xs
xsm
sm
md
lg

ศาลแขวงปทุมวันขับเคลื่อนนโยบายบริหารศาลยุติธรรมตามแนวทางประธานศาลฎีกา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม





ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงปทุมวัน วางนโยบายขับเคลื่อนการบริหารศาลยุติธรรม เพื่อความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และลดการแพร่เชื้อ Covid-19 ตามแนวทางของประธานศาลฎีกา

วันนี้ (4 มิ.ย.) นายวิสิษฐ์ พุ่มกำพล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงปทุมวัน เปิดเผยว่า ตามที่ ประธานศาลฎีกา ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารศาลยุติธรรม พ.ศ. 2562-2563 ออกมาเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทางศาลแขวงปทุมวันจึงกำหนดมาตรการบริหารออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ประกอบด้วย 1. ศาลแขวงปทุมวันดำเนินการยกระดับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย มีการกำหนดมาตรการในการขอปล่อยชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความสะดวกรวดเร็วและการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งจะกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ต้องหา/จำเลย/เหยื่ออาชญากรรม/ผู้เสียหาย ตลอดจนกลุ่มผู้เปราะบางในสังคมทุกขั้นตอนของกระบวนการทางศาล พร้อมทั้งเพิ่มบทบาทเชิงรุกในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาล และให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย

โดยจัดให้มีแผนภูมิขั้นตอนการปล่อยตัวชั่วคราว และประชาสัมพันธ์บัญชีมาตรฐานหลักประกันปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้รายละเอียดข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการกับแสดงบัญชีมาตรฐานหลักประกันปล่อยตัวชั่วคราวในเว็บไซต์ของศาล, จัดให้มีระบบประสานข้อมูลในการรับและส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลสูง เพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ, จัดให้มีระบบการแจ้งคำสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวที่รวดเร็วแก่ผู้ประกัน

จัดให้มีห้องรอคำสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่ยังไม่เคยถูกควบคุมตัวมาก่อน, จัดให้มีสถานที่รอชำระค่าปรับที่สะดวกแก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับโดยไม่ต้องนำตัวไปยังห้องควบคุมตัว, ห้องควบคุมจัดให้มีการแยกระหว่างผู้ต้องขัง หรือจำเลยที่เป็นหญิง/ชาย โดยมีห้องน้ำแยกเป็นสัดส่วน, เปิดทำการศาลเพื่อพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและรับชำระค่าปรับในวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เพื่อขยายโอกาสแก่ผู้ต้องหา/จำเลยที่จะร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและออกหมายปล่อยได้ทันที

การจัดทำแบบคำร้องใบเดียวเพื่อเป็นการลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น และการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว, จัดประชุมประสานความร่วมมือระหว่างศาลกับผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลในเขตอำนาจศาลแขวงปทุมวัน โดยขอความร่วมมือในการคัดกรอง ผู้ต้องหาหรือจำเลยก่อนนำตัวมาผัดฟ้องฝากขังและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังเป็นยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในช่วงระยะเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19, จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

2. ศาลแขวงปทุมวันได้นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมการพิจารณาพิพากษาคดี และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยคำนึงถึงช่องทางอื่นที่สะดวกและประหยัดสำหรับประชาชนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในการปฏิบัติงานของศาลเพื่อให้คู่ความเข้าถึงข้อมูลทางคดีได้โดยสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนี้ นำนวัตกรรม การ “ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์” มาใช้ เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดความแออัดในการใช้ห้องประชุม ลดการเผชิญหน้า และยังทำให้คู่พิพาทสมัครใจและเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทมากขึ้น ซึ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์ ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายประธานศาลฎีกา ในการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความยุติธรรม โดยคำนึงถึงช่องทางอื่นที่สะดวกและประหยัดสำหรับประชาชนโดยที่คู่ความไม่ต้องเดินทางมาศาล อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนบทบาทของศาลในการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกบนพื้นฐานความสมัครใจของคู่ความ

จัดให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีในลักษณะการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) รวมถึงการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแขวงปทุมวันและศาลสูง ในกรณีที่จำเลยหรือผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานหญิงกลาง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง, จัดทำระบบผัดฟ้อง ฝากขัง ในลักษณะการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เพื่อลดการเดินทางมาศาล ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19, กำหนดระยะเวลาในการรายงานตัวของผู้ต้องหาระหว่างผัดฟ้อง/ฝากขัง เพื่อลดความแออัดในศาล

3. ศาลแขวงปทุมวันได้นำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้หรือคดีที่มีความเสียหายต่อผู้เสียหายมาเจรจายุติข้อพิพาทและค่าเสียก่อนถึงวันนัดสืบพยาน เพื่อลดปริมาณคดีต่อเนื่อง และ 4. ศาลแขวงปทุมวันได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณศาล ตามโครงการ “Big Cleaning ศาลสวยด้วยมือเรา” เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายประธานศาลฎีกาด้านสิ่งแวดล้อม Green Court สนับสนุนบทบาทของศาลในการส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อประชาชนผู้รับบริการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน, สนับสนุนบทบาทของศาลในการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกบนพื้นฐานความสมัครใจของคู่ความ




กำลังโหลดความคิดเห็น