xs
xsm
sm
md
lg

ปปง.แถลงยึดทรัพย์ 892 คดี มูลค่ากว่า 5.4 พันล้านบาท

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

(แฟ้มภาพ)พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เลขาธิการ ปปง.แถลงยึดทรัพย์รวม 892 คดี มูลค่ากว่า 5 พัน 4 ร้อยล้านบาท ชี้ 787 คดีเป็นคดียาเสพติด เตรียมงัดมาตราการ ปปง.สากลตรวจสอบการฟอกเงินของอาชญากรระดับประเทศ เผยข้อมูลปี 49 -50 ไทยติดอันดับในด้านการก่อการร้ายและการฟอกเงิน จ่อออกประกาศ ปปง.จำนวน 9 ฉบับบังคับใช้เพิ่มเติมป้องกันการฟอกเงิน

วันนี้ (14 พ.ย.) ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แถลงผลการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ครั้งที่ 6/2556 ซึ่งมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวว่า การดำเนินคดีตามที่คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินรวม 892 คดี มูลค่าทรัพย์สิน 5,387,367,383.35 บาท ส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับมูลฐานความเรื่องยาเสพติดจำนวน 787 คดี มูลค่าทรัพย์สิน 2,962,532,789.09 บาท โดยคดีที่เหลือเป็นคดีที่เกี่ยวกับมูลฐาน ความผิดเรื่องค้าหญิงและเด็กฉ้อโกงประชาชน ยักยอกฉ้อโกง(สถาบันการเงิน) ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ กรรโชก รีดเอาทรัพย์โดยอ้างอำนาจ อั้งยี่ซ่องโจร หลบหนีศุลกากร ก่อการร้าย การพนัน ลักทรัพย์ ตามลำดับ เรื่องต่อมาคือการจัดทำบันทึกความเข้าใจ กับประเทศต่างๆเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินระหว่า งกันซึ่งตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สำนักงาน ปปง.จัด ทำบันทึกความเข้าใจรวม 41ประเทศ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จัดทำบันทึกความเข้าใจอีก 3 ประเทศ คือ มาดากัสการ์ อินเดีย และเวียดนาม รวมทั้งสิ้น 44 ประเทศ

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวต่อว่า เนื่องด้วยในช่วงปี 2549-2550 ประเทศไทยติดอันดับในด้านก่อการร้ายและการฟอกเงิน ทาง ปปง.จึงได้เตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินการปฏิบัติตาม มาตรฐานสากลในด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในปี 2558 โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมิน เพื่อจะได้ผลักดันการปฏิบัติผ่านคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะทำงานเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินที่จะแต่งตั้งขึ้นโดยมีองค์ประกอบเป็นผู้แทน จากหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ระบบ AML/CFT ของประเทศไทยซึ่งจะมีการประชุมต่อไป และสำหรับการเตรียมความพร้อมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เพื่อรับการตรวจประเมินการปฏิบัติตามตามมาตรฐานสากลในด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT) ในปี 2558

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวต่ออีกว่า เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญและจริงจังกับ การดำเนินการเพื่อบังคับใช้กฎหมายและดำเนินการอื่นๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงาน ปปง.ดำเนินการใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1. การออกประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินออกตามกฎกระทรวง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556

2. การปฏิบัติตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556 ของสถาบันการเงิน ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่สำนักงาน ปปง.ได้มีการออกกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุบัญญัติสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินการกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ามีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบ ปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามข้ อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial ActionTask Force on Money laundering : FATF) และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยได้รับการพิจารณาปลดจากบัญชีประเทศที่มีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism : AML/CFT) นั้น

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวด้วยว่า ประเทศไทยจักต้องเข้ารับการตรวจประเมินผลความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวจาก FATF เป็นระยะซึ่งมีกำหนดการครั้งต่อไปในปี 2558 ดังนั้นเพื่อให้กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่สำนักงาน ปปง.จะต้องเร่งรัดและผลักดันให้มีการออกประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำนวน 9 ฉบับ ดังนี้

1. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง 2. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมินและบริหาร ความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 3. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางในการกำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นก่อนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ 4. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางการกำหนดปัจจัยเพื่อพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าเกี่ยวกับอาชีพ

5. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางการกำหนดปัจจัยเพื่อพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าเกี่ยวกับพื้นที่หรือประเทศ 6. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางการกำหนดปัจจัยหรือลักษณะในการพิจารณาลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ 7. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางในการระบุตัวตนของลูกค้าและการระบุผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า 8. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับลูกค้าปัจจุบัน 9. ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องแนวทางการกำหนดการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องส่งข้อมูลพร้อมคำสั่งโอนเงิน

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวอีกว่า ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ไม่ทำธุรกรรม หรือยุติความสัมพันธ์ ทางธุรกิจกับลูกค้าได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. กรณีที่ลูกค้ามีความเสี่ยงสูงจนอาจเป็นเหตุให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพถูกใช้เป็นเครื่องมื อในการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 2. กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้คือไม่สามารถระบุตัวตนของลูกค้า ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของ ลูกค้าได้ไม่สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรมและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจของลูกค้าได้ ดังนั้น

1. ตรวจข้อมูลแล้วพบว่าผู้รับจ้างเปิดบัญชีอยู่ในข่ายลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงจนอาจเป็นเหตุให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพถูกใช้เป็นเครื่องมือใน การฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือ 2. ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับจ้างเปิดบัญชีหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของผู้รับจ้างเปิดบัญชี หรือไม่สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรมและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความสัมพันธ์ทาง ธุรกิจของผู้รับจ้างเปิดบัญชีได้

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวต่อว่า สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพต้องปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือไม่ทำธุรกรรมหรือยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าดังกล่าว และรายงานเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง. ทั้งนี้ หากธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่สำนักงาน ปปง.ได้รับมาจากสถาบันการเงินนั้นพบว่ามีบุคคลใดอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน เช่นความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกให้มีการโอนเงินผ่านสถาบันการเงินนั้น สำนักงาน ปปง.อาจมีความจำเป็นต้องเชิญลูกค้าที่ทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าวมาให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป

นอกจากนี้ พ.ต.อ.สีหนาทยังกล่าวว่า ในปัจจุบันพฤติกรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีรูปแบบและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในรูปแบบของการหลอกลวงผ่านโทรศัพท์ผ่านสื่อออนไลน์ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อหลอกลวงให้โอนเงิน ดังนั้นจึงขอกำชับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามกฎกระทรวงทั้งหมดให้ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างเข้มข้นและแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ควรวางโทรศัพท์ทันทีไม่ควรพูดหรือเจรจา เพราะมิจฉาชีพจะมีวิธีพูดให้เหยื่อกลัวและไม่กล้าวางสาย และขอให้สื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้รับทราบเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะพัฒนารูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อยๆ หากมีข้อสงสัยให้เปิดเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง.ที่ www.amlo.go.th หรือโทร.สายด่วน ปปง.1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง.จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น