รองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (รอง ผบช.สกพ.) และโฆษก ตร.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดหมายเลขที่ 0009.254/10592 ลงวันที่ 5 พ.ย.2555 เรื่อง กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการถอดยศตำรวจ ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า, ผู้บังคับการ (ผบก.) ในสังกัด สง.ผบ.ตร.โดยต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ย.55
วันที่ 8 พ.ย.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย รองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (รอง ผบช.สกพ.) และโฆษก ตร.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดหมายเลขที่ 0009.254/10592 ลงวันที่ 5 พ.ย.2555 เรื่องกำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการถอดยศตำรวจ ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า, ผู้บังคับการ (ผบก.) ในสังกัด สง.ผบ.ตร.โดยต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ย.55
โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า สำนักงานกำลังพลได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า มีกรณีข้าราชการตำรวจที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการไปแล้ว แต่ยังครองยศตำรวจอยู่ แล้วไปกระทำความผิดส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะผู้มียศตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอดยศตำรวจชั้นประทวน ซึ่งอยู่ในอำนาจของ ผบช.ตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดี หรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 การดำเนินการเสนอขอถอดยศตำรวจ ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนดไว้ข้างต้น ซึ่งมีบางหน่วยไม่พิจารณาดำเนินการถอดยศตำรวจ ผู้มีเหตุที่จะต้องถูกถอดยศตำรวจ ตามระเบียบ ตร.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 หรือบางหน่วยดำเนินการเสนอถอดยศตำรวจเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่รายงานให้ ตร.ทราบ ดังนั้น เพื่อให้เรื่องดังกล่าวดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนดไว้ จึงให้ดำเนินการดังนี้
1.ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากข้าราชการตำรวจไปแล้ว มีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศตำรวจหรือไม่ ถ้ามีเหตุที่จะต้องถอดยศตำรวจให้รีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 2.ตรวจสอบว่าเมื่อมีคำสั่งถอดยศตำรวจเรียบร้อยแล้ว ถ้าหน่วยใดยังไม่รายงานให้ ตร.ทราบให้ดำเนินการโดยเร็ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการออกหนังสือด่วนในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกกองบัญชาการเร่งดำเนินการ “ถอดยศ” นายตำรวจที่เข้าไปพัวพันกับคดีอาญาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านมา การจับกุมเครือข่ายค้ายาเสพติดที่ถูกสื่อมวลชนนำไปเสนอข่าวในระยะหลังนั้น มักจะมีข้าราชการตำรวจทั้งในและนอกราชการเข้าไปมีส่วนร่วม หรือเป็นกลไกสำคัญของกับขบวนการค้ายาเสพติดเหล่านั้น ส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่เพื่อนข้าราชการตำรวจในวงกว้าง
ขณะเดียวกัน สำหรับประเด็นถอดยศนายตำรวจครั้งนี้ จะกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานการดำเนินการถอดยศข้าราชการตำรวจนั้น ที่จะมีกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลาออกจากการเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 และถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถ.รัชดาภิเษก ที่ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดแล้ว ซึ่งจะกลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการดำเนินการใดๆ ของ ตร.นับจากนี้
ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เอาจจะเข้าข่ายที่ต้องถูกถอดยศ ที่เนื้อหามีระบุไว้ว่า ในกรณีที่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท รวมถึงต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ แต่ล่าสุด ทางสำนักกำลังพลยังคงยืนยันให้ชะลอเรื่องถอดยศอดีตนายกฯ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยอ้างเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นเหตุผลในการเสนอความเห็นให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาต่อไป
วันที่ 8 พ.ย.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย รองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (รอง ผบช.สกพ.) และโฆษก ตร.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดหมายเลขที่ 0009.254/10592 ลงวันที่ 5 พ.ย.2555 เรื่องกำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการถอดยศตำรวจ ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า, ผู้บังคับการ (ผบก.) ในสังกัด สง.ผบ.ตร.โดยต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ย.55
โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า สำนักงานกำลังพลได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า มีกรณีข้าราชการตำรวจที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการไปแล้ว แต่ยังครองยศตำรวจอยู่ แล้วไปกระทำความผิดส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะผู้มียศตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอดยศตำรวจชั้นประทวน ซึ่งอยู่ในอำนาจของ ผบช.ตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดี หรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 การดำเนินการเสนอขอถอดยศตำรวจ ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนดไว้ข้างต้น ซึ่งมีบางหน่วยไม่พิจารณาดำเนินการถอดยศตำรวจ ผู้มีเหตุที่จะต้องถูกถอดยศตำรวจ ตามระเบียบ ตร.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 หรือบางหน่วยดำเนินการเสนอถอดยศตำรวจเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่รายงานให้ ตร.ทราบ ดังนั้น เพื่อให้เรื่องดังกล่าวดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนดไว้ จึงให้ดำเนินการดังนี้
1.ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากข้าราชการตำรวจไปแล้ว มีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศตำรวจหรือไม่ ถ้ามีเหตุที่จะต้องถอดยศตำรวจให้รีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 2.ตรวจสอบว่าเมื่อมีคำสั่งถอดยศตำรวจเรียบร้อยแล้ว ถ้าหน่วยใดยังไม่รายงานให้ ตร.ทราบให้ดำเนินการโดยเร็ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการออกหนังสือด่วนในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกกองบัญชาการเร่งดำเนินการ “ถอดยศ” นายตำรวจที่เข้าไปพัวพันกับคดีอาญาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านมา การจับกุมเครือข่ายค้ายาเสพติดที่ถูกสื่อมวลชนนำไปเสนอข่าวในระยะหลังนั้น มักจะมีข้าราชการตำรวจทั้งในและนอกราชการเข้าไปมีส่วนร่วม หรือเป็นกลไกสำคัญของกับขบวนการค้ายาเสพติดเหล่านั้น ส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่เพื่อนข้าราชการตำรวจในวงกว้าง
ขณะเดียวกัน สำหรับประเด็นถอดยศนายตำรวจครั้งนี้ จะกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานการดำเนินการถอดยศข้าราชการตำรวจนั้น ที่จะมีกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลาออกจากการเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 และถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถ.รัชดาภิเษก ที่ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดแล้ว ซึ่งจะกลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการดำเนินการใดๆ ของ ตร.นับจากนี้
ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เอาจจะเข้าข่ายที่ต้องถูกถอดยศ ที่เนื้อหามีระบุไว้ว่า ในกรณีที่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท รวมถึงต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ แต่ล่าสุด ทางสำนักกำลังพลยังคงยืนยันให้ชะลอเรื่องถอดยศอดีตนายกฯ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยอ้างเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นเหตุผลในการเสนอความเห็นให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาต่อไป