพณีและงานศพของบุคคลอื่นหลาย ๆ ครั้งในนามของผู้คัดค้านข้ออ้างขอน.ส.สุภาภรณ์ที่ว่ากระทำการดังกล่าวด้วยตนเองนั้นมีพิรุธหลายประการไม่น่าเชื่อถือเมื่อการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์และต่อมาผู้คัดค้านก็แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยหาเสียงซึ่งแม้ไม่ให้ความแน่ชัดว่าผู้คัดค้านรู้เห็นเป็นใจเนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการใช้โทรศัพท์ติดต่อกันระหว่างผู้คัดค้านและน.ส.สุภาภรณ์ในช่วงก่อนเกิดเหตุที่มีการนำของเงินช่วยงานฌาปนกิจเเต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีพยานหลักฐานใดบ่งชี้ให้เห็นว่ามีการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านให้ต้องรับผิดในกรณีตามคำร้องเมื่อศาลได้วินิจฉัยข้างต้นแล้ว
ในการเลือกตั้งส.ส.เขต 5 มีกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพรป.เลือกตั้ง ส.ส.256 1มาตรา73 วรรคหนึ่งเเละระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561ข้อ 18(4)
ซึ่งทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมแม้ทางการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าเป็นการกระทำของผู้คัดค้านตามคำร้องของผู้ร้องศาลก็ต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งส.ส.จังหวัดสมุทรปราการเขตเลือกตั้งที่ 5ใหม่ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561มาตรา 133 พิพากษาให้มีการเลือกตั้งส.ส.สมุทรปราการเขต 5 ใหม่แทนนายกรุง ศรีวิไล สุทินเผือกผู้คัดค้าน