xs
xsm
sm
md
lg

ป.ป.ช.ยื่นหนังสือ UNODC ประกาศจุดยืนคัดค้านคอร์รัปชัน

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ(คนซ้าย) (ป.ป.ช.) เดินทางเข้ายื่นหนังสือที่ UNODC เพื่อแสดงจุดยืน คัดค้าน พ.ร.บ.นิโทษกรรม
ป.ป.ช.ยื่นหนังสือ UNODC เพื่อประกาศจุดยืนคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษกรรมความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่น โดยให้เหตุผลว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้ทาง UNODC ยินดีรับหนังสือดังกล่าวไว้พิจารณา และพร้อมจะช่วยดูแลปัญหา รวมทั้งพร้อมจะเสนอแนวคิดวิธีการแก้ปัญหา

วันนี้ (6 พ.ย.) ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายยูรี เฟโดตอฟ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาติ (UNODC) เพื่อประกาศจุดยืนคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชัน โดยมี นายเจอรามี ดั๊กกลาส ผู้แทน UNODC เป็นผู้รับหนังสือ

ศ.ดร.ภักดี กล่าวว่า วันนี้ได้มายื่นหนังสือฉบับดังกล่าวเพื่อแสดงเจตจำนงของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการปฏิเสธการนิรโทษกรรมความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นประเด็นที่บรรจุอยู่ในร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ที่กำลังจะมีการพิจารณาในวุฒิสภาของไทย ซึ่งร่างกฏหมายดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบในวงกว้าง สำหรับทาง UNODC ก็ยินดีรับหนังสือดังกล่าว ไว้พิจารณาและพร้อมจะช่วยดูถ้าปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่อว่า สําหรับรายละเอียดในหนังสือทียื่นถึงผู้อํานวยการใหญ่ UNODC มีสาระเช่นเดียวกับ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ยื่นเป็นข้อเสนอเพื่อเป็นข้อมูลประกอบร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เรื่องกล่าวหาที่ คตส.ดําเนินการไต่สวนและส่งฟ้อง คดีต่อศาลที่มีเขตอํานาจแล้ว และเรื่องที่ คตส.ส่งมอบสํานวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ รวมทั้งเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดําเนินการไต่สวนตามอํานาจหน้าที่ จํานวน 25,331 เรื่อง เป็นเรื่องกล่าวหาผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองระดับสูง จํานวน 400 เรื่อง และเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป จํานวน 24,931 เรื่อง ในจํานวนนี้เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด จํานวน 666 เรื่อง

ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่ออีกว่า ประเทศไทยได้ยินยอมเข้าผูกพันเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 (UNCAC) ซึ่งหลักการของอนุสัญญาดังกล่าวได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา และความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตที่มีผลต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของสังคม ซึ่งบ่อนทําลายสถาบัน และหลักของระบอบประชาธิปไตย คุณค่าทางจริยธรรม อยู่ระหว่างการถูกประเมิน และติดตามผลการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญา UNCAC ดังกล่าวอยู่ด้วย ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ณ สำนักงานสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย เป็นผู้รับเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริต จะเป็นอันต้องระงับสิ้นไป และเรื่องที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าไม่เคยต้องคําพิพากษาดังกล่าว เนื่องจากผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ความยุติธรรม และเป็นอันตรายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักนิติรัฐ ซึ่งหมายถึงประเทศไทยยินยอมจํากัดอํานาจอธิปไตยบางส่วนเข้าผูกพัน ตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น หากประเทศไทยจะออกกฎหมายล้มล้างคดีทุจริตจะเป็นการขัดต่อหลักการของอนุสัญญาดังกล่าว และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทย
บริเวณUNODC
กำลังโหลดความคิดเห็น