หมอลำพื้นบ้านร้องกรมคุ้มครองสิทธิฯ เป็นตัวกลางช่วยไกล่เกลี่ยกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กรณีปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ของบทเพลงในการแสดง ด้านตัวแทนนักวิชาการกลุ่มหมอลำพื้น ค้านเซ็นข้อตกลงกับแกรมมี่ เกรงอีก 20 บริษัทจ้องเก็บค่าลิขสิทธิ์เช่นกัน
วันนี้ (11 ต.ค.) ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี เป็นประธานไกล่เกลี่ยกรณีปัญหาข้อพิพาทการละเมิดลิขสิทธิ์ค่ายเพลงของวงหมอลำพื้นบ้านแถบภาคอีสาน หลังถูกค่ายเพลงเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ขณะนำเพลงไปใช้แสดงบนเวที โดยมีคณะกรรมการลิขสิทธิ์กรรมการสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ดร.ประมวล เสติ นักวิชาการศิลปวัฒนธรรมภาคอีสาน นางสาวจิตรลดา เฮงยศมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่มศิลปินหมอลำ ภาคอีสาน และภาคกลาง ร่วมถกปัญหาเพื่อหาทางออกกรณีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จากกลุ่มหมอลำพื้นบ้าน
นางสาวจิตรดา กล่าวว่า ในเบื้องต้นทางแกรมมี่ต้องการให้กลุ่มศิลปินหมอลำเข้ามาลงทะเบียนรายชื่อวงไว้เป็นข้อมูลกับทางบริษัท เพื่อจะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดเก็บหรือไม่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงกลุ่มใดบาง ทั้งนี้ยืนยันว่าจะยังไม่มีการเข้าไปเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเร็วๆ นี้ พร้อมกับให้เหตุผลว่าเป็นข้อดีสำหรับศิลปินขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะหากมีรายชื่อในกลุ่มข้อมูลของแกรมมี่แล้ว หากมีการจัดเก็บหรือมีแอบอ้าง ถือว่าผิดกฎหมายและไม่เกี่ยวข้องกับแกรมมี่
สำหรับกลุ่มศิลปินหมอลำที่มีรายได้การแสดงตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องเข้ามาพูดคุยทำข้อตกลงกันในเรื่องค่าลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งจากข้อมูลของทางแกรมมี่พบว่าการแสดงหมอพื้นบ้านมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 250 ล้านบาท
ด้าน ดร.ประมวล กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง เพราะถ้าหากกลุ่มหมอลำพื้นบ้านต้องไปเซ็นสัญญาทำข้อตกลงกับแกรมมี่ ก็จะทำให้ต้องเซ็นสัญญากับบริษัทอื่นๆ อีกกว่า 20 บริษัท นั่นหมายความว่ากลุ่มหมอลำจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มหลายกลุ่ม ส่วนกรณีแกรมมี่มองกลุ่มหมอลำว่ามีรายได้จากการแสดงกว่า 2 แสนบาทต่อครั้งนั้น แท้จริงแล้วทางวงดนตรีมีค่าใช้จ่ายอีกมาก ทั้งค่ารถ เครื่องดนตรี หางเครื่อง อาหาร และน้ำมัน นอกจากนี้การแสดงในแต่ละครั้งก็ต้องมีการซ้อม ซึ่งหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเพียง 5,000-6,000 บาทเท่านั้น
ขณะที่ พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อสรุป ดีกว่าไปโต้เถียงกัน เพราะการเข้าเจรจากันในวันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว และต้องขอความเห็นใจกลุ่มแกรมมี่ อยากให้ผ่อนปรนในเรื่องนี้ เพราะต่อไปก็จะมีกลุ่มอื่นๆ อีกมากที่จะต้องทยอยเข้ามาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ทั้งนี้อยากให้บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดควรทำการประชาสัมพันธ์กรณีการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน เพื่อป้องกันการเกิดความสับสน โดยหวังว่าการเจรจาจะยุติด้วยดี เพราะหากกลุ่มหมอลำเลิกกิจการก็จะกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ตนจะเห็นใจศิลปินหมอลำ แต่ก็ถือเป็นสิทธิทางการค้าของแกรมมี่ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ที่จะได้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ทางบทเพลง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้คือกลุ่มหมอลำมีการนำเพลงสมัยใหม่ไปขับร้องจึงกลายเป็นปัญหา
วันนี้ (11 ต.ค.) ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี เป็นประธานไกล่เกลี่ยกรณีปัญหาข้อพิพาทการละเมิดลิขสิทธิ์ค่ายเพลงของวงหมอลำพื้นบ้านแถบภาคอีสาน หลังถูกค่ายเพลงเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ขณะนำเพลงไปใช้แสดงบนเวที โดยมีคณะกรรมการลิขสิทธิ์กรรมการสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ดร.ประมวล เสติ นักวิชาการศิลปวัฒนธรรมภาคอีสาน นางสาวจิตรลดา เฮงยศมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่มศิลปินหมอลำ ภาคอีสาน และภาคกลาง ร่วมถกปัญหาเพื่อหาทางออกกรณีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จากกลุ่มหมอลำพื้นบ้าน
นางสาวจิตรดา กล่าวว่า ในเบื้องต้นทางแกรมมี่ต้องการให้กลุ่มศิลปินหมอลำเข้ามาลงทะเบียนรายชื่อวงไว้เป็นข้อมูลกับทางบริษัท เพื่อจะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดเก็บหรือไม่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงกลุ่มใดบาง ทั้งนี้ยืนยันว่าจะยังไม่มีการเข้าไปเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเร็วๆ นี้ พร้อมกับให้เหตุผลว่าเป็นข้อดีสำหรับศิลปินขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะหากมีรายชื่อในกลุ่มข้อมูลของแกรมมี่แล้ว หากมีการจัดเก็บหรือมีแอบอ้าง ถือว่าผิดกฎหมายและไม่เกี่ยวข้องกับแกรมมี่
สำหรับกลุ่มศิลปินหมอลำที่มีรายได้การแสดงตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องเข้ามาพูดคุยทำข้อตกลงกันในเรื่องค่าลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งจากข้อมูลของทางแกรมมี่พบว่าการแสดงหมอพื้นบ้านมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 250 ล้านบาท
ด้าน ดร.ประมวล กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง เพราะถ้าหากกลุ่มหมอลำพื้นบ้านต้องไปเซ็นสัญญาทำข้อตกลงกับแกรมมี่ ก็จะทำให้ต้องเซ็นสัญญากับบริษัทอื่นๆ อีกกว่า 20 บริษัท นั่นหมายความว่ากลุ่มหมอลำจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มหลายกลุ่ม ส่วนกรณีแกรมมี่มองกลุ่มหมอลำว่ามีรายได้จากการแสดงกว่า 2 แสนบาทต่อครั้งนั้น แท้จริงแล้วทางวงดนตรีมีค่าใช้จ่ายอีกมาก ทั้งค่ารถ เครื่องดนตรี หางเครื่อง อาหาร และน้ำมัน นอกจากนี้การแสดงในแต่ละครั้งก็ต้องมีการซ้อม ซึ่งหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเพียง 5,000-6,000 บาทเท่านั้น
ขณะที่ พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อสรุป ดีกว่าไปโต้เถียงกัน เพราะการเข้าเจรจากันในวันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว และต้องขอความเห็นใจกลุ่มแกรมมี่ อยากให้ผ่อนปรนในเรื่องนี้ เพราะต่อไปก็จะมีกลุ่มอื่นๆ อีกมากที่จะต้องทยอยเข้ามาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ทั้งนี้อยากให้บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดควรทำการประชาสัมพันธ์กรณีการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน เพื่อป้องกันการเกิดความสับสน โดยหวังว่าการเจรจาจะยุติด้วยดี เพราะหากกลุ่มหมอลำเลิกกิจการก็จะกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ตนจะเห็นใจศิลปินหมอลำ แต่ก็ถือเป็นสิทธิทางการค้าของแกรมมี่ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ที่จะได้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ทางบทเพลง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้คือกลุ่มหมอลำมีการนำเพลงสมัยใหม่ไปขับร้องจึงกลายเป็นปัญหา