xs
xsm
sm
md
lg

กรมศุลฯ จับกุมสินค้าหนีภาษี-ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มูลค่า 141 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากรแถลงข่าวการจับกุมสินค้าลักลอบหนีศุลกากรหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด อาทิรถยนต์หรู รถจักรยานยนต์ สุราต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ตู้เกมซ ซี่โครงสุกรแช่แข็ง กระเทียม และสินค้าละเมิดทรัพย์สิมทางปัญญา รวมมูลค่ากว่า 141 ล้านบาท
กรมศุลกากร จับกุมรถยนต์หรู รถจักรยานยนต์ สุราต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ตู้เกม ซี่โครงสุกรแช่แข็ง กระเทียม ลักลอบหนีศุลกากรหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด และสินค้าละเมิดทรัพย์สิมทางปัญญา รวมมูลค่ากว่า 141 ล้านบาท

เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (16 ม.ค.) ที่กรมศุลกากร นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากรแถลงข่าวการจับกุมสินค้าลักลอบหนีศุลกากรหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด อาทิรถยนต์หรู รถจักรยานยนต์ สุราต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ตู้เกมซ ซี่โครงสุกรแช่แข็ง กระเทียม และสินค้าละเมิดทรัพย์สิมทางปัญญา รวมมูลค่ากว่า 141 ล้านบาท โดยเป็นการกวาดล้างจับกุมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

นายสมชัย กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจาก บจก.แฟร์ ซัคซีส ได้นำเข้าสินค้า โดยสำแดงของเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้า ลำโพง แว่นตากันแดด และของใช้ในครัวเรือน นำเข้าจากต่างประเทศ แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นรถจักรยานต์ยนต์เก่าใช่แล้ว หลายยี่ห้อ อาทิ ยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยู ยี่ห้อฮาร์เลย์ เดวิดสัน และยี่ห้ออื่นๆ รวม 14 คัน สุราต่างประเทศจำพวกไวน์ จำนวน 2,300 ขวด และเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถจับกุม บจก.สุนัน อินปอร์ต และ บจก.เอาอาร์ อิมปอร์ต นำเข้ารถจักรยานยนต์เก่าใช้แล้ว อีก 15 คัน รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งรถจักรยานยนต์เก่าใช้แล้วทั้งหมดต้องเป็นของที่ต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก่อนการนำเข้าในอาณาจักร โดยสามารถจับกุมได้ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งรถจักรยานยนต์ทั้งหมดถูกนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใครเป็นผู้ว่าจ้างนำเข้ามา และจะนำไปขายให้ใครนั้น ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนเพื่อนำตัวมาดำเนินคดี นอกจากนี้ ยังสามารถจับกุมรถยนต์สปอร์ต ยี่ห้อเมอร์ซิเดส เบนซ์ รุ่น เอสแอลเอส เอเอ็มจี กัลวิงซ์ ปี 2010 ซึ่งเป็นรถยนต์ลักลอบนำเข้าโดยไม่ชำระภาษีอากร มูลค่ากว่า 22 ล้านบาท โดยการจับกุมได้ที่โกดังย่านสาธร เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา

นายสมชัย กล่าวต่อว่า วานนี้ (15 ม.ค.) ทางเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจำนวนกว่า 160 คน ได้เข้าทำการปิดล้อมตลาดโรงเกลือ 2 จ.นครนายก โดยสามารถจับกุมสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก อาทิ กระเป๋าแบรนด์เนม เสื้อผ้าแบรนด์เนม มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท ขณะนี้มีเจ้าของลิขสิทธิ์จำนวนหลายรายเดินทางเข้ามาแจ้งกับกรมศุลกากร ว่า ถูกละเมิดเครื่องหมายทางการค้า ทางเราจึงเข้มงวดในการกวาดล้างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปซื้อสินค้าที่นั้น ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ผิดที่ไม่ควรทำตาม ต่อจากนี้ก็จะมีการกวาดล้างคลาดโรงเกลือ 3 ต่อไป เพื่อให้สินค้าผิดกฏหมายหมดไป นอกจากนี้ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ยังสามารถจับกุมฝาที่ใช้ปิดผนึกขวดสุราต่างประเทศ ยี่ห้อจอห์นนี วอล์คเกอร์ แบล็ค เลเบิ้ล จำนวน 20,000 ชิ้น ของเล่นละเมิดเครื่องหมายการค้า รวมกว่า 10,000 ชิ้น มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 620 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตามนโยบายปกป้องสังคมและสร้างความเป็นธรรมทางการค้า เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้จับกุมสินค้าทางการเกษตร โดยสามารถจับกุมซี่โครงสุกรแช่แข็ง จำนวน 52,000 กิโลกรัม มูลค่า 1.56 ล้านบาท, ตับสุกรแช่แข็ง จำนวน 12,000 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท, กระเทียมและหอมหัวใหญ่ ลักลอบหนีศุลการหร จำนวนกว่า 4,200 กระสอบ มูลค่ากว่า 600,000 บาท, บารากู่ จำนวน 400 กิโลกรัม มูลค่า 400,000 บาท, อุปกรณ์สูบบารากู่ จำนวน 280 ชุด มูลค่า 1.3 ล้านบาท, เครื่องสำอางจากต่างประเทศ 4,606 ชิ้น มูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเสริมกล้ามเนื้อ จำนวน 381 ชิ้น มูลค่ากว่า 200,000 บาท และตู้เกมสลอต จำนวน 200 เครื่อง มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท นำเข้าโดยสำแดงเป็นเศษพลาสติก ซึ่งของตู้เกมดังกล่าวถือเป็นของต้องห้ามในการนำเข้า

นายสมชัย กล่าวอีกว่า โดยการจับกุมที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นความผิดฐานสำแดงชนิดสินค้า ปริมาณ ประเภทพิกัด และอัตราอากรเป็นเท็จ หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด และอากรตามมาตรา 99 มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบมาตรา 16 มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 สินค้าดังกล่าวเป็นสิ่งของอันพึงต้องริบตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2519 และความผิดตามพระราชบัญญัติส่งออกไปนอก และนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติ ห้ามนำของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จเข้ามา พ.ศ. 2481 ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้ยึดของกลางทั้งหมดส่งกรมศุลกากรเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

กำลังโหลดความคิดเห็น