xs
xsm
sm
md
lg

กรมคุมประพฤติจับมือกรมราชทัณฑ์เปิดโครงการนำร่องควบคุมตัวระหว่างตรวจพิสูจน์ 22 แห่ง

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


กรมคุมประพฤติเปิดมิติใหม่งานตรวจพิสูจน์ จับมือกรมราชทัณฑ์จ่อดำเนินการโครงการนำร่องสถานที่เพื่อการควบคุมตัวระหว่างพิสูจน์ยาเสพติด 22 แห่ง แก้ปัญหาคนล้นคุก เตรียมพร้อมเข้าสู่เวทีงานคุมประพฤติโลก

เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (4 ต.ค.) ที่กรมคุมประพฤติ น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ และนายเกษม มูลจันทร์ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมด้วยผู้บริหารกรมคุมประพฤติ ร่วมแถลงข่าวถึงการดำเนินโครงการนำร่องสถานที่เพื่อการควบคุมระหว่างตรวจพิสูจน์

น.ส.รื่นวดีกล่าวว่า สืบเนื่องจากกรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยได้ดำเนินการตามหลักการผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วย มิใช่อาชญากรปกติ และได้บูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ในขั้นตอนการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

สำหรับภารกิจด้านการควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2551 มอบหมายให้กรมราชทัณฑ์และกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนปฎิบัติภารกิจด้านการควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในระหว่างการตรวจพิสูจน์ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2554 ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาความแออัดในเรือนจำ และส่งเสริมสิทธิและให้การดูแลคุณภาพชีวิต อนามัย และสุขภาวะทางจิตและร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ให้ดีขึ้น กรมคุมประพฤติและกรมราชทัณฑ์จึงได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการนำร่องสถานที่เพื่อการควบคุมตัวระหว่างตรวจพิสูจน์

อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มและให้ความร่วมมือกับกรมคุมประพฤติ โดยพร้อมที่จะโอนสถานที่ควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในสังกัดที่อยู่ภายนอกเรือนจำ และทัณฑ์สถานทั่วประเทศ จำนวน 22 แห่ง พร้อมอัตรากำลังและงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้กรมคุมประพฤติเข้าบริหารจัดการในภารกิจดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ทั้งนี้กรมคุมประพฤติได้กำหนดแผนการดำเนินการในภารกิจบริหารจัดการสถานที่เพื่อการควบคุมตัวระหว่างตรวจพิสูจน์ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด จำนวน 22 แห่ง ดังนี้ ภายในระยะที่ 1 เริ่มวันที่ 1 เม.ย. 57 จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย

1. รจช.โคกตาบัน เรือนจำกลางสุรินทร์
2. รจช.โคกมะตูม เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์
3. รจช.โคกคำม่วง เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
4. รจช.เขาน้อย เรือนจำจังหวัดน่าน
5. ทัณฑสถานเปิดหนองน้ำขุ่น จังหวัดนครสวรค์
6. รจช.คลองโพธิ์ เรือนจำกลางนครสวรรค์
7. รจช.หนองเรียง เรือนจำอำเภอสวรรคโลก
8. รจช.เขากลิ้ง เรือนจำกลางเพชรบุรี
9. รจช.กระบี่น้อย เรือนจำจังหวัดกระบี่
10. รจช.ห้วยกลั้ง เรือนจำอำเภอหลังสวน
11. รจช.บ้านบางโจ เรือนจำจังหวัดภูเก็ต
และ 12. รจช.โคกยามู เรือนจำจังหวัดนราธิวาส

ส่วนระยะที่ 2 จะเริ่มในปี 2558 จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย
1. แดน 13 เรือนจำคลองเปรม
2. ทัณฑสถานเปิดทุ่งเบญจา จังหวัดจันทบุรี
3. ทัณฑสถานเปิดห้วยโป่ง จังหวัดระยอง
4. ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี
5. รจช.บ้านนาอ้อย เรือนจำจังหวัดสกลนคร
6. รจช.เขาบิน เรือนจำกลางราชบุรี
7. ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง จังหวัดพัทลุง
8. เรือนจำกลางชลบุรี
9. เรือนจำจังหวัดอ่างทอง
และ 10. สกข.บัวใหญ่ เรือนจำอำเภอบัวใหญ่

อธิบดีกรมคุมประพฤติกล่าวอีกว่า ในขั้นตอนการดำเนินงานดังกล่าว กรมคุมประพฤติต้องเตรียมการในประเด็นต่างๆ เช่น การดำเนินงานตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง บุคลากร การบริหารจัดการและงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและภายใต้หลักการ “ผู้เสพเป็นผู้ป่วย” ต้องได้รับการบำบัดรักษาตามนโยบายของรัฐบาล

กำลังโหลดความคิดเห็น