ว่ากันว่า... “หากปล่อยอดีตได้เร็วเท่าไร อนาคตก็เข้ามาเร็วเท่านั้น” ปีใหม่นี้...ถือโอกาสปล่อยอดีตที่ทำให้ใจเศร้าหมองแล้วมาทำวันนี้ให้ดีกันนะครับ เพราะถ้าวันนี้ “คิดดี ทำดี” พรุ่งนี้ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล...
เมื่อช่วง...เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา... ในโลกออนไลน์ก็ได้มีการสรุปวลีเด็ดประจำปี 2012 แบบฮาๆ เอาไว้ หนึ่งในนั้นก็มีวลี “เนยรักษ์โลก” รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นนามแฝงของบุคคลผู้หนึ่งที่มักมีข้อความแปลกๆ ให้ชวนขำเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและป่าไม้
จะว่าไปแล้ว...ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจ เพราะเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ย่อมต้องส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และในฐานะที่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเอง ประกอบกับจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของบ้านเรายังมีน้อย จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของภาครัฐที่จะต้องเข้ามาควบคุมและบริหารจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลในการอยู่ร่วมกัน...
ปัจจุบัน... เราจะเห็นว่าประชาชนได้ตระหนักถึงการปกป้องตนเองจากปัญหาดังกล่าวกันมากขึ้นนะครับ
ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือการนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง (ในกรณีข้อพิพาทที่มีลักษณะเป็นคดีปกครอง เช่น หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ หรือคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดในการควบคุมโครงการ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจากการละเลยล่าช้าต่อหน้าที่) โดยในการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจะอ้างข้อกฎหมายตามกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 รวมทั้งการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 อาทิใน มาตรา 57 ,64 ,66 และ 67 ซึ่งเป็นแม่บทสำคัญในการปกป้องรักษาสิทธิของบุคคลและชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แล้วแต่กรณีครับ
และเนื่องจากคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีปกครองทั่วไปที่นอกจากจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจแล้ว ข้อพิพาทดังกล่าวยังมีความซับซ้อนที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในลักษณะเชิงสหวิทยาการ รวมทั้งในการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหายังต้องการความรวดเร็วและทันกาลอีกด้วย ศาลปกครองจึงได้เปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อต้องการให้การบริหารจัดการคดีปกครองประเภทนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ล่าสุด ! เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ติดตามข่าว กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาตัดสินคดีที่บริษัทตะกั่ว คอนเซนเตรทส์ฯ ปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารตะกั่วเจือปนลงในลำห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี จนเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 22 รายและชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่สามารถใช้น้ำในการดำรงชีวิตตามปกติได้ แม้ต่อมาบริษัทดังกล่าวจะได้ถูกสั่งปิดไป แต่กรมควบคุมมลพิษก็ไม่ได้เข้าไปดำเนินการกำจัดมลพิษและฟื้นฟูลำห้วย
คลิตี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องกรมควบคุมมลพิษต่อศาลปกครองในข้อหาว่ากระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด ที่สุดแล้วศาลปกครองสูงสุดก็ได้พิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีทั้ง 22 ราย ๆ ละ 177,199.50 บาท รวมทั้งให้จัดทำแผนงานและดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านคลิตี้ โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดิน พืชผัก และสัตว์น้ำในลำห้วยดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกฤดูกาลอย่างน้อยฤดูกาลละ 1 ครั้งจนกว่าจะพบค่าสารตะกั่วไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี และแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบผลโดยเปิดเผย
ณ จุดนี้... ครองธรรมต้องขอแสดงความยินกับผู้ฟ้องคดีทุกท่านด้วยนะครับ...
พูดกันถึงเรื่องคดีสิ่งแวดล้อม... ผมว่าเรื่องนี้มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ผู้มีสิทธิฟ้องคดี”ครับ เพราะเมื่อคดีสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ส่งกระทบในวงกว้าง แล้วใครบ้างละครับที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ??? ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าเมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทดังกล่าวขึ้น ผู้รักสิ่งแวดล้อมเป็นชีวิตจิตใจแบบน้องเนยหรือประชาชนโดยทั่วไป จะสามารถฟ้องคดีได้ทุกคน เพราะคงจะเกิดความวุ่นวายขึ้นแน่นอน โดยกฎหมายต้องการให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอย่างแท้จริงเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขประการหนึ่งไว้ว่า “ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั้น จะต้องเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ...” จึงทำให้เกิดการตีความเกี่ยวกับคำว่าผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมว่า มีความแคบกว้างแค่ไหน เพียงใด ?
เพื่อคลายความสงสัยในประเด็นดังกล่าว... ผมมีตัวอย่างคดีที่พอจะหยิบยกมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณากรณีหากท่านหรือคนใกล้ตัวเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นครับ !
ตัวอย่างในคดีแรกนี้ค่อนข้างชัดเจนครับว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง โดยชาวบ้านจำนวน 128 คน ได้ยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่ากระทำละเมิดและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากกรณีที่โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทำการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงหลัก ก่อให้เกิดฝุ่นแขวนลอยและสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งเป็นสารพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้กับโรงงานดังกล่าวได้รับสารพิษป่วยเรื้อรัง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงทางการเกษตรและพืชผลเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงถือเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (ศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ 60-77/2552)
คดีต่อมาเป็นกรณีที่มูลนิธิฯ เป็นผู้ฟ้องคดี โดยเรื่องนี้มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยื่นฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพในข้อหาละเลยต่อหน้าที่ในการปล่อยให้รถประจำทางที่ร่วมบริการพ่นควันพิษเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยศาลปกครองกลางได้พิเคราะห์ว่า มูลนิธิดังกล่าวซึ่งเป็นเอกชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่แม้จะมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในย่านที่มีมลพิษสูงเกินมาตรฐานก็ตาม แต่เมื่อมูลนิธิดังกล่าวเป็นนิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการปรับปรุงและปกป้องรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหามลพิษขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอันอยู่ในวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิฯ กรณีจึงถือว่ามูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ (คดีหมายเลขแดงที่ 1763/2549)
สำหรับตัวอย่างคดีที่ศาลเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ถือเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล เช่นในคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า จังหวัดได้ออกใบอนุญาตให้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวเสียก่อน รวมทั้งไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อันเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ทำให้หรืออาจทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษทางทะเลที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งกรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่คนละท้องที่กับอาคารท่าเทียบเรือ โดยอยู่กันคนละด้านกับท่าเทียบเรือและมีระยะห่างถึง 14 กม. จึงเป็นไปได้น้อยมากที่การก่อสร้างท่าเทียบเรือจะส่งผลกระทบต่อบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้ฟ้องคดี ประกอบกับจากข้อเท็จจริงบริเวณโดยรอบอาคารท่าเทียบเรือก็ยังมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ตามปกติ นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดียังได้เลิกทำบ่อกุ้งมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ (อ.236/2549)
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้ฟ้องคดี 486 คน ซึ่งเป็นพนักงานโรงงานยาสูบได้ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดเกี่ยวกับผู้ฟ้องคดีหรือชุมชนท้องถิ่น ซึ่งผู้ฟ้องคดีมีสิทธิตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลก่อนที่จะดำเนินโครงการ รวมทั้งมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามมาตรา 57 ดังกล่าวนั้น มิได้หมายถึง บุคคลที่เป็นชนชาวไทยโดยทั่วไป แต่หมายถึงบรรดาชนชาวไทยซึ่งมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือประกอบอาชีพหรือกิจการอยู่ในบริเวณที่จะมีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้นเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นพนักงานโรงงานยาสูบ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานยาสูบ และผู้ฟ้องคดีที่ 486 เป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล มิได้เป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพอยู่ในบริเวณที่จะก่อสร้างโรงงาน จึงมิอาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (คำสั่งที่ 175/2554)
คราวนี้ถึงทีคดีของน้องแยมกันบ้างครับ...คดีนี้น่าสนใจเพราะเป็นการฟ้องคดีของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันโดยไม่ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย โดยเรื่องมีอยู่ว่า น.ส. แยม ประธานกลุ่มภาคประชาชนนามว่า “แยมรักษ์โลก” ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 7 คน ได้รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าอนุรักษ์ปกป้องพื้นที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชุมชน ได้ยื่นฟ้องกรมศิลปากรเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้เทศบาลก่อสร้างสำนักงานบนพื้นที่พระราชวังปฐมนครเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับพระปฐมเจดีย์ ซึ่ง น.ส.แยมเห็นว่าหากให้มีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อองค์พระปฐมเจดีย์รวมทั้งทำให้ทัศนวิสัยเสียหาย อันขัดต่อมติคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติและศิลปกรรมที่เห็นสมควรให้สงวนบริเวณดังกล่าวไว้เป็นพื้นที่สีเขียว
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักว่า แม้ว่าการรวมกลุ่มโดยสมัครใจของ น.ส.แยมและพวก จะไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับสถานภาพกลุ่มดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ รวมทั้ง น.ส. แยม ก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่พิพาท แต่เมื่อการรวมกลุ่มของ น.ส.แยม มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (ในจังหวัดนครปฐม) อันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของชุมชนและของประเทศชาติ ตามหลัก“สิทธิชุมชน” คือเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมมายาวนานและมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลหลายๆ คน ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 64 มาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 น.ส.แยม ในนามกลุ่ม “แยมรักษ์โลก” จึงถือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง เพื่อรักษาและอนุรักษ์ประโยชน์ของชุมชนดังกล่าวได้ (เทียบเคียงคำสั่งที่ 247/2552)
จากตัวอย่างคดีที่ผมหยิบยกมา...จะเห็นได้ว่าผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงแล้ว ชุมชนและกลุ่มบุคคลทั้งที่เป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มรวมทั้งข้อเท็จจริงอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย... คงพอจะเห็นภาพความเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นกันแล้ว นะครับ !
เริ่มต้นปีใหม่... ผมเลยถือโอกาสพักผ่อนด้วยการออกทริปเที่ยวแบบธรรมชาติกับเพื่อนสนิท ทำให้ได้ปิดต้นฉบับเรื่องนี้ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม แถมยังได้ถ่ายภาพต้นไม้ใบหญ้าอย่างเพลิดเพลินด้วยอารมณ์ศิลปินที่ผุดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว เพื่อนเจ้าเนื้อของผมหยิบขนมปังพร้อมกาแฟมาเสิร์ฟให้...ผมเหลือบไปเห็นเพื่อนกำลังจะทาเนยที่ขนมปัง ! จึงรีบร้องเสียงหลง ไปว่า...ช้าก่อนๆ ขอเปลี่ยนจากเนยเป็นแยมได้ไหมครับ ? เพราะช่วงนี้ “ครองธรรมรักษ์สุขภาพ” !!!
ครองธรรม ธรรมรัฐ
เมื่อช่วง...เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา... ในโลกออนไลน์ก็ได้มีการสรุปวลีเด็ดประจำปี 2012 แบบฮาๆ เอาไว้ หนึ่งในนั้นก็มีวลี “เนยรักษ์โลก” รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นนามแฝงของบุคคลผู้หนึ่งที่มักมีข้อความแปลกๆ ให้ชวนขำเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและป่าไม้
จะว่าไปแล้ว...ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจ เพราะเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ย่อมต้องส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และในฐานะที่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเอง ประกอบกับจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของบ้านเรายังมีน้อย จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของภาครัฐที่จะต้องเข้ามาควบคุมและบริหารจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลในการอยู่ร่วมกัน...
ปัจจุบัน... เราจะเห็นว่าประชาชนได้ตระหนักถึงการปกป้องตนเองจากปัญหาดังกล่าวกันมากขึ้นนะครับ
ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือการนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง (ในกรณีข้อพิพาทที่มีลักษณะเป็นคดีปกครอง เช่น หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ หรือคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดในการควบคุมโครงการ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจากการละเลยล่าช้าต่อหน้าที่) โดยในการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจะอ้างข้อกฎหมายตามกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 รวมทั้งการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 อาทิใน มาตรา 57 ,64 ,66 และ 67 ซึ่งเป็นแม่บทสำคัญในการปกป้องรักษาสิทธิของบุคคลและชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แล้วแต่กรณีครับ
และเนื่องจากคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีปกครองทั่วไปที่นอกจากจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจแล้ว ข้อพิพาทดังกล่าวยังมีความซับซ้อนที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในลักษณะเชิงสหวิทยาการ รวมทั้งในการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหายังต้องการความรวดเร็วและทันกาลอีกด้วย ศาลปกครองจึงได้เปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อต้องการให้การบริหารจัดการคดีปกครองประเภทนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ล่าสุด ! เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ติดตามข่าว กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาตัดสินคดีที่บริษัทตะกั่ว คอนเซนเตรทส์ฯ ปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารตะกั่วเจือปนลงในลำห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี จนเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 22 รายและชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่สามารถใช้น้ำในการดำรงชีวิตตามปกติได้ แม้ต่อมาบริษัทดังกล่าวจะได้ถูกสั่งปิดไป แต่กรมควบคุมมลพิษก็ไม่ได้เข้าไปดำเนินการกำจัดมลพิษและฟื้นฟูลำห้วย
คลิตี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องกรมควบคุมมลพิษต่อศาลปกครองในข้อหาว่ากระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด ที่สุดแล้วศาลปกครองสูงสุดก็ได้พิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีทั้ง 22 ราย ๆ ละ 177,199.50 บาท รวมทั้งให้จัดทำแผนงานและดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านคลิตี้ โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดิน พืชผัก และสัตว์น้ำในลำห้วยดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกฤดูกาลอย่างน้อยฤดูกาลละ 1 ครั้งจนกว่าจะพบค่าสารตะกั่วไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี และแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบผลโดยเปิดเผย
ณ จุดนี้... ครองธรรมต้องขอแสดงความยินกับผู้ฟ้องคดีทุกท่านด้วยนะครับ...
พูดกันถึงเรื่องคดีสิ่งแวดล้อม... ผมว่าเรื่องนี้มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ผู้มีสิทธิฟ้องคดี”ครับ เพราะเมื่อคดีสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ส่งกระทบในวงกว้าง แล้วใครบ้างละครับที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ??? ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าเมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทดังกล่าวขึ้น ผู้รักสิ่งแวดล้อมเป็นชีวิตจิตใจแบบน้องเนยหรือประชาชนโดยทั่วไป จะสามารถฟ้องคดีได้ทุกคน เพราะคงจะเกิดความวุ่นวายขึ้นแน่นอน โดยกฎหมายต้องการให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอย่างแท้จริงเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขประการหนึ่งไว้ว่า “ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั้น จะต้องเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ...” จึงทำให้เกิดการตีความเกี่ยวกับคำว่าผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมว่า มีความแคบกว้างแค่ไหน เพียงใด ?
เพื่อคลายความสงสัยในประเด็นดังกล่าว... ผมมีตัวอย่างคดีที่พอจะหยิบยกมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณากรณีหากท่านหรือคนใกล้ตัวเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นครับ !
ตัวอย่างในคดีแรกนี้ค่อนข้างชัดเจนครับว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง โดยชาวบ้านจำนวน 128 คน ได้ยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่ากระทำละเมิดและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากกรณีที่โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทำการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงหลัก ก่อให้เกิดฝุ่นแขวนลอยและสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งเป็นสารพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้กับโรงงานดังกล่าวได้รับสารพิษป่วยเรื้อรัง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงทางการเกษตรและพืชผลเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงถือเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (ศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ 60-77/2552)
คดีต่อมาเป็นกรณีที่มูลนิธิฯ เป็นผู้ฟ้องคดี โดยเรื่องนี้มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยื่นฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพในข้อหาละเลยต่อหน้าที่ในการปล่อยให้รถประจำทางที่ร่วมบริการพ่นควันพิษเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยศาลปกครองกลางได้พิเคราะห์ว่า มูลนิธิดังกล่าวซึ่งเป็นเอกชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่แม้จะมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในย่านที่มีมลพิษสูงเกินมาตรฐานก็ตาม แต่เมื่อมูลนิธิดังกล่าวเป็นนิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการปรับปรุงและปกป้องรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหามลพิษขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอันอยู่ในวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิฯ กรณีจึงถือว่ามูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ (คดีหมายเลขแดงที่ 1763/2549)
สำหรับตัวอย่างคดีที่ศาลเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ถือเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล เช่นในคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า จังหวัดได้ออกใบอนุญาตให้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวเสียก่อน รวมทั้งไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อันเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ทำให้หรืออาจทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษทางทะเลที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งกรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่คนละท้องที่กับอาคารท่าเทียบเรือ โดยอยู่กันคนละด้านกับท่าเทียบเรือและมีระยะห่างถึง 14 กม. จึงเป็นไปได้น้อยมากที่การก่อสร้างท่าเทียบเรือจะส่งผลกระทบต่อบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้ฟ้องคดี ประกอบกับจากข้อเท็จจริงบริเวณโดยรอบอาคารท่าเทียบเรือก็ยังมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ตามปกติ นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดียังได้เลิกทำบ่อกุ้งมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ (อ.236/2549)
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้ฟ้องคดี 486 คน ซึ่งเป็นพนักงานโรงงานยาสูบได้ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดเกี่ยวกับผู้ฟ้องคดีหรือชุมชนท้องถิ่น ซึ่งผู้ฟ้องคดีมีสิทธิตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลก่อนที่จะดำเนินโครงการ รวมทั้งมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามมาตรา 57 ดังกล่าวนั้น มิได้หมายถึง บุคคลที่เป็นชนชาวไทยโดยทั่วไป แต่หมายถึงบรรดาชนชาวไทยซึ่งมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือประกอบอาชีพหรือกิจการอยู่ในบริเวณที่จะมีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้นเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นพนักงานโรงงานยาสูบ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานยาสูบ และผู้ฟ้องคดีที่ 486 เป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล มิได้เป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพอยู่ในบริเวณที่จะก่อสร้างโรงงาน จึงมิอาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (คำสั่งที่ 175/2554)
คราวนี้ถึงทีคดีของน้องแยมกันบ้างครับ...คดีนี้น่าสนใจเพราะเป็นการฟ้องคดีของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันโดยไม่ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย โดยเรื่องมีอยู่ว่า น.ส. แยม ประธานกลุ่มภาคประชาชนนามว่า “แยมรักษ์โลก” ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 7 คน ได้รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าอนุรักษ์ปกป้องพื้นที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชุมชน ได้ยื่นฟ้องกรมศิลปากรเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้เทศบาลก่อสร้างสำนักงานบนพื้นที่พระราชวังปฐมนครเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับพระปฐมเจดีย์ ซึ่ง น.ส.แยมเห็นว่าหากให้มีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อองค์พระปฐมเจดีย์รวมทั้งทำให้ทัศนวิสัยเสียหาย อันขัดต่อมติคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติและศิลปกรรมที่เห็นสมควรให้สงวนบริเวณดังกล่าวไว้เป็นพื้นที่สีเขียว
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักว่า แม้ว่าการรวมกลุ่มโดยสมัครใจของ น.ส.แยมและพวก จะไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับสถานภาพกลุ่มดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ รวมทั้ง น.ส. แยม ก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่พิพาท แต่เมื่อการรวมกลุ่มของ น.ส.แยม มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (ในจังหวัดนครปฐม) อันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของชุมชนและของประเทศชาติ ตามหลัก“สิทธิชุมชน” คือเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมมายาวนานและมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลหลายๆ คน ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 64 มาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 น.ส.แยม ในนามกลุ่ม “แยมรักษ์โลก” จึงถือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง เพื่อรักษาและอนุรักษ์ประโยชน์ของชุมชนดังกล่าวได้ (เทียบเคียงคำสั่งที่ 247/2552)
จากตัวอย่างคดีที่ผมหยิบยกมา...จะเห็นได้ว่าผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงแล้ว ชุมชนและกลุ่มบุคคลทั้งที่เป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มรวมทั้งข้อเท็จจริงอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย... คงพอจะเห็นภาพความเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นกันแล้ว นะครับ !
เริ่มต้นปีใหม่... ผมเลยถือโอกาสพักผ่อนด้วยการออกทริปเที่ยวแบบธรรมชาติกับเพื่อนสนิท ทำให้ได้ปิดต้นฉบับเรื่องนี้ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม แถมยังได้ถ่ายภาพต้นไม้ใบหญ้าอย่างเพลิดเพลินด้วยอารมณ์ศิลปินที่ผุดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว เพื่อนเจ้าเนื้อของผมหยิบขนมปังพร้อมกาแฟมาเสิร์ฟให้...ผมเหลือบไปเห็นเพื่อนกำลังจะทาเนยที่ขนมปัง ! จึงรีบร้องเสียงหลง ไปว่า...ช้าก่อนๆ ขอเปลี่ยนจากเนยเป็นแยมได้ไหมครับ ? เพราะช่วงนี้ “ครองธรรมรักษ์สุขภาพ” !!!
ครองธรรม ธรรมรัฐ