ที่ปรึกษา สบ 10 ยันการคัดเลือกพนักงานสอบสวนสังกัดภูธร 4 ลงไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โปร่งใส ย้ำสายการทำงานของพนักงานสอบสวนไม่สามารถนำตำรวจสายอื่นไปทดแทนได้ หากละเว้นเข้าข่ายผิดวินัย ด้านภูธร 4 ตั้งคณะกรรมการสอบ
วันนี้ (28 ธ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา (สบ 10) ในฐานะ หัวหน้าคณะทำงานการคัดเลือกพนักงานสอบสวน ลงไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 76 นาย ร้องต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ให้ระงับคำสั่งการจับสลากลงพื้นที่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานสอบสวนลงไปปฏิบัติหน้าที่ 148 นาย เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ซึ่งมีขั้นตอน เริ่มจากการให้ลงชื่อด้วยความสมัครใจแบบย้ายขาด และตำแหน่งอยู่ที่เดิม และมีตำรวจสมัครใจจำนวน 42 นาย ขาดอีก 106 นาย จึงต้องใช้วิธีการให้หน่วยคัดเลือก พนักงานสอบสวน ระดับสารวัตร และรองผู้กำกับการ โดยมีหลักเกณฑ์คัดเลือก เช่น ไม่รับผู้หญิง ไม่รับตำรวจที่อายุเกิน 55 ปี ไม่รับตำรวจที่เคยลงไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว ไม่รับคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และรอการแต่งตั้งโยกย้าย ออกนอกหน่วย
พล.ต.อ.ชัชวาลย์กล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นให้แต่ละภาคขึ้นบัญชีประกาศอย่างเป็นทางการ และสามารถโต้แย้งได้ใน 7 วัน อีกทั้งสายการทำงานของพนักงานสอบสวน ไม่สามารถนำตำรวจสายอื่นไปทดแทนได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจทางกฎหมาย จึงอยากให้ตำรวจที่ร้องเรียนเข้าใจด้วยเหตุผล และให้ทุกหน่วยดำเนินจับสลากให้แล้วเสร็จในวันที่ 3 มกราคม และเมื่อจับสลากแล้ว ใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดวินัย
ด้าน พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผบช.ภ.4 กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 นำโดย พ.ต.ท.ไขแสง ถวิลวงศ์ พนักงานสอบสวน (สบ 3) สภ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ยื่นเรื่องร้องต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กำหนดแนวทางให้มีการจับสลาก เพื่อคัดพนักงานสอบสวนไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า วันนี้เวลา 14.00 น. ตนจะเดินทางไปยังกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น เพื่อประชุมร่วมกับ ผบก.และรอง ผบก.ถึงแนวทางการตรวจสอบวินัยของพนักงานสอบสวน โดยเฉพาะกับ พ.ต.ท.ไขแสง ว่าพฤติกรรมโดยรวม ทั้งการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวล หรือการให้ข้อมูลต่างๆ จะเข้าข่ายผิดวินัยหรือไม่ โดยเบื้องต้นก็ได้มอบหมายให้ทาง บก.ภ.จว.ขอนแก่น เข้าไปตั้งชุดขึ้นมาตรวจสอบแล้ว คาดว่าคงจะใช้เวลาไม่นานถึงจะทราบผล ซึ่งหากเข้าข่ายผิดจริง ก็ต้องมีการลงโทษตามระเบียบต่อไป
“สำหรับความเห็นส่วนตัวของผมมองว่าเรื่องการออกมาเรียกร้องทำนองนี้ ถือว่าการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์โจมตีว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถือว่าไม่ควรในฐานะข้าราชการตำรวจ เพราะตำรวจเป็นคนที่ต้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ไม่ใช่มามั่วเกี่ยงงานว่าไม่อยากไปอยู่ที่ไหน หรืออยากอยู่ที่ไหน หากตำรวจกลัวที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้แล้ว และประชาชนในพื้นที่จะรู้สึกอย่างไร และเขาจะหาที่พึ่งได้กับใคร ตรงนี้ต้องรู้จักเสียสละบ้าง รวมถึงตำรวจไม่ใช่อาชีพเดียวที่ถูกเลือกให้ไปอยู่ในพื้นที่นั้น ยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่เดินทางไปทำงานเพื่อประเทศชาติ ยกตัวอย่างอาชีพครูเป็นตัวอย่าง” ผบช.ภ.4 แสดงความเห็น
ด้าน พล.ต.ท.ศุภวุฒิ สังข์อ่อง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่าเรื่องที่พนักงานสอบสวนร้องเรียนนั้น ถูกส่งผ่านไปยังเลขาฯ ก.ตร.ก่อนจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ก.ตร.ร้องทุกข์ต่อไป ซึ่งตนยังไม่ได้เห็นรายละเอียดหนังร้องเรียนดังกล่าวเลย แต่ส่วนตัวมองว่า ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการผู้ใต้บังบัญชาได้ตามกรอบของกฎหมาย ทั้งนี้หากผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่เป็นธรรม ก็สามารถร้องเรียนได้เช่นกัน
วันนี้ (28 ธ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา (สบ 10) ในฐานะ หัวหน้าคณะทำงานการคัดเลือกพนักงานสอบสวน ลงไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 76 นาย ร้องต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ให้ระงับคำสั่งการจับสลากลงพื้นที่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานสอบสวนลงไปปฏิบัติหน้าที่ 148 นาย เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ซึ่งมีขั้นตอน เริ่มจากการให้ลงชื่อด้วยความสมัครใจแบบย้ายขาด และตำแหน่งอยู่ที่เดิม และมีตำรวจสมัครใจจำนวน 42 นาย ขาดอีก 106 นาย จึงต้องใช้วิธีการให้หน่วยคัดเลือก พนักงานสอบสวน ระดับสารวัตร และรองผู้กำกับการ โดยมีหลักเกณฑ์คัดเลือก เช่น ไม่รับผู้หญิง ไม่รับตำรวจที่อายุเกิน 55 ปี ไม่รับตำรวจที่เคยลงไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว ไม่รับคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และรอการแต่งตั้งโยกย้าย ออกนอกหน่วย
พล.ต.อ.ชัชวาลย์กล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นให้แต่ละภาคขึ้นบัญชีประกาศอย่างเป็นทางการ และสามารถโต้แย้งได้ใน 7 วัน อีกทั้งสายการทำงานของพนักงานสอบสวน ไม่สามารถนำตำรวจสายอื่นไปทดแทนได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจทางกฎหมาย จึงอยากให้ตำรวจที่ร้องเรียนเข้าใจด้วยเหตุผล และให้ทุกหน่วยดำเนินจับสลากให้แล้วเสร็จในวันที่ 3 มกราคม และเมื่อจับสลากแล้ว ใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดวินัย
ด้าน พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผบช.ภ.4 กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 นำโดย พ.ต.ท.ไขแสง ถวิลวงศ์ พนักงานสอบสวน (สบ 3) สภ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ยื่นเรื่องร้องต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กำหนดแนวทางให้มีการจับสลาก เพื่อคัดพนักงานสอบสวนไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า วันนี้เวลา 14.00 น. ตนจะเดินทางไปยังกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น เพื่อประชุมร่วมกับ ผบก.และรอง ผบก.ถึงแนวทางการตรวจสอบวินัยของพนักงานสอบสวน โดยเฉพาะกับ พ.ต.ท.ไขแสง ว่าพฤติกรรมโดยรวม ทั้งการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวล หรือการให้ข้อมูลต่างๆ จะเข้าข่ายผิดวินัยหรือไม่ โดยเบื้องต้นก็ได้มอบหมายให้ทาง บก.ภ.จว.ขอนแก่น เข้าไปตั้งชุดขึ้นมาตรวจสอบแล้ว คาดว่าคงจะใช้เวลาไม่นานถึงจะทราบผล ซึ่งหากเข้าข่ายผิดจริง ก็ต้องมีการลงโทษตามระเบียบต่อไป
“สำหรับความเห็นส่วนตัวของผมมองว่าเรื่องการออกมาเรียกร้องทำนองนี้ ถือว่าการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์โจมตีว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถือว่าไม่ควรในฐานะข้าราชการตำรวจ เพราะตำรวจเป็นคนที่ต้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ไม่ใช่มามั่วเกี่ยงงานว่าไม่อยากไปอยู่ที่ไหน หรืออยากอยู่ที่ไหน หากตำรวจกลัวที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้แล้ว และประชาชนในพื้นที่จะรู้สึกอย่างไร และเขาจะหาที่พึ่งได้กับใคร ตรงนี้ต้องรู้จักเสียสละบ้าง รวมถึงตำรวจไม่ใช่อาชีพเดียวที่ถูกเลือกให้ไปอยู่ในพื้นที่นั้น ยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่เดินทางไปทำงานเพื่อประเทศชาติ ยกตัวอย่างอาชีพครูเป็นตัวอย่าง” ผบช.ภ.4 แสดงความเห็น
ด้าน พล.ต.ท.ศุภวุฒิ สังข์อ่อง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่าเรื่องที่พนักงานสอบสวนร้องเรียนนั้น ถูกส่งผ่านไปยังเลขาฯ ก.ตร.ก่อนจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ก.ตร.ร้องทุกข์ต่อไป ซึ่งตนยังไม่ได้เห็นรายละเอียดหนังร้องเรียนดังกล่าวเลย แต่ส่วนตัวมองว่า ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการผู้ใต้บังบัญชาได้ตามกรอบของกฎหมาย ทั้งนี้หากผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่เป็นธรรม ก็สามารถร้องเรียนได้เช่นกัน