รองอธิบดีดีเอสไอ นำกำลังตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 หลังชาวบ้านร้องเรียนได้รับความเดือดร้อน จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากสภาพอาคารมีรอยร้าว และน้ำรั่วซึม อีกทั้งยังพบว่ามีการลักลอบเปิดห้องว่างให้แก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย
คลิกเพื่อชมคลิป...
เมื่อเวลา 14.00 น.ที่โครงการบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจนนิรันดร์กิจ ผบ.คดีอาญาพิเศษ 2 พร้อมด้วยนายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ประธานคณะกรรมการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร และนายถวัลย์ สุนทรวินิต ผู้ช่วยว่าการเคหะแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 ตามที่ประชาชนได้เข้าร้องเรียนต่อนายประเสริฐ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.56 ที่รัฐสภา และได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ โดยต่อมา เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.56 นายประเสริฐ ได้นำหนังสือดังกล่าวยื่นต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กรณีที่ประชาชนในเคหะบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 ได้รับความเดือดร้อน จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากสภาพอาคารมีรอยร้าว และน้ำรั่วซึม อีกทั้งยังพบว่ามีการลักลอบเปิดห้องว่างให้แก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้มีประชาชนกว่า 100 คนที่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรดังกล่าวได้เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์และนำเอกสารหลักฐานที่มีมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบริษัทนายทุนเข้ามาเช่าห้องหลายห้อง เพื่อเปิดให้ชาวต่างด้าวเข้าพักหรือเช่าต่อ ทั้งนี้ชาวบ้านยังระบุว่ามีแรงงานชาวพม่าลักลอบ บุกรุก เข้ามาเพื่อพักอาศัย และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าตามตึกของโครงการมีรอยร้าวของกำแพง บันได และมีการรั่วซึ่มของน้ำตามท่อต่างๆ อีกด้วย
นายประเสริฐ กล่าวว่า จากการตรวจสอบแล้วพบปัญหาทั้งในเรื่องความไม่ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรอยร้าวที่ปรากฏบนผนังต่างๆ นั้น อาจจะส่งผลให้ในอนาคตจะอยู่ได้ไม่นาน และยังพบอีกว่าระบบบำบัดน้ำเสียใต้อาคารไม่ได้มีการเดินระบบ ซึ่งส่งผลให้มีแก๊สพุ่งขึ้นมา และส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม โครงการบ้านเอื้ออาทรนั้นเป็นโครงการที่รัฐบาลเมื่อ 10 ปีที่แล้ว สนับสนุนเพื่อต้องการแก้ปัญหาความยากจนจึงตัดสินใจจัดสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อให้ประชาชนคนไทยอยู่อาศัย โดยสนับสนุนงบประมาณ 800,000 บาทต่อยูนิต ทั้งนี้ได้มอบหมายให้มีการสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร600,000 ยูนิตต่อปี
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่พบต่อมาคือมีนายทุนต่างๆ เข้ามาจับจองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากบ้านเอื้ออาทร ดังนั้นตนจึงอยากให้บ้านเอื้ออาทรเป็นบ้านเอื้ออาทรจริงๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อประชาชนคนไทยและไม่อยากให้มีการขู่ทำร้ายกัน
นายถวัล กล่าวว่า จะรับเรื่องดังกล่าวไปหารืออีกครั้ง ส่วนการปล่อยห้องว่างให้แรงงานต่างด้าวเช่านั้น ทางเคหะไม่ได้มีการขายตรงให้กับแรงงานต่างด้าวแต่อย่างใด แต่ขายให้กับคนไทยเท่านั้น ซึ่งคนที่จะเข้าจับจองบ้านเอื้ออาทรไก็ต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่โครงการกำหนด และตนไม่ทราบว่ามีนายทุนมาซื้อบ้านในโครงการดังกล่าวและปล่อยให้แรงงานต่างด้าวเช่า ทั้งนี้ตนจะดูแลโครงการบ้านเอื้อาทรเป็นอย่างดี
ด้าน พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบเคหะดังกล่าวนั้นเป็นเพียงขั้นตอนการตรวจสอบหาข้อมูลว่าเข้าข่ายมีการทุจริตหรือไม่
คลิกเพื่อชมคลิป...
เมื่อเวลา 14.00 น.ที่โครงการบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจนนิรันดร์กิจ ผบ.คดีอาญาพิเศษ 2 พร้อมด้วยนายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ประธานคณะกรรมการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร และนายถวัลย์ สุนทรวินิต ผู้ช่วยว่าการเคหะแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 ตามที่ประชาชนได้เข้าร้องเรียนต่อนายประเสริฐ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.56 ที่รัฐสภา และได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ โดยต่อมา เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.56 นายประเสริฐ ได้นำหนังสือดังกล่าวยื่นต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กรณีที่ประชาชนในเคหะบ้านเอื้ออาทร แพรกษา 2 ได้รับความเดือดร้อน จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากสภาพอาคารมีรอยร้าว และน้ำรั่วซึม อีกทั้งยังพบว่ามีการลักลอบเปิดห้องว่างให้แก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้มีประชาชนกว่า 100 คนที่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรดังกล่าวได้เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์และนำเอกสารหลักฐานที่มีมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบริษัทนายทุนเข้ามาเช่าห้องหลายห้อง เพื่อเปิดให้ชาวต่างด้าวเข้าพักหรือเช่าต่อ ทั้งนี้ชาวบ้านยังระบุว่ามีแรงงานชาวพม่าลักลอบ บุกรุก เข้ามาเพื่อพักอาศัย และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าตามตึกของโครงการมีรอยร้าวของกำแพง บันได และมีการรั่วซึ่มของน้ำตามท่อต่างๆ อีกด้วย
นายประเสริฐ กล่าวว่า จากการตรวจสอบแล้วพบปัญหาทั้งในเรื่องความไม่ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรอยร้าวที่ปรากฏบนผนังต่างๆ นั้น อาจจะส่งผลให้ในอนาคตจะอยู่ได้ไม่นาน และยังพบอีกว่าระบบบำบัดน้ำเสียใต้อาคารไม่ได้มีการเดินระบบ ซึ่งส่งผลให้มีแก๊สพุ่งขึ้นมา และส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม โครงการบ้านเอื้ออาทรนั้นเป็นโครงการที่รัฐบาลเมื่อ 10 ปีที่แล้ว สนับสนุนเพื่อต้องการแก้ปัญหาความยากจนจึงตัดสินใจจัดสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อให้ประชาชนคนไทยอยู่อาศัย โดยสนับสนุนงบประมาณ 800,000 บาทต่อยูนิต ทั้งนี้ได้มอบหมายให้มีการสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร600,000 ยูนิตต่อปี
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่พบต่อมาคือมีนายทุนต่างๆ เข้ามาจับจองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากบ้านเอื้ออาทร ดังนั้นตนจึงอยากให้บ้านเอื้ออาทรเป็นบ้านเอื้ออาทรจริงๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อประชาชนคนไทยและไม่อยากให้มีการขู่ทำร้ายกัน
นายถวัล กล่าวว่า จะรับเรื่องดังกล่าวไปหารืออีกครั้ง ส่วนการปล่อยห้องว่างให้แรงงานต่างด้าวเช่านั้น ทางเคหะไม่ได้มีการขายตรงให้กับแรงงานต่างด้าวแต่อย่างใด แต่ขายให้กับคนไทยเท่านั้น ซึ่งคนที่จะเข้าจับจองบ้านเอื้ออาทรไก็ต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่โครงการกำหนด และตนไม่ทราบว่ามีนายทุนมาซื้อบ้านในโครงการดังกล่าวและปล่อยให้แรงงานต่างด้าวเช่า ทั้งนี้ตนจะดูแลโครงการบ้านเอื้อาทรเป็นอย่างดี
ด้าน พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบเคหะดังกล่าวนั้นเป็นเพียงขั้นตอนการตรวจสอบหาข้อมูลว่าเข้าข่ายมีการทุจริตหรือไม่