“โฆษกศาลยุติธรรม” แถลงโครงการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา ระบุมีความจำเป็น เนื่องจากสถานที่เก่าทรุดโทรม และปรับแผนผังให้สอดรับโบราณราชประเพณี ไม่บดบังทัศนียภาพพระบรมมหาราชวัง
ที่ห้องประชุมศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (20 ธ.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม และนายนิกร ทัสสโร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา ในฐานะคณะกรรมการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงความเป็นมาโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา
โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง รมว.ยุติธรรมขณะนั้นเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และได้มีการตั้งคณะกรรมการรวม 2 ชุดขึ้นมาพิจารณา โดยคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่าเพื่อโครงสร้างที่มั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความเหมาะสมกับผู้พิพากษาผู้ใหญ่ จึงมีความเห็นให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ โดยให้อาคารมีความสัมพันธ์สอดรับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง และให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครด้วย ต่อมา 19 ก.ค. 2531 ครม.ก็มีมติอนุมัติการสร้างอาคารใหม่ดังกล่าว ที่ความสูงจะต้องไม่เกิน 32 เมตรที่คำนวณจากความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารบริเวณพระบรมมหาราชวัง
โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวย้ำว่า การเสนอสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา มุ่งเน้น 2 ประเด็นหลัก คืออนุรักษ์ควบคู่การพัฒนา ซึ่งการร่างแบบได้มีการหารือกับ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกหลวง เพื่อให้แบบนั้นเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ขณะที่แบบอาคารใหม่นั้นก็เป็นแบบไทยประเพณี ตามที่คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบ ขอยืนยันว่าการก่อสร้างนั้นผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นหลายฝ่ายถึง 14 ครั้ง และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีฝ่่าย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งไม่มีฝ่ายใดคัดค้าน และยืนยันว่ากลุ่มอาคารเก่าของศาลฎีกานั้นยังไม่มีเคยจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรอย่างที่บางฝ่ายตั้งข้องสังเกตคัดค้าน ขณะที่การก่อสร้างนั้น เก็บอาคารศาลยุติธรรม ด้านหลังพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2484 มูลค่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดไว้ 1 หลังตามข้อตกลงในการก่อสร้าง เพราะอาคารดังกล่าวแสดงความระลึกถึงเอกราชทางศาลโดยสมบูรณ์ของไทย ส่วนไม้เก่า เช่น ไม้สักที่ถูกรื้อจากอาคารจะนำไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นมา อย่างไรก็ดีการก่อสร้างจะต้องเดินหน้าต่อไปตามมติ ครม.ที่เคยมีมา รวมทั้งตามสัญญาว่างจ้างบริษัท ซิโน-ไทย ส่วนจะมีองค์การใดมาหยุดยั้งการก่อสร้างได้หรือไม่ ตนตอบแทนองค์กรอื่นนั้นไม่ได้ ซึ่งการก่อสร้างนี้ดำเนินมาอย่างรอบคอบแล้ว และมีการวางศิลาฤกษ์ไปตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 35 แล้ว เพียงแต่การดำเนินการก่อสร้างยังไม่ได้ทำทันทีขณะนั้นเนื่องจากเมื่อ ครม.อนุมัติวงเงินก่อสร้าง 2,285,930 ล้านบาทแล้วแต่ช่วงปี 2535-2537 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นายประมาณ ชันซื่อ ประธานศาลฎีกาขณะนั้นจึงได้ส่งมอบเงินคืนให้รัฐบาลเพื่อไปใช้บริหาราชการแผ่นดิน
ด้านนายนิกร ทัสสโร คณะกรรมการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาใดๆ เรื่องการก่อสร้างกับกรมศิลปากร ซึ่งตนได้เคยพูดคุยกับกรมศิลปากรหลายครั้ง และเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2554 กรมศิลปากรยังมีหนังสือแจ้งมาและก็ไม่ได้คัดค้านใดๆ ตนก็ไม่เข้าใจที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการก่อสร้างนี้เกิดจากสาเหตุใด อย่างไรก็ดี สำหรับการก่อสร้างตามสัญญาจ้างกับเอกชนนั้นเซ็นไว้วันที่ 28 ก.ย. 2555 โดยระยะเวลาสร้างเสร็จจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 กว่าวัน หรือ 3 ปี แต่เนื่องจากศาลได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนล่าช้าไปจากวันที่ลงนามในสัญญา ดังนั้นจึงอาจเป็นได้ว่าการก่อสร้างเสร็จจะไม่เกิน 5 ปี ซึ่งขณะนี้ได้มีการมอบพื้นที่อาคารศาลอาญากรุงเทพใต้ บริเวณคลองหลอดให้เอกชนเริ่มดำเนินการรื้อถอนแล้วเพราะอาคารอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากสร้างตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งอาคารศาลฎีกาที่อยู่ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์ จะขอให้รื้อถอนเป็นอาคารสุดท้าย เพราะขณะนี้ยังใช้ดำเนินการอยู่สำหรับเก็บคำพิพากษาและเป็นที่ทำงานของผู้พิพากษาเขียนคำพิพากษาคดีต่างๆ ที่จะให้เสร็จภายใน 16 ม.ค. 2556
ที่ห้องประชุมศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (20 ธ.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม และนายนิกร ทัสสโร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา ในฐานะคณะกรรมการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงความเป็นมาโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา
โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง รมว.ยุติธรรมขณะนั้นเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และได้มีการตั้งคณะกรรมการรวม 2 ชุดขึ้นมาพิจารณา โดยคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่าเพื่อโครงสร้างที่มั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความเหมาะสมกับผู้พิพากษาผู้ใหญ่ จึงมีความเห็นให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ โดยให้อาคารมีความสัมพันธ์สอดรับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง และให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครด้วย ต่อมา 19 ก.ค. 2531 ครม.ก็มีมติอนุมัติการสร้างอาคารใหม่ดังกล่าว ที่ความสูงจะต้องไม่เกิน 32 เมตรที่คำนวณจากความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารบริเวณพระบรมมหาราชวัง
โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวย้ำว่า การเสนอสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา มุ่งเน้น 2 ประเด็นหลัก คืออนุรักษ์ควบคู่การพัฒนา ซึ่งการร่างแบบได้มีการหารือกับ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกหลวง เพื่อให้แบบนั้นเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ขณะที่แบบอาคารใหม่นั้นก็เป็นแบบไทยประเพณี ตามที่คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบ ขอยืนยันว่าการก่อสร้างนั้นผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นหลายฝ่ายถึง 14 ครั้ง และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีฝ่่าย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งไม่มีฝ่ายใดคัดค้าน และยืนยันว่ากลุ่มอาคารเก่าของศาลฎีกานั้นยังไม่มีเคยจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรอย่างที่บางฝ่ายตั้งข้องสังเกตคัดค้าน ขณะที่การก่อสร้างนั้น เก็บอาคารศาลยุติธรรม ด้านหลังพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2484 มูลค่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดไว้ 1 หลังตามข้อตกลงในการก่อสร้าง เพราะอาคารดังกล่าวแสดงความระลึกถึงเอกราชทางศาลโดยสมบูรณ์ของไทย ส่วนไม้เก่า เช่น ไม้สักที่ถูกรื้อจากอาคารจะนำไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นมา อย่างไรก็ดีการก่อสร้างจะต้องเดินหน้าต่อไปตามมติ ครม.ที่เคยมีมา รวมทั้งตามสัญญาว่างจ้างบริษัท ซิโน-ไทย ส่วนจะมีองค์การใดมาหยุดยั้งการก่อสร้างได้หรือไม่ ตนตอบแทนองค์กรอื่นนั้นไม่ได้ ซึ่งการก่อสร้างนี้ดำเนินมาอย่างรอบคอบแล้ว และมีการวางศิลาฤกษ์ไปตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 35 แล้ว เพียงแต่การดำเนินการก่อสร้างยังไม่ได้ทำทันทีขณะนั้นเนื่องจากเมื่อ ครม.อนุมัติวงเงินก่อสร้าง 2,285,930 ล้านบาทแล้วแต่ช่วงปี 2535-2537 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นายประมาณ ชันซื่อ ประธานศาลฎีกาขณะนั้นจึงได้ส่งมอบเงินคืนให้รัฐบาลเพื่อไปใช้บริหาราชการแผ่นดิน
ด้านนายนิกร ทัสสโร คณะกรรมการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกา กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาใดๆ เรื่องการก่อสร้างกับกรมศิลปากร ซึ่งตนได้เคยพูดคุยกับกรมศิลปากรหลายครั้ง และเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2554 กรมศิลปากรยังมีหนังสือแจ้งมาและก็ไม่ได้คัดค้านใดๆ ตนก็ไม่เข้าใจที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการก่อสร้างนี้เกิดจากสาเหตุใด อย่างไรก็ดี สำหรับการก่อสร้างตามสัญญาจ้างกับเอกชนนั้นเซ็นไว้วันที่ 28 ก.ย. 2555 โดยระยะเวลาสร้างเสร็จจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 กว่าวัน หรือ 3 ปี แต่เนื่องจากศาลได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนล่าช้าไปจากวันที่ลงนามในสัญญา ดังนั้นจึงอาจเป็นได้ว่าการก่อสร้างเสร็จจะไม่เกิน 5 ปี ซึ่งขณะนี้ได้มีการมอบพื้นที่อาคารศาลอาญากรุงเทพใต้ บริเวณคลองหลอดให้เอกชนเริ่มดำเนินการรื้อถอนแล้วเพราะอาคารอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากสร้างตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งอาคารศาลฎีกาที่อยู่ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์ จะขอให้รื้อถอนเป็นอาคารสุดท้าย เพราะขณะนี้ยังใช้ดำเนินการอยู่สำหรับเก็บคำพิพากษาและเป็นที่ทำงานของผู้พิพากษาเขียนคำพิพากษาคดีต่างๆ ที่จะให้เสร็จภายใน 16 ม.ค. 2556