xs
xsm
sm
md
lg

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ขอโทษสังคมแก้ไขพฤตินิสัย“สมคิด พุ่มพวง”ไม่ได้ ตั้งกก.แก้กฎคัดกรองผู้ต้องขังก่อเหตุซ้ำ

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



 
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ชี้แจงตั้งกรรมการสอบปรับปรุงการพิจารณากฎหมายคัดกรองผู้ต้องขังก่อเหตุซ้ำซาก รับ “สมคิด พุ่มพวง พ้นโทษตามกำหนด” ไม่มีกลไกในการติดตามตัว ทำได้เพียงประสานตำรวจเฝ้าสังเกตพฤติกรรม ขอโทษสังคมแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัย สมคิด

วันนี้( 17 ธ.ค.)เมื่อเวลา 14.40 น.ที่กรมราชทัณฑ์ ย่านนนทบุรี พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า กรมราชทัณฑ์ดูแลผู้ต้องขังทั่วประเทศกว่า 370,000 คน และการพิจารณาผู้ต้องขังที่จะได้รับอิสละภาพไปมีอยู่ 3 ประเภท 1.พ้นโทษตามคำพิพากษาของศาล ภาษาราชทัณฑ์คือปล่อยตามป้าย คือได้รับโทษมาจนครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลจะได้รับการปล่อยตัวไป

"2.การพักการลงโทษ มี 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกพักการลงโทษแบบปกติ คือได้รับจำคุกมาแล้ว 2 ใน 3 เหลือโทษอีก 1 ใน 3 แต่การพักโทษจะมีเงื่อนไข ต้องไปรายงานตัวกับเจ้าพนักงานคุมประพฤติ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบกำหนดโทษที่เหลือ อีกลักษณะคือพักโทษกรณีพิเศษ คือรับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 โดยคณะกรรมการพิจารณาพักการลงโทษ ที่มีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานพิจารณา ผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ ต้องเป็นผู้เจ็บป่วยร้ายแรง เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่มีอาการป่วยขั้นสุดท้าย และผู้สูงอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ให้กลับไปรักษาตัวอยู่กับครอบครัว ตามหลักมนุษยธรรม

3.ลดโทษ แบ่งผู้ต้องขังเป็น 6 ชั้น 1.ชั้นเลวมาก หรือชั้นต้องปรับปรุงมาก 2.ชั้นเลว หรือชั้นต้องปรับปรุง 3.ชั้นกลาง 4.ชั้นดี 5.ชั้นดีมาก และ6.ชั้นเยี่ยม โดยผู้ต้องขังเข้าใหม่จะอยู่ที่ชั้นกลาง หากประพฤติตัวดีเลื่อนเป็น ชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ต้องขังให้อยู่ในระเบียบวินัย และยอมอบรมและพัฒนาตัวเองระหว่างอยู่ในเรือนจำ ในทางตรงข้ามหากผู้ต้องขังประพฤติตัวไม่ดีจะลดไปชั้นเลว และเลวมากตามลำดับ จะมีผลต่อการบริหารโทษตามกฎหมาย หากเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม" พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าว

"อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยต่อว่า ต้องเรียนว่าในกรณีของนายสมคิด พุ่มพวง อดีตผู้ต้องขังที่เพิ่งจะพ้นโทษไปกลางปี 62 นั้น ไปก่อเหตุสะเทือนขวัญอีก ตนในฐานะผู้นำหน่วยของกรมราชทัณฑ์ต้องขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต และขอโทษสังคม ที่กรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยของนายสมคิดให้กลับมาเป็นคนดีได้ แต่ต้องเข้าใจว่านายสมคิดได้รับการลงโทษ และได้รับการลดโทษตามกระบวนการกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องทุกประการ ซึ่งขณะก่อเหตุล่าสุดเป็นการก่อเหตุภายนอกเรือนจำ หลังจากพ้นโทษไปแล้ว ซึ่งการพ้นโทษตามกำหนด ไม่ได้มีกลไกในการติดตามตัว ทำได้เพียงประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมในกรณีพิเศษ เช่นผู้ต้องหาคดีร้ายแรง หรือมือปืนรับจ้างเท่านั้น แตกต่างจากผู้ต้องขังที่ได้รับพักโทษ และยังเหลือโทษอีก 1 ใน 3 ยังต้องมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่คุมประพฤติตามขั้นตอน" 

ทางกรมราชทัณฑ์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจตั้งกรรมมา 1 ชุด คอยพิจารณา กลั่นกรอง ไปตรวจสอบดูว่าเคสนายสมคิด จะมีการแก้ปัญหาอย่างไรในการร่างกฎหมาย ในการพิจารณาลดโทษผู้ต้องขังที่ก่อเหตุซ้ำซ้อนซ้ำซาก ในข้อหารุนแรง อุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ ให้ได้รับการพักโทษ หรือลดโทษออกมานอกเรือนจำก่อนเวลาอันควร

"การติดกำไรคุมประพฤติ หรือ EM ที่ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ให้แนวนโยบาย ซึ่งเป็นนวัฒกรรมใหม่ที่กระบวนการยุติธรรมของไทยที่ใช้มา มี 3 มิติคือ มิติที่ 1.วิธีที่ศาลยุติธรรมใช้ EM ประกอบการปล่อยตัวชั่วคราว กับผู้กระทำความผิดหรือจำเลยในการได้รับการประกันตัวออกมาทำงานและเรียนหนังสือชั่วคราวระหว่างมีการพิจาณาคดี มิติที่

2.ใช้ EM ประกอบพักการลงโทษ ของกรมราชทัณฑ์ ที่อนุกรรมการพักการลงโทษจะพิจารณาติด EM ในกรณีเสี่ยงที่ผู้ต้องขังจะหลบหนี หรือ แต่อุปกรณ์ EM เป็นของกรมคุมประพฤติ และศาลยุติธรรม ซึ่ง EM ยังมีจำนวนน้อยมาก ไม่สามารถนำมาใช้ทั่วถึงและแพร่หลายได้ และมิติที่

3.ศาลยุติธรรมใช้ในการลงโทษผู้เมาแล้วขับรถ มีโทษจำคุกและรอลงอาญา โดยมีเงื่อนไขให้ติด EM ส่วนตัวติดว่าในการได้ดีแต่ปัญหาหาคือ EM ยังมีจำนวนน้อยมาก ส่วนกรณีที่มีปัญหา คือผู้ต้องขัง ผู้ต้องหาในคดีอาญารับโทษสิ้นสุด หรือพ้นโทษได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว ตามรัฐธรรมนูญ ก็จะดำรงสถานะเป็นประชาชนทั่วไป ผู้พ้นโทษหลายรายพ้นโทษออกจากเรือนจำไปก็กลับไปใช้ชีวิตเป็นพลเมืองดี แต่เคสนายสมคิดนั้น ตนยอมรับว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องผิดพลาดในการกลั่นกรอง ซึ่งเป็นระบบทางกฎหมายที่ใหม่มีมาไม่นาน ประกอบกับมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวของในการร่างกฎ หมายดังกล่าว คงต้องมีมาตรการเพิ่มความเข้มข้นในการกลั่นกรองบุคคลเหล่านี้มากขึ้น" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น