ศาลอาญากรุงเทพใต้ ไต่สวนคดีการตาย 6 ศพวัดปทุมวนาราม รอง ผบก.น.6 ยัน 5 ศพถูกกระสุน .223 และ M16 ยิงจากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไป 9 ส.ค.นี้ ส่วนคดีพลทหารณรงค์ฤทธิ์ นัดเบิกความ 14 ก.พ.ปีหน้า
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 ศาลนัดไต่สวนคำร้องการเสียชีวิต คดีพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายสุวรรณ ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง ผู้เสียชีวิตที่ 2 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3 นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4 น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5 และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 ซึ่งทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม แยกราชประสงค์ ในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยในวันนี้พนักงานอัยการเตรียมพยานเข้าเบิกความจำนวน 7 ปาก ประกอบด้วย พ.ต.อ.สืบศักดิ์ พันธุ์สุระ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 นายขาล ศรีรักษา อายุ 65 ปี บิดาของนายสุวรรณ, นางอัญชลี สาลิกานนท์ อายุ 36 ปี พี่สาวของนายอัฐชัย, นายสมใจ เข็มทอง อายุ 50 ปี พี่ชายของนายมงคล, นางสมคิด สุขสถิต อายุ 61 ปี ภรรยา นายรพ, นางพะเยาว์ มารดา น.ส.กมลเกด และนายถวิล ใสลำเผาะ อายุ 63 ปี ลุงของนายอัครเดช เข้าเบิกความ โดยมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช.เดินทางมาให้กำลังใจด้วย โดยก่อนเริ่มการพิจารณาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการพิจารณาได้เพราะเป็นการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย แต่มีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจดบันทึกคำเบิกความหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงหรือโทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงคำเบิกความไม่เช่นนั้นจะถือว่าละเมิดอำนาจศาล
โดย พ.ต.อ.สืบศักดิ์เบิกความสรุปว่า ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ชุดที่ 3 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ส่งสำนวนมาให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลสอบสวน (บช.น.) สอบสวนต่อ เนื่องจากเชื่อว่าการเสียชีวิตของ 6 ศพในวัดปทุมวนารามเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งตนได้ทำหนังสือยื่นต่อสำนักงานอัยการสูงสุดขอให้ส่งพนักงานอัยการร่วมสืบสวนด้วย โดยการสอบสวนในชุดของตนพบว่า คดีนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม - 19 พฤษภาคม 2553 โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) เริ่มชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เพื่อขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออก แต่รัฐบาลไม่ยอมทำตาม กลุ่มผู้ชุมนุมจึงขยายการชุมนุมไปหลายพื้นที่ รวมถึงแยกราชประสงค์ ซึ่งมีผู้มาร่วมชุมนุมจำนวนมาก นายอภิสิทธิ์จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็น ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อระงับสถานการณ์รุนแรง รวมทั้งได้ประกาศห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม ห้ามเดินรถโดยสารบางพื้นที่ ห้ามให้บริการรถไฟฟ้าบางสถานี และตัดสาธารณูปโภค
พ.ต.อ.สืบศักดิ์เบิกความต่อว่า ต่อมาวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศยุติการชุมนุมบริเวณเวทีราชประสงค์ พร้อมทั้งประกาศให้ผู้ชุมนุมไปรวมตัวกันที่วัดปทุมวนาราม เพื่อรอเดินทางกลับบ้าน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก 2 หน่วยงานได้ลาดตะเวนบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และบนสถานีรถไฟฟ้าสยามเพื่อปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุเพลิงไหม้หน้าห้างสรรพสินค้าสยาม ระหว่างนี้นายสุวรรณ ศรีรักษา ซึ่งกำลังต่อแถวเข้าห้องน้ำในวัดปทุมวนาราม ถูกกกระสุนปืนยิงเข้าที่ร่างกายเสียชีวิต ส่วนนายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกยิงขณะเดินข้ามถนนจากแยกเฉลิมเผ่ามาที่หน้าวัดปทุมฯ ในเวลาใกล้เคียงกัน นายรพ สุขสถิต และนายมงคล เข็มทอง อาสาสมัครป่อเต็กตึ๊ง ซึ่งยืนอยู่บริเวณประตูทางออกวัดปทุมฯ ถูกยิงเข้าที่ร่างกาย สำหรับ น.ส.กมนเกด อัคฮาด และนายอัครเดช ขันแก้ว ซึ่งเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บถูกยิงขณะก้มหลบกระสุนปืนบริเวณเต็นท์ภายในวัดปทุมฯ หลังเกิดเหตุได้นำศพทั้งหมดส่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ พร้อมทั้งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจพิสูจน์วิถีกระสุนปืนพบว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ศพ ยกเว้นนายอัฐชัยถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หัวเขียว ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 และปืนทาโวร์ที่ใช้ในราชการทหาร เข้าอวัยวะสำคัญเสียชีวิต โดยวิถีกระสุนเป็นการยิงจากบนลงล่างเท่านั้น ซึ่งสอบสวนเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำรางรถไฟฟ้าให้การว่า มีชายชุดดำยิงปืนขึ้นมาจึงได้ยิงตอบโต้ไป แต่จากการตรวจรอยวิถีกระสุนไม่พบการยิงจากล่างขึ้นบน นอกจากนี้ ภาพถ่ายของประจักษ์พยานนำมาให้ตนหลังเกิดเหตุพบว่าบนรางรถไฟฟ้ามีเพียงเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการสอบสวนตนทราบว่ามีเอกสารแผนการปฏิบัติการสลายการชุมนุม แต่ไม่ได้นำมาประกอบในการพิจารณา
ภายหลังศาลไต่สวนพยานปาก พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เสร็จสิ้นแล้วศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 9 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00 น. และและนัดต่อเนื่องไปทุกวันพฤหัสบดี จนครบ 32 นัด แบ่งเป็นพยานฝ่ายอัยการผู้ร้อง 17 นัด และพยานฝ่ายผู้เสียหายอีก 15 นัด
โดย นายขาลกล่าวว่า หลังเกิดเหตุสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้นายสุวรรณถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ได้ไปแจ้งความที่ สน.ปทุมวัน ให้สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้ที่ลงมือยิงมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากฝีมือเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างไรก็ตาม รู้สึกดีใจที่คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเพื่อที่จะค้นหาคนผิดมาลงโทษ แม้จะรอมานานกว่า 2 ปี แล้วนานอีกกี่ปีก็จะรอความยุติธรรม
นางอัญชลีกล่าวว่า นายอัฐชัยเข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่รัฐประหารเมื่อปี 2549 เนื่องจากเห็นว่ามีการกระทำที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม วันเกิดเหตุเพื่อนของนายอัฐชัย ได้โทรศัพท์มาแจ้งว่านายอัฐชัยถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 กระสุนเข้าที่หน้าอกด้านซ้ายมี น.ส.กมนเกด พยาบาลอาสาเข้ามาช่วยปั๊มหัวใจแต่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ ต่อมา น.ส.กมลเกด ก็ถูกยิงตาม พร้อมกับนายมงคล และนายอัครเดช โดยก่อนหน้าที่น้องชายจะถูกยิงเสียชีวิตได้โทรศัพท์เตือนให้อยู่แต่ภายในวัด แต่ก็มาถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งตนอยากให้มีการพิสูจน์ความจริงว่าใครเป็นผู้สั่งการหรืออยู่เบื้องหลังไม่เฉพาะคดี 6 ศพ ที่หน้าวัดปทุมฯ แต่รวมถึง 91 ศพในเหตุการณ์สลายการชุมนุม แม้ว่าคดีจะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลทำให้ดีใจขึ้นมาหน่อย เพราะยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ทราบผลการไต่สวนจะออกมาอย่างไร แต่ไม่อยากให้มีการเรียกผู้ที่เสียชีวิตว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะผู้เสียชีวิตคือประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อประเทศชาติ
ด้าน นายสมใจกล่าวว่า สันนิษฐานว่าผู้ที่ลงมือยิงเป็นเจ้าหน้าที่ทหารอย่างแน่นอนโดยยิงมาจากรางรถไฟฟ้า ซึ่งก็ตรงกับผลการสอบสวนของ พงส.สน.ปทุมวัน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ที่ระบุว่า เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกับอีก 2 ศพ อยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้น้องชายเพราะไม่ได้ตายธรรมดา เป็นการถูกทำให้ตาย ทหารที่ลงมือยิงเป็นเพียงผู้รับคำสั่ง แต่คำสั่งน่าจะมาจากนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจเป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ต้องมีความเมตตาธรรม ในการปฎิบัติหน้าที่ มองผู้ชุมนุมว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน และต้องปฎิบัติตามขั้นตอนสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนักและไม่สามารถใช้กระสุนจริงได้ แต่นี่เป็นการใช้ความรุนแรงทันทีไม่มีการเจ้งให้ผู้ชุมนุมสลายตัว
ขณะที่ นางสมใจกล่าวว่า ไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นว่ามาจากฝีมือใคร ขณะนี้ไม่อยากคิดอะไรมาก หลังจากนายรพ สามีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แล้วต่อมาลูกชายคนเดียวก็มาเสียชีวิตตามไปอีกในเดือนตุลาคม ทุกวันนี้ต้องอยู่คนเดียว ปวดหัว นอนไม่หลับ อยากให้ปล่อยเป็นไปตามเรื่องตามราว
ส่วน นางพะเยาวร์กล่าวว่า ไม่เคยคิดว่าลูกสาวที่เป็นพยาบาลจะต้องมาเสียชีวิต เพราะไม่ว่าประเทศไหนที่รบกันหนักว่านี้ ยังไม่มีการยิงหน่วยแพทย์พยาบาลที่สวมปลอกแขนกาชาด ภายในเต้นท์พยาบาลหน้าวัด กองทัพยังออกข่าวโกหกว่าถูกยิงที่อื่นแล้วลากศพมาในวัด มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า น.ส.กมนเกดถูกรัฐฆาตกรรม อยากให้มีการดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ให้ความจริงปรากฏว่าใครเป็นผู้สั่งการสั่งหาร และเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ ให้เป็นประวัติศาสตร์ เจ้าหน้าที่รัฐที่สังหารประชาชนต้องขึ้นศาล ไม่ใช่แค่สร้างอนุสาวรีย์ให้ผู้ตาย ดีใจที่มีความหวังจากศาลที่เริ่มการไต่สวน แต่ยังห่วงเรื่องการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่อาจมีการนิรโทษกรรมคนทำผิดทั้งหมด
โดยหลังเกิดเหตุไปแจ้งความที่กองบังคับการกองปราบปรามให้สอบสวนเอาผิดนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ ศอฉ. และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นอกจากนี้จะยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในนำคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับพิจารณาอีกทางด้วยเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือไม่
ด้าน นายถวิลกล่าวว่า ยังสงสัยว่าใครเป็นคนยิงนายอัครเดช ซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยอยู่ในวัด ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการพิสูจน์ความจริงว่ามาจากสาเหตุอะไรที่ต้องสั่งฆ่า
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ร่วมชุมนุมในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกยิงเสียชีวิตที่หน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นคำร้อง
โดยในวันนี้อัยการนำพยานเข้าเบิกความ จำนวน 4 ปาก ประกอบด้วย นางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยานายนิกซ์ นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระ ชาวเยอรมัน โดยนายนิกซ์ เบิกความยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารที่หลบอยู่หลังบังเกอร์ยางรถยนต์เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงใส่นายชาญณรงค์ จนเสียชีวิต ภายหลังศาลไต่สวนพยานในวันนี้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 25 มิถุนายน นี้ เวลา 09.00 น.
ขณะที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา ศาลนัดไต่สวนคำร้องในคดีหมายเลขดำ อช.4/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี ที่ผู้ตายถูกยิงเสียชีวิตขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ กับกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 โดยในวันนี้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นำพยานฝ่ายผู้ร้องเข้าเบิกความไต่สวนจำนวน 37 ปาก ใช้เวลา 10 นัด และให้ฝ่ายผู้เสียหายนำพยานเข้าเบิกความรวม 9 ปาก พร้อมใช้เวลา 5 นัด โดยนัดไต่สวนครั้งต่อไป วันที่ 14 ก.พ. 2556 เวลา 09.00 น.
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 ศาลนัดไต่สวนคำร้องการเสียชีวิต คดีพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายสุวรรณ ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง ผู้เสียชีวิตที่ 2 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3 นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4 น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5 และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 ซึ่งทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม แยกราชประสงค์ ในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยในวันนี้พนักงานอัยการเตรียมพยานเข้าเบิกความจำนวน 7 ปาก ประกอบด้วย พ.ต.อ.สืบศักดิ์ พันธุ์สุระ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 นายขาล ศรีรักษา อายุ 65 ปี บิดาของนายสุวรรณ, นางอัญชลี สาลิกานนท์ อายุ 36 ปี พี่สาวของนายอัฐชัย, นายสมใจ เข็มทอง อายุ 50 ปี พี่ชายของนายมงคล, นางสมคิด สุขสถิต อายุ 61 ปี ภรรยา นายรพ, นางพะเยาว์ มารดา น.ส.กมลเกด และนายถวิล ใสลำเผาะ อายุ 63 ปี ลุงของนายอัครเดช เข้าเบิกความ โดยมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช.เดินทางมาให้กำลังใจด้วย โดยก่อนเริ่มการพิจารณาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการพิจารณาได้เพราะเป็นการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย แต่มีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจดบันทึกคำเบิกความหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงหรือโทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงคำเบิกความไม่เช่นนั้นจะถือว่าละเมิดอำนาจศาล
โดย พ.ต.อ.สืบศักดิ์เบิกความสรุปว่า ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ชุดที่ 3 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ส่งสำนวนมาให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลสอบสวน (บช.น.) สอบสวนต่อ เนื่องจากเชื่อว่าการเสียชีวิตของ 6 ศพในวัดปทุมวนารามเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งตนได้ทำหนังสือยื่นต่อสำนักงานอัยการสูงสุดขอให้ส่งพนักงานอัยการร่วมสืบสวนด้วย โดยการสอบสวนในชุดของตนพบว่า คดีนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม - 19 พฤษภาคม 2553 โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) เริ่มชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เพื่อขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออก แต่รัฐบาลไม่ยอมทำตาม กลุ่มผู้ชุมนุมจึงขยายการชุมนุมไปหลายพื้นที่ รวมถึงแยกราชประสงค์ ซึ่งมีผู้มาร่วมชุมนุมจำนวนมาก นายอภิสิทธิ์จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็น ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อระงับสถานการณ์รุนแรง รวมทั้งได้ประกาศห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม ห้ามเดินรถโดยสารบางพื้นที่ ห้ามให้บริการรถไฟฟ้าบางสถานี และตัดสาธารณูปโภค
พ.ต.อ.สืบศักดิ์เบิกความต่อว่า ต่อมาวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศยุติการชุมนุมบริเวณเวทีราชประสงค์ พร้อมทั้งประกาศให้ผู้ชุมนุมไปรวมตัวกันที่วัดปทุมวนาราม เพื่อรอเดินทางกลับบ้าน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก 2 หน่วยงานได้ลาดตะเวนบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และบนสถานีรถไฟฟ้าสยามเพื่อปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุเพลิงไหม้หน้าห้างสรรพสินค้าสยาม ระหว่างนี้นายสุวรรณ ศรีรักษา ซึ่งกำลังต่อแถวเข้าห้องน้ำในวัดปทุมวนาราม ถูกกกระสุนปืนยิงเข้าที่ร่างกายเสียชีวิต ส่วนนายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกยิงขณะเดินข้ามถนนจากแยกเฉลิมเผ่ามาที่หน้าวัดปทุมฯ ในเวลาใกล้เคียงกัน นายรพ สุขสถิต และนายมงคล เข็มทอง อาสาสมัครป่อเต็กตึ๊ง ซึ่งยืนอยู่บริเวณประตูทางออกวัดปทุมฯ ถูกยิงเข้าที่ร่างกาย สำหรับ น.ส.กมนเกด อัคฮาด และนายอัครเดช ขันแก้ว ซึ่งเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บถูกยิงขณะก้มหลบกระสุนปืนบริเวณเต็นท์ภายในวัดปทุมฯ หลังเกิดเหตุได้นำศพทั้งหมดส่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ พร้อมทั้งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจพิสูจน์วิถีกระสุนปืนพบว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ศพ ยกเว้นนายอัฐชัยถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หัวเขียว ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 และปืนทาโวร์ที่ใช้ในราชการทหาร เข้าอวัยวะสำคัญเสียชีวิต โดยวิถีกระสุนเป็นการยิงจากบนลงล่างเท่านั้น ซึ่งสอบสวนเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำรางรถไฟฟ้าให้การว่า มีชายชุดดำยิงปืนขึ้นมาจึงได้ยิงตอบโต้ไป แต่จากการตรวจรอยวิถีกระสุนไม่พบการยิงจากล่างขึ้นบน นอกจากนี้ ภาพถ่ายของประจักษ์พยานนำมาให้ตนหลังเกิดเหตุพบว่าบนรางรถไฟฟ้ามีเพียงเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการสอบสวนตนทราบว่ามีเอกสารแผนการปฏิบัติการสลายการชุมนุม แต่ไม่ได้นำมาประกอบในการพิจารณา
ภายหลังศาลไต่สวนพยานปาก พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เสร็จสิ้นแล้วศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 9 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00 น. และและนัดต่อเนื่องไปทุกวันพฤหัสบดี จนครบ 32 นัด แบ่งเป็นพยานฝ่ายอัยการผู้ร้อง 17 นัด และพยานฝ่ายผู้เสียหายอีก 15 นัด
โดย นายขาลกล่าวว่า หลังเกิดเหตุสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้นายสุวรรณถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ได้ไปแจ้งความที่ สน.ปทุมวัน ให้สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้ที่ลงมือยิงมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากฝีมือเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างไรก็ตาม รู้สึกดีใจที่คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเพื่อที่จะค้นหาคนผิดมาลงโทษ แม้จะรอมานานกว่า 2 ปี แล้วนานอีกกี่ปีก็จะรอความยุติธรรม
นางอัญชลีกล่าวว่า นายอัฐชัยเข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่รัฐประหารเมื่อปี 2549 เนื่องจากเห็นว่ามีการกระทำที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม วันเกิดเหตุเพื่อนของนายอัฐชัย ได้โทรศัพท์มาแจ้งว่านายอัฐชัยถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 กระสุนเข้าที่หน้าอกด้านซ้ายมี น.ส.กมนเกด พยาบาลอาสาเข้ามาช่วยปั๊มหัวใจแต่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ ต่อมา น.ส.กมลเกด ก็ถูกยิงตาม พร้อมกับนายมงคล และนายอัครเดช โดยก่อนหน้าที่น้องชายจะถูกยิงเสียชีวิตได้โทรศัพท์เตือนให้อยู่แต่ภายในวัด แต่ก็มาถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งตนอยากให้มีการพิสูจน์ความจริงว่าใครเป็นผู้สั่งการหรืออยู่เบื้องหลังไม่เฉพาะคดี 6 ศพ ที่หน้าวัดปทุมฯ แต่รวมถึง 91 ศพในเหตุการณ์สลายการชุมนุม แม้ว่าคดีจะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลทำให้ดีใจขึ้นมาหน่อย เพราะยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ทราบผลการไต่สวนจะออกมาอย่างไร แต่ไม่อยากให้มีการเรียกผู้ที่เสียชีวิตว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะผู้เสียชีวิตคือประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อประเทศชาติ
ด้าน นายสมใจกล่าวว่า สันนิษฐานว่าผู้ที่ลงมือยิงเป็นเจ้าหน้าที่ทหารอย่างแน่นอนโดยยิงมาจากรางรถไฟฟ้า ซึ่งก็ตรงกับผลการสอบสวนของ พงส.สน.ปทุมวัน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ที่ระบุว่า เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกับอีก 2 ศพ อยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้น้องชายเพราะไม่ได้ตายธรรมดา เป็นการถูกทำให้ตาย ทหารที่ลงมือยิงเป็นเพียงผู้รับคำสั่ง แต่คำสั่งน่าจะมาจากนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจเป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ต้องมีความเมตตาธรรม ในการปฎิบัติหน้าที่ มองผู้ชุมนุมว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน และต้องปฎิบัติตามขั้นตอนสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนักและไม่สามารถใช้กระสุนจริงได้ แต่นี่เป็นการใช้ความรุนแรงทันทีไม่มีการเจ้งให้ผู้ชุมนุมสลายตัว
ขณะที่ นางสมใจกล่าวว่า ไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นว่ามาจากฝีมือใคร ขณะนี้ไม่อยากคิดอะไรมาก หลังจากนายรพ สามีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แล้วต่อมาลูกชายคนเดียวก็มาเสียชีวิตตามไปอีกในเดือนตุลาคม ทุกวันนี้ต้องอยู่คนเดียว ปวดหัว นอนไม่หลับ อยากให้ปล่อยเป็นไปตามเรื่องตามราว
ส่วน นางพะเยาวร์กล่าวว่า ไม่เคยคิดว่าลูกสาวที่เป็นพยาบาลจะต้องมาเสียชีวิต เพราะไม่ว่าประเทศไหนที่รบกันหนักว่านี้ ยังไม่มีการยิงหน่วยแพทย์พยาบาลที่สวมปลอกแขนกาชาด ภายในเต้นท์พยาบาลหน้าวัด กองทัพยังออกข่าวโกหกว่าถูกยิงที่อื่นแล้วลากศพมาในวัด มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า น.ส.กมนเกดถูกรัฐฆาตกรรม อยากให้มีการดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ให้ความจริงปรากฏว่าใครเป็นผู้สั่งการสั่งหาร และเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ ให้เป็นประวัติศาสตร์ เจ้าหน้าที่รัฐที่สังหารประชาชนต้องขึ้นศาล ไม่ใช่แค่สร้างอนุสาวรีย์ให้ผู้ตาย ดีใจที่มีความหวังจากศาลที่เริ่มการไต่สวน แต่ยังห่วงเรื่องการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่อาจมีการนิรโทษกรรมคนทำผิดทั้งหมด
โดยหลังเกิดเหตุไปแจ้งความที่กองบังคับการกองปราบปรามให้สอบสวนเอาผิดนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ ศอฉ. และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นอกจากนี้จะยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในนำคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับพิจารณาอีกทางด้วยเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือไม่
ด้าน นายถวิลกล่าวว่า ยังสงสัยว่าใครเป็นคนยิงนายอัครเดช ซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยอยู่ในวัด ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการพิสูจน์ความจริงว่ามาจากสาเหตุอะไรที่ต้องสั่งฆ่า
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ร่วมชุมนุมในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกยิงเสียชีวิตที่หน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นคำร้อง
โดยในวันนี้อัยการนำพยานเข้าเบิกความ จำนวน 4 ปาก ประกอบด้วย นางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยานายนิกซ์ นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระ ชาวเยอรมัน โดยนายนิกซ์ เบิกความยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารที่หลบอยู่หลังบังเกอร์ยางรถยนต์เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงใส่นายชาญณรงค์ จนเสียชีวิต ภายหลังศาลไต่สวนพยานในวันนี้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 25 มิถุนายน นี้ เวลา 09.00 น.
ขณะที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา ศาลนัดไต่สวนคำร้องในคดีหมายเลขดำ อช.4/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี ที่ผู้ตายถูกยิงเสียชีวิตขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ กับกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 โดยในวันนี้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นำพยานฝ่ายผู้ร้องเข้าเบิกความไต่สวนจำนวน 37 ปาก ใช้เวลา 10 นัด และให้ฝ่ายผู้เสียหายนำพยานเข้าเบิกความรวม 9 ปาก พร้อมใช้เวลา 5 นัด โดยนัดไต่สวนครั้งต่อไป วันที่ 14 ก.พ. 2556 เวลา 09.00 น.