กรณีการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติห้ามเอาไว้ เช่น บริเวณพื้นที่ว่างระหว่างตึกแถว หรือที่ดินบริเวณแนวถอยรนอาคาร เพราะต้องการให้เว้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การผังเมืองและการสาธารณสุขนั้น ไม่อาจทำได้ แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนให้พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งก็เดือดร้อนไปถึงเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ต้องมาดำเนินการร้องเรียนหรือฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาล
เช่นเดียวกับคดีอุทาหรณ์ที่ผมนำมาบอกเล่าเก้าสิบกันในวันนี้ โดยนางโบตั๋นเจ้าของโรงรับจำนำแห่งหนึ่ง ได้ติดตั้งโครงเหล็กพร้อมหลังคาและผนังแผงลวดตาข่ายโครงคร่าวเหล็กเลื่อนได้ ในที่ว่างระหว่างตึกแถวซึ่งติดกับตึกแถวซึ่งเป็นโรงรับจำนำของตน เพื่อนบ้านจึงร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่า การก่อสร้างโครงเหล็กพร้อมหลังคาฯ ดังกล่าว ของนางโบตั๋นจะเกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยหากเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เพราะรถดับเพลิงจะไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ นายกเทศมนตรีจึงสั่งการให้ตรวจสอบทันที
ผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีการต่อเติมโครงเหล็กฯ ตามที่ร้องเรียนจริง ซึ่งขัดต่อ ข้อ 34 วรรคสาม และวรรคห้า ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งกำหนดให้ระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร ต้องมีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นช่วงตลอดความลึกของห้องแถวหรือตึกแถวเพื่อเชื่อมกับที่ว่างหลังอาคาร และที่ว่างนั้นจะก่อสร้างอาคาร รั้ว กำแพง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด หรือจัดให้เป็นบ่อนํ้า สระว่ายนํ้า ที่พักมูลฝอย หรือที่พักรวมมูลฝอย ไม่ได้
นายกเทศมนตรีจึงสั่งให้นางโบตั๋นรื้อถอนตามระเบียบ ! โดยให้เหตุผลว่านางโบตั๋นได้ทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารชนิดตึกแถว 2 ชั้น โดยดำเนินการต่อเติมโครงเหล็กพร้อมมุงหลังคาเหล็กรีดตลอดแนวความลึกของอาคาร และติดตั้งผนังแผงลวดตาข่ายโครงคร่าวเหล็กเลื่อนได้ จำนวน 2 แผง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเป็นการก่อสร้างในบริเวณที่กฎหมายห้ามไว้ อันเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงสั่งการให้รื้อถอนภายใน 30 วัน นางโบตั๋นยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาลและเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นฯ ซึ่งได้ประชุมพิจารณาแล้วยืนตามคำสั่งเดิม
นางโบตั๋นยังหัวหมอสู้ต่อว่า โครงเหล็กฯ ที่ก่อสร้างนั้นไม่ถือเป็นอาคาร ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อีกทั้งไม่ใช่รั้ว กำแพงหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด ฯลฯ ตามกฎกระทรวงข้างต้น ดังนั้นมิใช่เป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารในบริเวณตามที่กฎหมายต้องห้าม อีกทั้งคำสั่งของนายกเทศมนตรีเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อตน จึงต้องให้โอกาสตนได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เสียก่อน นอกจากนี้นายกเทศมนตรียังไม่ได้แสดงเหตุผลว่า สิ่งก่อสร้างที่ตนต่อเติมนั้นมีสภาพอาจเป็นอันตรายหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้อย่างไร เรื่องจึงขึ้นสู่ศาลปกครองในที่สุด
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยว่า มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้นิยามความหมายของ “อาคาร” ว่า หมายถึง ตึก บ้าน เรือน ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ส่วนคำว่า “ดัดแปลง” หมายความว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลดหรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือดัดแปลง ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งข้อ 1 วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528)ฯ กำหนดว่า การกระทำที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ ... (3) การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่ง ส่วนใด เกินร้อยละสิบ... ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อกฎกระทรวงข้อ 34 วรรคสาม ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ที่ห้ามก่อสร้างอาคารระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร
เมื่อนางโบตั๋นเป็นเจ้าของตึกแถวสองชั้น ซึ่งเป็นตึกแถวถึงสิบคูหา มีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร โดยได้ติดตั้งโครงเหล็กพร้อมหลังคาเหล็กรีดตลอดแนวความลึกของอาคาร ในบริเวณคูหาของตนกับอาคารตึกแถวอีกฟากหนึ่ง จึงมีลักษณะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และโดยที่การกระทำดังกล่าวเป็นการต่อเติมหรือขยายส่วนด้านข้างอาคารตึกแถว อันอยู่ในความหมายของคำว่าอาคารและคำว่า ดัดแปลง ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้ส่วนที่ก่อสร้างขึ้นหรือดัดแปลงทั้งหมดจะมีน้ำหนักมวลรวมไม่เกินร้อยละสิบของน้ำหนักโครงสร้างอาคารเดิมก็ตาม แต่ก็เป็นการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในบริเวณที่กฎหมายห้ามไว้ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชน การกระทำของโบตั๋นจึงขัดกับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว
นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนได้ โดยไม่จำต้องเปิดโอกาสให้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อน ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพราะกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์คุ้มครองคู่กรณีที่มีสิทธิตามกฎหมายในการก่อสร้างอาคารแล้วถูกคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไปกระทบต่อสิทธิ แต่กรณีของนางโบตั๋น (ผู้ฟ้องคดี) นั้น ไม่มีสิทธิตามกฎหมายอยู่ก่อนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้รื้อถอน ฉะนั้น คำสั่งรื้อถอนส่งก่อสร้างของนางโบตั๋นของนายกเทศมนตรี จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ.696/2557)
ทันทีที่ทราบผลการตัดสิน เสียงวลีของเพลง จังซี่มันต้องถอน !! ก็แว่วเข้ามาในหัวของนางโบตั๋นโดยฉับพลัน....
ครองธรรม ธรรมรัฐ
เช่นเดียวกับคดีอุทาหรณ์ที่ผมนำมาบอกเล่าเก้าสิบกันในวันนี้ โดยนางโบตั๋นเจ้าของโรงรับจำนำแห่งหนึ่ง ได้ติดตั้งโครงเหล็กพร้อมหลังคาและผนังแผงลวดตาข่ายโครงคร่าวเหล็กเลื่อนได้ ในที่ว่างระหว่างตึกแถวซึ่งติดกับตึกแถวซึ่งเป็นโรงรับจำนำของตน เพื่อนบ้านจึงร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่า การก่อสร้างโครงเหล็กพร้อมหลังคาฯ ดังกล่าว ของนางโบตั๋นจะเกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยหากเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เพราะรถดับเพลิงจะไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ นายกเทศมนตรีจึงสั่งการให้ตรวจสอบทันที
ผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีการต่อเติมโครงเหล็กฯ ตามที่ร้องเรียนจริง ซึ่งขัดต่อ ข้อ 34 วรรคสาม และวรรคห้า ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งกำหนดให้ระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร ต้องมีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นช่วงตลอดความลึกของห้องแถวหรือตึกแถวเพื่อเชื่อมกับที่ว่างหลังอาคาร และที่ว่างนั้นจะก่อสร้างอาคาร รั้ว กำแพง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด หรือจัดให้เป็นบ่อนํ้า สระว่ายนํ้า ที่พักมูลฝอย หรือที่พักรวมมูลฝอย ไม่ได้
นายกเทศมนตรีจึงสั่งให้นางโบตั๋นรื้อถอนตามระเบียบ ! โดยให้เหตุผลว่านางโบตั๋นได้ทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารชนิดตึกแถว 2 ชั้น โดยดำเนินการต่อเติมโครงเหล็กพร้อมมุงหลังคาเหล็กรีดตลอดแนวความลึกของอาคาร และติดตั้งผนังแผงลวดตาข่ายโครงคร่าวเหล็กเลื่อนได้ จำนวน 2 แผง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเป็นการก่อสร้างในบริเวณที่กฎหมายห้ามไว้ อันเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงสั่งการให้รื้อถอนภายใน 30 วัน นางโบตั๋นยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาลและเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นฯ ซึ่งได้ประชุมพิจารณาแล้วยืนตามคำสั่งเดิม
นางโบตั๋นยังหัวหมอสู้ต่อว่า โครงเหล็กฯ ที่ก่อสร้างนั้นไม่ถือเป็นอาคาร ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อีกทั้งไม่ใช่รั้ว กำแพงหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด ฯลฯ ตามกฎกระทรวงข้างต้น ดังนั้นมิใช่เป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารในบริเวณตามที่กฎหมายต้องห้าม อีกทั้งคำสั่งของนายกเทศมนตรีเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อตน จึงต้องให้โอกาสตนได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เสียก่อน นอกจากนี้นายกเทศมนตรียังไม่ได้แสดงเหตุผลว่า สิ่งก่อสร้างที่ตนต่อเติมนั้นมีสภาพอาจเป็นอันตรายหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้อย่างไร เรื่องจึงขึ้นสู่ศาลปกครองในที่สุด
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยว่า มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้นิยามความหมายของ “อาคาร” ว่า หมายถึง ตึก บ้าน เรือน ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ส่วนคำว่า “ดัดแปลง” หมายความว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลดหรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือดัดแปลง ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งข้อ 1 วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528)ฯ กำหนดว่า การกระทำที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ ... (3) การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่ง ส่วนใด เกินร้อยละสิบ... ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อกฎกระทรวงข้อ 34 วรรคสาม ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ที่ห้ามก่อสร้างอาคารระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร
เมื่อนางโบตั๋นเป็นเจ้าของตึกแถวสองชั้น ซึ่งเป็นตึกแถวถึงสิบคูหา มีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร โดยได้ติดตั้งโครงเหล็กพร้อมหลังคาเหล็กรีดตลอดแนวความลึกของอาคาร ในบริเวณคูหาของตนกับอาคารตึกแถวอีกฟากหนึ่ง จึงมีลักษณะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และโดยที่การกระทำดังกล่าวเป็นการต่อเติมหรือขยายส่วนด้านข้างอาคารตึกแถว อันอยู่ในความหมายของคำว่าอาคารและคำว่า ดัดแปลง ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้ส่วนที่ก่อสร้างขึ้นหรือดัดแปลงทั้งหมดจะมีน้ำหนักมวลรวมไม่เกินร้อยละสิบของน้ำหนักโครงสร้างอาคารเดิมก็ตาม แต่ก็เป็นการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในบริเวณที่กฎหมายห้ามไว้ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชน การกระทำของโบตั๋นจึงขัดกับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว
นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนได้ โดยไม่จำต้องเปิดโอกาสให้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อน ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพราะกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์คุ้มครองคู่กรณีที่มีสิทธิตามกฎหมายในการก่อสร้างอาคารแล้วถูกคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไปกระทบต่อสิทธิ แต่กรณีของนางโบตั๋น (ผู้ฟ้องคดี) นั้น ไม่มีสิทธิตามกฎหมายอยู่ก่อนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้รื้อถอน ฉะนั้น คำสั่งรื้อถอนส่งก่อสร้างของนางโบตั๋นของนายกเทศมนตรี จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ.696/2557)
ทันทีที่ทราบผลการตัดสิน เสียงวลีของเพลง จังซี่มันต้องถอน !! ก็แว่วเข้ามาในหัวของนางโบตั๋นโดยฉับพลัน....
ครองธรรม ธรรมรัฐ