xs
xsm
sm
md
lg

ศาลแขวงทุ่งสงขับเคลื่อนการบริหารตามนโยบายประธานศาลฎีกา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ศาลแขวงทุ่งสงยกระดับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย โดยคำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและความสงบสุขของสังคม นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมการพิจารณาพิพากษาคดี และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยคำนึงถึงช่องทางอื่นที่สะดวกและประหยัด สนับสนุนบทบาทของศาลในการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม และที่ไม่ก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนและสังคม ตามแนวนโยบายประธานศาลฎีกา

วันนี้ (9 มิ.ย.) นายเอกพล ชุติมาธิกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงทุ่งสง เปิดเผยว่า ด้วยประธานศาลฎีกา ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารศาลยุติธรรม พ.ศ. 2562-2563 เพื่อให้การดำเนินงานของศาลทั่วประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ศาลแขวงทุ่งสงจึงกำหนดมาตรการบริหารออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประธานศาลฎีกา ประกอบด้วย 1. การยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย โดยคำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและความสงบสุขของสังคม โดยศาลแขวงทุ่งสงได้ดำเนินการดังนี้

1.1 จัดให้มีแผนภูมิขั้นตอนการขอปล่อยตัวชั่วคราว และประชาสัมพันธ์บัญชีมาตรฐานหลักประกันภายในอาคารศาล กระดานอิเล็กทรอนิกส์ศาลแขวงทุ่งสง และเว็บไซต์ของศาล พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้รายละเอียดข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้มาติดต่อราชการ

1.2 จัดให้มีระบบประสานข้อมูลในการรับและส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลสูง เพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

1.3 จัดให้มีห้องรอฟังคำสั่งขอปล่อยชั่วคราว ห้องรอชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ศาลลงโทษปรับอย่างเดียว

1.4 แยกห้องควบคุมระหว่างผู้ต้องขังหรือจำเลยที่เป็นหญิงและชายโดยมีห้องน้ำแยกเป็นสัดส่วน

1.5 เปิดทำการศาลเพื่อพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและชำระค่าปรับในวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์เพื่อขยายโอกาสแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในการขอปล่อยตัวชั่วคราวและออกหมายปล่อยทันที

1.6 จัดทำคำร้องใบเดียวในการขอปล่อยชั่วคราว เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนไม่จำเป็นและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว

2. การนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมการพิจารณาพิพากษาคดี และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยคำนึงถึงช่องทางอื่นที่สะดวกและประหยัดสำหรับประชาชนที่ยัง ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โดยศาลแขวงทุ่งสงได้ดำเนินการดังนี้

2.1 การ “ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์” เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้ห้องประชุม ลดการเผชิญหน้า

2.2 จัดให้มีการพิจารณาคดีรวมถึงการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงและจัดทำระบบ ผัดฟ้อง ฝากขัง ในลักษณะการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ เพื่อลดการเดินทางมาศาล ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19

2.3 ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม Case Information Online Service(CIOS) เป็นระบบบริการข้อมูลคดีที่สามารถสืบค้นและติดตามผลคดีของศาลโดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถสืบค้น ติดตามผลคดีและขอคัดถ่ายเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://cios.coj.go.th

2.4 ระบบติดตามสำนวนคดี (Tracking System) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับทนายความ ประชาชนที่เป็นคู่ความ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดี และผู้ที่เกี่ยวข้องในการติดตามสำนวนคดี สามารถใช้บริการได้ที่ https://cios.coj.go.th/tracking/

2.5 ระบบการส่งเอกสารและประกาศนัดไต่สวน (E-Notice system) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่างๆ โดยวิธีลงสื่อโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใช้ลงโฆษณาประกาศคำฟ้องและเอกสาร ทางคดีอื่นๆ ใช้บริการได้ที่ https://enotice.coj.go.th/

2.6 ระบบสืบค้นเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้สามารถสืบค้นเขตอำนาจของศาลต่างๆ โดยค้นจากชื่อศาลหรือระบุชื่อจังหวัดและอำเภอ เพื่อแสดงพื้นที่เขตอำนาจในการพิจารณาคดี ใช้บริการได้ที่ https://pubdata.coj.go.th/jurisdiction/

2.7 ระบบสืบค้นข้อมูลคำพิพากษาออนไลน์ เป็นระบบเผยแพร่คำพิพากษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลทางกฎหมายให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจโดยใช้บริการได้ที่ http://www.decision.coj.go.th/

2.8 ระบบค้นหาอัตราค่านำหมายศาลยุติธรรม เป็นระบบที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คู่ความหรือประชาชนสืบค้นข้อมูลอัตราค่านำหมายของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สามารถใช้บริการได้ที่ http://exp.coj.go.th/sentnotice/

2.9 ระบบบริการคัดถ่ายคำพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรมทั่วประเทศ Decision System (DSS) เป็นระบบให้บริการคัดสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลทั่วประเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความสามารถคัดสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรม ที่ได้อ่านให้คู่ความฟังตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 59 เป็นต้นไปได้ทั่วประเทศ

2.10 ระบบคืนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Corporate Banking) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายคืนเงินในคดีให้แก่คู่ความ (เงินค่าธรรมเนียมศาล, เงินค่าปรับ, เงินกลาง) ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตธนาคารโดยระบบ KTB Corporate Online, K-Cash connect Plus

3. สนับสนุนบทบาทของศาลในการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม และที่ไม่ก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนและสังคม ซึ่งศาลแขวงทุ่งสงได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้บริเวณศาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณศาล ตามโครงการ “Big Cleaning ศาลสวยด้วยมือเรา” เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายประธานศาลฎีกาด้านสิ่งแวดล้อม Green Court สนับสนุนบทบาทของศาลในการส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับมาตรฐานของศาลให้มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อประชาชนผู้รับบริการและคุณภาพชีวิตของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน.






กำลังโหลดความคิดเห็น